คนทำ หัวโขน : งานศิลป์ชั้นสูงที่ทุกคนสามารถทำได้

หัวโขน ถือเป็นงานศิลปะชั้นสูงของไทย สำหรับไว้สวมครอบศรีษะให้มิดชิดเพื่อการแสดงโขน สมัยก่อนการเรียนและการเข้าถึงการทำหัวโขนเป็นเรื่องค่อนข้างยาก

เพราะมีเรื่องความเชื่อและพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายจึงจำกัดอยู่แค่กลุ่มเล็กๆในครอบครัวซึ่งก็จะมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละตระกูล ไม่เผยแพร่แก่บุคคลภายนอก หัวโขน

หัวโขน

ปัจจุบันหัวโขนถือเป็นศิลปวัตถุประเภทประณีตศิลป์ที่ต้องได้รับการอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหาย นั่นจึงเป็นที่มาของการเปิดสอนทำหัวโขนของพระมหาพรนารายณ์ สุวรรณรังษีหรือพระมหาตุ้ย แห่งวัดใหม่ผดุงเขต เขตบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งก็ยังช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีงานและรายได้เสริมให้ครอบครัวได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน

หัวโขน

เดิมทีวัดใหม่ผดุงเขตเป็นสถานที่เรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ของเยาวชนในละแวกนี้ ในช่วงปีพ.ศ.2551 ได้ก่อตั้งชมรมไว้สอนลูกศิษย์ที่มาเรียนในช่วงเช้าของวันอาทิตย์พอถึงช่วงบ่ายก็จะมีเวลาว่าง จึงจัดให้มีการสอนศิลปะควบคู่ไปด้วย ปัจจุบันเหลือแต่การสอนทำหัวโขนอย่างเดียวในวันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนวิธีการเข้ามาสมัครเรียนต้องมีดอกไม้ธูปเทียนและเงิน 800 บาทใส่พานมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ จากนั้นก็สามารถเริ่มเรียนได้เลย ซึ่งเงินที่จ่ายไปนั้นก็เอาไว้ซื้ออุปกรณ์การเรียนทำหัวโขนแทบทั้งสิ้น

สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนจะเป็นแบบพี่สอนน้องโดยมีรุ่นพี่ที่เรียนจบแวะเวียนมาช่วยดูแลน้องๆ ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งพระมหาตุ้ยได้กล่าวถึงลูกศิษย์ที่มาเรียนขณะพาเดินชมขั้นตอนการทำหัวโขนว่า

“ส่วนใหญ่คนที่มาเรียนจะไม่มีพื้นฐานด้านศิลปะเลย มาเริ่มนับหนึ่งกันใหม่หมด แต่ทุกคนที่มาเรียนนั้นมาด้วยใจที่รักในงานศิลปะ หากถามว่าอาตมาเป็นพระแล้วมาทำงานศิลปะแบบนี้จะเหมาะสมหรือไม่ นี่เป็นแนวทางของพระพุทธศาสนาหรือเปล่า อาตมาก็ขอตอบว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้ไม่ได้ทำเพราะว่าความเชื่อ แต่ทำเพราะเป็นศิลปะที่เราคนไทยควรอนุรักษ์ไว้ อาตมาไม่ได้สอนให้คนงมงาย แต่สอนให้คนเข้าใจในศิลปะแขนงนี้” 

สำหรับวิธีการทำหัวโขนมีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังนี้

วิธีการทำ หัวโขน

  1. ปิดหุ่น เป็นงานเปเปอร์มาเช่ โดยนำกระดาษมาทาแป้งเปียกปิดบนหุ่นซีเมนต์

วิธีการทำ หัวโขน

2.ปั้นขึ้นหน้า เมื่อกระดาษแห้งแล้วก็นำมาผ่าเพื่อนำไปปั้นขึ้นหน้ากล้ามเนื้อ ปั้นตา และจมูกให้เป็นรูปแบบของหัวโขนแต่ละชนิด

อ่านวิธีทำต่อหน้า 2