หนังสือ “99 เรื่องต้องรู้ก่อนมีบ้าน”
เขียนโดย วิญญู วานิชศิริโรจน์ เล่มนี้จะให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา โดยนำเสนอเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอาคารประเภทบ้าน คนทั่วไปที่สนใจเรื่องการออกแบบและก่อสร้างอาคารกำลังจะสร้างบ้านสร้างบ้านอยู่ หรือแม้แต่คนที่มีบ้านอยู่แล้ว ก็สามารถนำความรู้จากหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในการดูแลและปรับปรุงบ้าน
<< สั่งซื้อได้ที่นี่ >>
การ ก่อผนัง ของบ้านในประเทศไทยนั้นคือผนังที่ใช้วัสดุเล็กๆมาก่อเป็นแผง เช่น อิฐมอญ อิฐมวลเบาคอนกรีตบล็อก
โดยใช้ปูนก่อหรือปูนสอเป็นตัว ประสานคนทั่วไปมักคิดว่าผนังลักษณะนี้แข็งแรงมาก แต่ในวงการก่อสร้าง ถือว่าเป็นผนังที่ไม่ค่อยแข็งแรงโดยเฉพาะการรับแรงทางแนวนอน ยิ่งผนัง ที่มีความหนาน้อยเช่นผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่นที่เกิดจากการเรียงอิฐ โดยใช้ด้านแคบมาต่อชนกันแล้วละก็ยิ่งรับแรงด้านข้างได้น้อยมาก แถม การรับแรงทางดิ่งมีจำกัดถ้าก่อเป็นผืนโตๆ กว้างๆ สูงๆ จะมีโอกาสแตกร้าว หรือล้มได้ง่าย
สาเหตุที่ผนังลักษณะนี้รับแรงได้น้อยมาจากธรรมชาติของการใช้วัสดุที่เป็น ชิ้นเล็กๆ มาเรียงต่อกันถึงแม้ว่าจะพยายามก่อแบบสลับแนว และใช้วัสดุเชื่อม ประสานระหว่างก้อนช่วยก็เพิ่มความแข็งแรงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
วิธีทำให้ผนังลักษณะนี้แข็งแรง สามารถรับแรงทั้งแนวดิ่งและแนวราบได้โดย ไม่ล้มหรือร้าวจากแรงกระทำต่างๆ ก็คือต้องใส่โครงสร้างรองที่เรียกว่า เสา เอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และ ทับหลังคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างรองนี้ ต้องทำจากวัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างเท่านั้น จึงเน้นว่าต้องเป็น คอนกรีตเสริม เหล็ก หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่าค.ส.ล.ไม่ใช่วัสดุประเภทปูนทราย
อย่าเชื่อถ้าพวกช่างชุ่ยมาบอกว่าการใส่เสาเอ็น และทับหลังเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะ ผนังลักษณะนี้แข็งแรงอยู่แล้ว ถ้าเจอแบบนี้ทางเดียวที่ควรทำ คือไล่ช่างพวกนี้ ออกไปจากไซต์ก่อสร้างทันทีอย่าให้มาพูดผิดๆทำผิดๆ ให้เกิดความเสียหาย กับบ้านของเราได้อีก