รู้ก่อนติดตั้ง สายดิน เบรกเกอร์ เครื่องป้องกันไฟดูด

สายดิน ต่างกับ เครื่องป้องกันไฟดูด อย่างไร แล้วต้องติดตั้งทั้งสองอย่างไหม

มาทำความเข้าใจก่อนว่าอันตรายจากกระแสไฟฟ้ามีอยู่ 2 แบบ สายดิน

  • แบบที่ 1 คือ กระแสไฟฟ้าในระบบสูงเกินปกติ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ฉนวนสายไฟฟ้าเสื่อมแล้วสายทองแดงสองเส้นมาแตะกันเกิด “ไฟฟ้าช็อต” ทำให้กระแสไฟฟ้าวิ่งอยู่ในระบบมากกว่าปกติจนกลายเป็น “ไฟฟ้าลัดวงจร” เพราะไฟฟ้าจากสายไฟวิ่งลัดไปทางอื่นแทนที่จะวิ่งผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • แบบที่ 2 คือ กระแสไฟฟ้าหายไปจากระบบโดยปกติกระแสไฟฟ้าที่วิ่งเข้าบ้านกับที่จะวิ่งกลับออกมาต้องเท่ากัน เมื่อไรที่กระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าไม่เท่ากับกระแสไฟฟ้าที่วิ่งกลับออกมาแสดงว่าต้องเกิด“ไฟรั่ว”ในระบบเรื่องนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุเช่นสายไฟฟ้าเส้นหนึ่งของตู้เย็นเสื่อมสภาพทำให้สายทองแดงแตะที่โครงตู้เย็นแต่ยังไม่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เพราะสายไฟฟ้าแตะแค่เส้นเดียวถ้าสายไฟฟ้าแตะกันสองเส้นจะกลายเป็น“ไฟช็อต”เหมือนแบบที่ 1
99 เรื่องต้องรู้ก่อนมีบ้าน

หนังสือ “99 เรื่องต้องรู้ก่อนมีบ้าน”

เขียนโดย วิญญู วานิชศิริโรจน์ เล่มนี้จะให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา โดยนำเสนอเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอาคารประเภทบ้าน คนทั่วไปที่สนใจเรื่องการออกแบบและก่อสร้างอาคารกำลังจะสร้างบ้านสร้างบ้านอยู่ หรือแม้แต่คนที่มีบ้านอยู่แล้ว ก็สามารถนำความรู้จากหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในการดูแลและปรับปรุงบ้าน

<< สั่งซื้อได้ที่นี่ >>
สายดิน

ช่วงแรกอาจยังไม่มีปัญหาเพราะไฟฟ้าที่วิ่งเข้าและวิ่งออกจากตู้เย็นยังเท่ากันอยู่แต่เมื่อไรที่มีคนไปจับตู้เย็น กระแสไฟฟ้าที่วิ่งอยู่รอบตู้เย็นจะไหลเข้ามาที่ตัวคนแล้ววิ่งลงดินทำให้กระแสไฟฟ้าที่วิ่งเข้า และวิ่งออกจากตู้เย็นไม่เท่ากัน เกิดเป็น “ไฟรั่ว” หรือ “ไฟดูด” นั่นเอง

แล้วจะป้องกันได้อย่างไรสำหรับไฟช็อร์ตหรือกระแสไฟฟ้าสูงเกินปกติให้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าเกิน สมัยก่อนคือ “ฟิวส์” ที่เมื่อเกิดไฟฟ้าเกินฟิวส์จะขาดทำให้ไฟฟ้าที่ลัดวงจรนั้นดับ เดี๋ยวนี้มีอุปกรณ์ที่ใช้แทนฟิวส์คือ เบรกเกอร์ซึ่งจะตัดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติที่เรามักเรียกอาการนี้ว่า “เบรกเกอร์ทิป” เมื่อแก้ไขปัญหาจุดที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้แล้วเราก็แค่เปิดหรือสับเบรกเกอร์ขึ้นไปใหม่ โดยไม่ต้องซื้อฟิวส์มาใส่ใหม่เหมือนสมัยก่อน

ส่วนการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าหายไปจากระบบหรือไฟรั่วไฟดูด
มีหลายวิธี เริ่มจากการติดตั้งสายดินที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโอกาสเกิดไฟรั่วได้ง่าย
 เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำร้อน ฯลฯ สายดินจะนำไฟฟ้าที่รั่วไหล
ลงดินทำให้ไม่เกิดไฟดูดหากเราไปจับเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น แต่ต้องเข้าใจว่า
ไฟฟ้ายังคงรั่วตลอดเวลา และเราต้องเสียค่าไฟฟ้าที่รั่วลงดินนี้ด้วย

