วิธีการติดตั้งก๊อกน้ำ
อ่านเพิ่มเติม : ซ่อมท่อประปา
อ่านเพิ่มเติม : เปลี่ยนสายฝักบัวชำระ ได้ด้วยตัวเอง
อ่านเพิ่มเติม : การลอกวอลเปเปอร์และทาสีผนัง
อ่านเพิ่มเติม : ซ่อมท่อประปา
อ่านเพิ่มเติม : เปลี่ยนสายฝักบัวชำระ ได้ด้วยตัวเอง
อ่านเพิ่มเติม : การลอกวอลเปเปอร์และทาสีผนัง
No related posts.
ท่อน้ำรั่วซึม เป็นปัญหาสามัญประจำบ้านที่คอยกวนใจเจ้าของบ้านก็ว่าได้ หากเป็นห้องน้ำชั้นล่าง ก็ยังพอจะปล่อยผ่าน แต่หากเป็นชั้น 2 เมื่อไหร่ รับรองว่ามีปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกเยอะเป็นแน่นอน เพื่อเป็นตัวช่วยให้คุณลองมาดู วิธีแก้ท่อน้ำรั่วซึม เบื้องต้นกันครับ ขั้นตอนการทำงาน วิธีแก้ท่อน้ำรั่วซึม 1.ก่อนอื่นต้องรื้อฝ้าเพดานออกมา เพื่อดูจุดที่มีการรั่วซึม (ในกรณีที่ไม่มีช่องเซอร์วิส) ซึ่งอาจเกิดจากท่อน้ำดีชำรุดหรือท่อน้ำทิ้งรั่ว 2.หากเป็นการรั่วประเภทนี้ก็ซ่อมแซมท่อน้ำตามปกติ แต่หากเป็นการรั่วจากรอยต่อระหว่างโถสุขภัณฑ์กับพื้น หรือยาแนวกระเบื้องพื้นชั้นบนเสื่อม ก็แก้ไขโดยการขูดร่องยาแนวรวมถึงกระเบื้องที่เสียหายออกให้หมด 3.จากนั้นทาผลิตภัณฑ์กันซึมให้ทั่วบริเวณพื้น และควรทาเลยมาที่ผนังรอบห้องน้ำให้สูงจากพื้นประมาณ 20-30 เซนติเมตรด้วย รอให้แห้งสนิทแล้วทาผลิตภัณฑ์กันซึมทับอีกชั้นหนึ่ง 4.ปูกระเบื้องกลับตามเดิมให้เรียบร้อย แล้วยาแนวใหม่ด้วยยาแนวสูตรป้องกันราดำ หากยังไม่แน่ใจว่าห้องน้ำด้านบนที่ซ่อมแซมนั้นยังมีการรั่วซึมอยู่หรือไม่ ก็อาจยังไม่ต้องทำฝ้าเพดานใหม่ที่ห้องด้านล่าง รอสักหนึ่งเดือนหรือสองเดือนให้แน่ใจก่อนแล้วค่อยทำก็ได้ TIPS วิธีการตรวจสอบว่าท่อน้ำทิ้งหรือท่อน้ำดีรั่วหรือไม่ ทำได้โดยการนำกระดาษทิชชูไปพันรอบข้อต่อหรือจุดที่คาดว่าจะมีการรั่วซึม แล้วใช้งานตามปกติ (กดชักโครกหรือราดน้ำลงพื้น) ปล่อยทิ้งไว้สัก 15-30 นาที จากนั้นก็ตรวจสอบกระดาษทิชชู หากมีความชื้นหรือเปียกน้ำแสดงว่าบริเวณนั้นมีการรั่วซึม เรื่อง : คันยิก้า ภาพประกอบ : เอกรินทร์ พันธุนิล แฟนเพจ “บ้านและสวน” ห้องน้ำกับงานระบบที่ควรรู้ ปัญหากาวยาแนวในห้องน้ำเสื่อมสภาพ กันซึมไม่ดีเจ้าของบ้านได้แต่นั่งซึม […]
มีคำถามมาว่าเปลี่ยน บานพับประตู เองได้ไหม ตอบง่ายๆ ว่าได้ครับ การเปลี่ยนบานพับประตูเองไม่ได้ยุ่งยากอะไร มีเพียงเรื่องของการเลือกซื้อบานพับใหม่ที่จะเป็นปัญหา
ระบบไฟฟ้าในบ้าน ควรหมั่นตรวจสอบให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเรา มาดูวิธีตรวจสอบระบบไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตัวเองกัน 1. เริ่มด้วยการทดสอบมิเตอร์ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าในบ้าน เริ่มตรวจโดยปิดสวิตช์ไฟทุกจุด รวมทั้งถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ออกให้หมด จากนั้นไปดูมิเตอร์ที่หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว ให้ลองตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วว่ายังทำงานดีอยู่หรือไม่ ด้วยการกดปุ่มทดสอบหรือ Test (ควรกดปุ่มทดสอบนี้เป็นประจำทุก 1 – 3 เดือน) ถ้ายังใช้ได้ดี สวิตช์หรือคันโยกจะตกลงมาทันทีเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า และรวมถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ 2. ตรวจสอบเมนสวิตช์ ดูว่ามีมดหรือแมลงเข้าไปทำรังในตู้หรือไม่ เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ลูกย่อยยังสามารถใช้ปลดวงจร ระบบไฟฟ้าในบ้าน ได้หรือไม่ ป้องกันไฟรั่วและไฟดูดได้ดีอยู่หรือไม่ หากมีอุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหายควรหามาเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย 3. ตรวจสอบสายไฟฟ้าว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายบ้าง โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนอยู่บนฝ้าเพดานอาจเปื่อยกรอบเนื่องจากผ่านการใช้งานมานาน หรือถูกหนูกัดแทะฉนวนจนสายขาดได้ (ในกรณีที่ไม่ได้หุ้มสายไว้ด้วยท่อร้อยสายไฟ) ถ้าพบก็ต้องเปลี่ยนใหม่โดยด่วน 4. ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้า ดูว่าหลวม มีรอยแตกร้าว หรือรอยไหม้บ้างหรือไม่ ถ้าเต้ารับหลวมก็ขันสกรูให้แน่นดังเดิม แต่ถ้าแตกร้าวหรือพบรอยไหม้ก็ควรเปลี่ยนใหม่ และควรทดสอบเต้ารับทุกจุดว่ามีไฟหรือไม่ โดยใช้ไขควงวัดไฟทดสอบ 5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มักมีการจับต้องขณะใช้งาน เช่น เครื่องซักผ้า โดยตรวจว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟแตะที่ตัวเครื่องส่วนที่เป็นโลหะ […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : baanlaesuanweb@amarin.co.th
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th