// ไม่อยากให้ตัวสถาปัตยกรรมปิดก้ันความเป็นท่ีอยู่อาศัย
โครงสร้างและรูปทรงของตัวบ้านจึงไม่ซับซ้อน
คิดเสียว่าเป็นพื้นที่สําหรับรองรับของที่เรานํามาตกแต่ง //
จะเรียกว่าเป็นพรหมลิขิตก็ว่าได้ ท่ีบ้านหลังใหม่ในอําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ของศิลปินและคนสนิทสนมของชาวรูม ตั้งอยู่บนผืนดินซึ่งขนาบข้างด้วยลําธารและป่าไผ่ แบบเดียวกับที่ตั้งของบ้าน หลังก่อนในจังหวัดนครราชสีมาที่พวกเราเคยไปเยี่ยมเยือน และได้เป็นปกของนิตยสาร room ฉบับเดือนมกราคม 2558 และ room the book vol.04 เมื่อกลางปีที่ผ่านมา
“ตอนแรกคิดว่าจะมาช่วยเพื่อนทําโรงแรมประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่พอมาถึงจริงก็มีงานที่ต้องทําหลายอย่าง เลยต้องมาอยู่ที่เชียงใหม่เป็นปี ประกอบกับเพื่อนมาซื้อที่ดินตรงนี้ไว้แล้วให้มาช่วยทําบ้านพัก ตอนนี้ก็ค่อยๆ ขยายไปทางด้านหลัง ทำต่อไปเรื่อยๆ” พี่ทองมาเล่าให้เราฟังถึงที่มาของการมาตั้งรกรากใหม่บนที่ดินผืนนี้
แนวคิดการออกแบบบ้านหลังนี้คล้ายกับบ้านหลังเดิม คือ เน้นความเรียบง่ายในการอยู่อาศัย ตัดทอนพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้และไม่จําเป็นออกเพื่อเชื่อมต่อกับธรรมชาติให้มากที่สุด แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันอย่างการเลือกใช้อิฐเปลือยและไม้เก่าในส่วนของงานดีไซน์ตัวอาคารมากข้ึน กลายเป็นที่มาของอาคารสองหลัง ด้านหน้าเป็นสตูดิโอขนาดใหญ่สําหรับทํางานประติมากรรมและนั่งเล่นสร้างแรงบันดาลใจ ส่วนบ้านหลังเล็กด้านหลังเป็นห้องนอนและพื้นที่สําหรับครอบครัว
“ไม่อยากให้ตัวสถาปัตยกรรมปิดกั้นความเป็นที่อยู่อาศัย โครงสร้างและรูปทรงของตัวบ้านจึงไม่ซับซ้อน คิดเสียว่าเป็นพื้นท่ีสําหรับรองรับข้าวของที่เรานํามาตกแต่ง โดยยังคงรักษาความชอบ ความสวยงามในแบบของเรา อย่างอาคารด้านหน้าอยากทําให้เหมือนโรงนาฝรั่ง แต่ของบางชิ้นที่มีอยู่ดูเนี้ยบเกินไป จึงต้องปรับหน้าตาของบ้านเพื่อรองรับสไตล์เฟอร์นิเจอร์ท่ีชอบให้ไปด้วยกันได้ทั้งหมด”
เฟอร์นิเจอร์ท้ังหมดภายในบ้านเป็นของเก่าท่ีซื้อจากเชียงใหม่ท้ังหมด โดยไม่ได้ใช้ของสะสมเดิมจากบ้านเก่าเลย เพราะอยากสร้างความรู้สึกสดใหม่ เสมือนกับเป็นบันทึกความทรงจํา ความรู้สึกนึกคิด และส่ิงแวดล้อม ณ ห้วงเวลาหน่ึงในบ้านหลังน้ีไว้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ตัวบ้านยังคง มนตร์เสน่ห์ของไม้เก่าท่ีนํามาใช้เป็นจั่วและคาน โดยยังคงรูปแบบด้ังเดิมเหมือนต้ังแต่ซื้อมาเข้ากันดีกับผนังสีขาว และงานโครงเหล็ก
