บ้านไม้ รีโนเวต 3 หลัง 3 แบบเก็บความทรงจำเก่า ไว้ในบ้านหลังใหม่
บ้านไม้ รีโนเวต หลังเก่าทีความสำคัญของบ้าน ไม่ใช่เพียงข้าวของ หรือความคุ้นเคยในพื้นที่ แต่เป็นภาพความทรงจำ เรื่องราวต่าง ๆ ที่ไม่อยากให้เลือนหายไป การรีโนเวตจึงตอบโจทย์การอยู่อาศัย และเก็บความทรงจำไปพร้อมๆกัน
รีโนเวตบ้านอย่างไรให้ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เก่า ?
เปลี่ยนแต่ไม่เปลี่ยนเสียทั้งหมด สำรวจหาเอกลักษณ์ที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามุมของไม้ บานประตูหน้าต่างดีไซน์เฉพาะของยุคนั้น
“ตัวประตูและหน้าต่างเกือบทั้งหมดเป็นของเดิมแทบทั้งสิ้น เพียงแต่เราถอดเขาออกจากตำแหน่งเดิม แล้วจำแนกหน้าต่างกับประตูออกเป็นซีรี่ส์ ๆ จดเป็นเบอร์เอาไว้ เมื่อนำไปลอกสีเคลือบผิวให้สวยงามเรียบร้อยก็สามารถนำมาใส่ไว้ในตำแหน่งเดิมได้อย่างถูกต้อง”
- ในกรณีที่ของเดิมมีการผุพังจากกาลเวลา ความชื้น ปลวกหรือน้ำท่วม เราสามารถคงเอกลักษณ์ได้โดยสร้างใหม่ให้ใกล้เคียงของเดิม
“คอบันไดเดิมปลวกกินเสียหายหมด แต่อยากคงเอกลักษณ์ของบ้านไว้ จึงเลือกที่จะดีไซน์คอบันไดขึ้นมาใหม่ในสไตล์เดิม” - การปรับปรุงเฟอร์นิเจอร์ พยายามคงดีไซน์เดิมไว้ให้มากที่สุด แต่อาจปรับไซส์ให้เหมาะสมกับการใช้งานปัจจุบัน
“เคล็ดลับของเราคือลอกสีของเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าทุกชิ้นออก พยายามเน้นเรื่องวัสดุไม่ให้ขัดแย้งกัน เป็นมู้ดไม้เก่าทั้งหมด” - ต้องไม่ลืมที่จะศึกษากฎหมายรีโนเวต เพื่อจะได้ดัดแปลงถูกกฎหมาย และไม่มีปัญหาตามมาทีหลัง ซึ่งอ่านสรุปง่ายๆได้ที่นี่ : จะรีโนเวตทั้งที ต้องดัดแปลงให้ถูกกฎหมาย จะได้สบายกาย สบายใจ!
ทีนี้เมื่อวาน เราดู ทาวน์เฮาส์รีโนเวตสาม หลังไปแล้ว วันนี้ รูมนำบ้านไม้ รีโนเวต 3 หลัง 3 แบบมาฝาก ทั้งบ้านที่ดูอบอุ่น ดิบเท่ น่าอยู่ ตามมาดูเลย
1 – ปรับลุคให้บ้านดำดิบเท่
SPACE WITH DESIGN AND FUNCTION สบายกาย สบายใจ
บ้านหลังนี้ที่เกิดจากความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากอาศัยอยู่ในบ้านเก่าหลังเดิมที่มีอายุมากกว่าห้าสิบปี การปรับปรุงเริ่มจากรื้อภายในทุกอย่างออก แล้วคงไว้เพียงโครงสร้างไม้ เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของพื้นที่ในบ้านว่าจะแบ่งการใช้งานเป็นอย่างไรดี เสน่ห์บ้านเก่าคือ มันเย็นสบาย ชั้นล่างจึงทำเป็นพื้นที่เปิดโล่งทั้งหมด รับลมจากด้านหน้า มีทั้งส่วนรับแขกส่วนกินข้าว และครัว เสร็จสรรพในสเปซเดียว ส่วนเรื่องสไตล์ ผสมผสานกันทั้งของเก่าของใหม่ เพราะของเก่าหลายชิ้นเมื่อนำมาประยุกต์ ปรับนิดเปลี่ยนหน่อยก็ดูโก้เก๋ใช้งานสะดวกขึ้น ในขณะที่ของใหม่ก็ช่วยเฟรชอัพให้บางจุดบางมุมดูสดใสมีมิติกว่าเดิม
ด้านหน้าเป็นมุมที่อธิบายความเป็นตัวตนของบ้านได้ชัดเจน เพราะยังมองเห็นโครงบ้านเดิมที่มีขนาดกะทัดรัด ตัดกับผนังเมทัลชีทสีเทา – ดำและประตูบานเลื่อนกรอบเข้ม ดูอบอุ่นด้วยต้นไม้สีเขียวหลายชนิดทีเจ้าของบ้านชื่นชอบรวมถึงขนุนต้นใหญ่ที่อยู่คู่บ้านมายาวนาน
ก่อผนังด้านหนึ่งด้วยอิฐก้อนและกรุขอบข้างด้วยเหล็ก ดูแมตช์กันกับเมทัลชีทที่ดัดแปลงมาใช้เป็นแผ่นกรุผนัง นอกจากนี้ผนังสูงใหญ่ยังช่วยเป็นฉนวนกันร้อนได้อีกระดับหนึ่งและเป็นแบ็กกราวนด์สวยๆ สำหรับมุมปลูกไม้กระถางด้วย
ผนังก่ออิฐมีให้เห็นในบ้านเช่นกัน ดูเข้ากับฝ้าเพดานไม้เดิมและโต๊ะไม้ขนาดยาวที่สั่งทำเป็นพิเศษ ผนังก่ออิฐมีให้เห็นในบ้านเช่นกัน ดูเข้ากับฝ้าเพดานไม้เดิมและโต๊ะไม้ขนาดยาวที่สั่งทำเป็นพิเศษ
เส้นสายของไม้และเหล็กดูกลมกลืนไม่แตกแยก กลายเป็นเอกลักษณ์ของบ้านนี้ไปโดยปริยาย เจ้าของบ้านอาศัยวัสดุพวกนี้มาช่วยสร้างฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย เช่น ชั้นวางหนังสือที่สูงถึงเพดานและบันไดเดิมของบ้านที่ขยับตำแหน่งจากกลางบ้านมาไว้ที่ริมผนังฝั่งหนึ่งจากนั้นก็เปลี่ยนลูกนอนใหม่ และเชื่อมต่อมาจนถึงชานชั้นสองที่ปูพื้นไม้
เจ้าของ คุณต้น – ประเสริฐ ชัยสิทธิฤกษ์กุล และ คุณอ้อ -ภุมมรี บวรวิวุฒิ
อ่านต่อ :SPACE WITH DESIGN AND FUNCTION สบายกาย สบายใจ