ข้อจำกัดของ สายดิน คือ ไม่สามารถติดตั้งได้กับอุปกรณ์ทุกประเภท เช่น ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และก็ไม่ครอบคลุมทุกชิ้นส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังไม่สามารถป้องกันอุบัติเหตุจากความประมาท หรือความพลั้งเผลอได้อีกด้วย เช่น ถ้าเด็กเล็กๆ เอาแท่งโลหะแหย่เข้าไปในรูปลั๊กไฟฟ้าสายดินก็ไม่สามารถป้องกันอันตรายได้

สายดิน

จึงมีการผลิตเครื่องป้องกันไฟดูดที่จะวัดความแตกต่างระหว่างกระแสไฟฟ้า
ที่ไหลเข้ากับที่ไหลกลับ ซึ่งตามที่บอกไว้แล้วว่าปริมาณไฟฟ้าสองส่วนนี้ต้องเท่ากัน
เสมอเมื่อไรที่กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามากกว่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลกลับ  แสดงว่า
ต้องเกิดไฟดูดหรือไฟรั่วที่จุดใดจุดหนึ่ง ตัวเครื่องป้องกันไฟดูดจะตัดกระแสไฟฟ้า
ทันทีคนขายมักคุยว่าตัดไฟฟ้าได้เร็วมากเพียงเสี้ยววินาที ซึ่งมีชื่อที่พวกเรา
น่าจะคุ้นๆ กัน เช่น เซฟ…

เจ้าเครื่องนี้มีหน้าปัดให้หมุนเลือกว่าจะยอมให้ไฟฟ้ารั่วได้เท่าไร ตั้งแต่ 5 มิลลิแอมป์
ไปถึง 30 มิลลิแอมป์ หรือจะต่อตรง ซึ่งปัจจุบันไม่ยอมให้มีตัวเลือกแบบต่อตรงแล้ว 
เพราะถ้าหมุนไปที่ต่อตรงหมายความว่าระบบนี้จะไม่ตัดไฟเลย  แม้ว่าไฟจะรั่ว
มากแค่ไหนก็ตาม ฉะนั้นติดไปก็เสียเงินเปล่าอย่าติดดีกว่า

ปัจจุบันเครื่องประเภทนี้มีขนาดเล็กลงจนเท่ากับเบรกเกอร์ สามารถใส่ในตู้กล่องไฟ
ได้เลยมีชื่อเรียกว่า Earth  Leakage Circuit Breaker หรือ ELCB ซึ่งกำหนดค่า
ยอมให้ไฟฟ้ารั่วไว้ตายตัวที่ 30 มิลลิแอมป์ ซึ่งเป็นค่าสูงสุดของไฟฟ้ารั่วที่มาตรฐาน
ยอมรับได้นั่นเอง

แนะนำให้แยกวงจรอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ออกจากกัน ได้แก่ เครื่องทำน้ำอุ่น
 ปลั๊กในห้องน้ำ ปลั๊กใกล้อ่างล้างหน้า  ปลั๊กในชั้นใต้ดิน ปลั๊กภายนอกอาคาร 
จากนั้นให้ติดตั้งเครื่องป้องกันไฟดูดที่วงจรนั้น ถ้ามีงบพอก็ติดแยกเป็นวงจรละตัว
 ถ้ามีงบจำกัดให้รวมวงจรไว้ด้วยกันแล้วติดตัวเดียว แต่ไม่ควรติดตัวป้องกันไฟดูด
ตัวใหญ่เพียงตัวเดียวที่วงจรหลักอย่างที่หลายๆ บ้านทำกัน เพราะในวงจรไฟฟ้า
จะมีไฟรั่วเสมอ เลยทำให้เครื่องป้องกันไฟดูดต้องตัดไฟตลอดเวลา และไม่ควร
ติดตัวป้องกันไฟดูดที่วงจรเครื่องปรับอากาศหรือปั๊มน้ำ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มี
โอกาสไฟรั่วได้เสมอ แต่ให้ป้องกันไฟรั่วโดยติดตั้งสายดินแทน

สรุปง่ายๆ ว่าอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้ามีดังนี้ คือ

  1. เบรกเกอร์ทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าเมื่อไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟฟ้าเกินลดการเกิดไฟไหม้จากระบบไฟฟ้า
  2. สายดิน ทำหน้าที่ดึงกระแสไฟลงดินไม่ให้วิ่งมาที่คน
  3. เครื่องป้องกันไฟดูดทำหน้าที่ตัดไฟเมื่อเกิดไฟรั่วมาที่คนได้อย่างรวดเร็ว

คำแนะนำคือ ให้ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งสามแบบ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในครอบครัว
แต่ต้องแน่ใจว่าติดตั้งได้อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าจ่ายเงินฟรีแล้วยัง
ไม่ปลอดภัย เซ็งเปล่าๆ


ควรติดมุ้งลวดที่ด้านนอกหรือด้านในของบ้านดี

ใช้สีน้ำมันทาผนังปูนได้หรือไม่

 ประตูห้องน้ำเปิดเข้าหรือเปิดออก…อะไรดีกว่ากัน

ติดตามบ้านและสวน