นอกจากงานประติมากรรมเอกลักษณ์เฉพาะตัวของพี่ทองมา และของเก่าที่ถูกคัดสรรมาอย่างดีจากท่ัวเชียงใหม่แล้ว อีกอย่างที่เป็นพระเอกของบ้านหลังน้ีคือ บานประตูขนาดแตกต่างกัน ตั้งแต่ขนาดมาตรฐานไปจนถึงขนาดโอเวอร์ไซส์สําหรับเป็นทางเข้าสตูดิโอ บางบานเป็นประตูโคโลเนียลแบบอังกฤษที่ทําในอินเดีย บางบานก็เป็นไม้สลักแบบท้องถิ่น ซึ่งพี่ทองมาบอกว่าซื้อประตูเหล่าน้ีมาก่อนทําตัวอาคารเสียอีก เรียกว่าเป็นการสร้างอาคารเพื่อรองรับประตูก็ไม่ผิดนัก
พื้นที่หนึ่งที่ทําให้เราประหลาดใจจนต้องเอ่ยปากถาม คือลานหน้าบ้านที่เป็นพื้นดินไม่ได้ถูกปรับเทให้เป็นคอนกรีต หรือทําเป็นสวนเหมือนท่ีหลายบ้านนิยม “ไม่ทําอะไรกับหน้าบ้านเลย เพราะอยากเดินเท้าเปล่า สัมผัสกับดิน เพราะทํางานปั้นกับดินอยู่แล้ว มันเป็นส่วนที่ทําให้เราโหยหาธรรมชาติ และถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าไม่ได้ยกสเต็ปขึ้นก่อนเข้าบ้านด้วย เพราะต้องการให้ผิวสัมผัสต่อเนื่อง เดินลงมาเล่นน้ํา เล่นดิน ความเรียบง่ายนี้ทําให้การทํางานและการพักผ่อนเช่ือมโยงกันได้ทันที ประกอบกับพื้นท่ีรอบๆ เป็นป่าที่เงียบสงบ เหมาะกับการทำงานศิลปะ ท่ีต้องนิ่งถึงจะเกิดแรงบันดาลใจ”
หลังจากพี่ทองมาเป็นผู้บุกเบิกพื้นที่บริเวณนี้แล้ว ก็มีเพื่อนหลายคนสนใจอยากมาเป็นเพื่อนบ้านด้วย แปลนในอนาคตจึงตั้งใจขยายพื้นท่ีน้ีให้เป็นคอมมูนิตีของกลุ่มเพื่อนๆ ท่ีมีรสนิยมรักในธรรมชาติและงานศิลปะ รวมทั้งชื่นชอบการใช้ชีวิตในรูปแบบคล้ายกัน เราจึงแอบถามแผนการ ในอนาคตของพี่ทองมาว่ายังมีอะไรที่อยากทําอีกหรือเปล่า
“เส้นทางการทํางานปั้นและงานอินทีเรียร์เพิ่งเร่ิมต้น ต่อจากนี้ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะไปที่ไหนต่ออีก แค่อยากแสดงออกผ่านความงามต่อไปเรื่อยๆ เพราะบ้านไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย แต่ยังเป็นงานศิลปะของเรา อยู่แล้วแช่มช่ืนก็ยังอยู่ต่อไป ส่วนอนาคตจะอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ทําเล เชียงใหม่เป็นเมืองน่าอยู่ แต่ไม่ได้หยุดอยู่แค่ตรงน้ีแน่นอน มันคือการหาความพอดีและสร้างสรรค์งานดีไซน์ไปเรื่อยๆ โดยปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติของแต่ละพื้นท่ี เหมือนเป็นโจทย์ท่ีว่าจะทําอย่างไรให้อยู่กับพื้นท่ีตรงน้ันได้อย่างสมบูรณ์ อิ่มเอม และเบาสบายมากท่ีสุด”
เจ้าของ – ออกแบบ : คุณจำเนียร ทองมา