อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ สวนกลางกรุง ของขวัญแด่สาธารณะ

อุทยาน 100 ปี สวนกลางกรุง

earth room

มีไม้ประจำห้องอย่าง เสม็ดแดง สเต็ปหลากสีที่มาจากการดินหลากหลายแหล่งในประเทศไทย บดอัดจนได้ชั้นดินที่แน่นเหมาะสำหรับเรียนรู้ รับกับการแบ่งพื้นที่เป็นชั้น ๆ แบบอัฒจันทร์

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

Bamboo room

มีไม้ประจำห้องอย่าง ไผ่ดำ ลานโล่ง ๆ เหมาะกับกิจกรรมรำไทเก็ก ท่ามกลางดงไผ่ที่ถูกเล่าผ่านผลิตภัณฑ์และเครื่องมือเครื่องใช้มากมายในชีวิตประจำวัน แต่คนยุคใหม่อาจไม่เคยเห็นลำต้นที่แท้จริงมาก่อนก็จะได้มาเห็นที่นี่

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

Gravel room

มีไม้ประจำห้องอย่าง แดง ห้องพิเศษที่รวบรวมไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งสามารถขึ้นได้ในประเทศไทย เช่น ไม้แดง และมะค่า แบ่งสเต็ปออกเป็น 3 ชั้น เหมาะกับผู้ใช้งานกลุ่มย่อย ๆ

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

Herb room

มีไม้ประจำห้องอย่าง จันทร์เทศ พื้นที่บริเวณนี้ได้รวบรวมไม้สมุนไพรไว้หลากชนิด ซึ่งเต็มไปสรรพคุณและประโยชน์หลากหลาย จนแทบไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบัน เช่น ชะพลู และว่านหางจระเข้

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

Sand room  

มีไม้ประจำห้องอย่าง ตะแบก พื้นที่ที่อยู่ใกล้กับทางเข้า เพื่อรองรับเด็ก ๆ ที่จะเข้ามาวิ่งเล่นในสวนนี้ เพื่อความปลอดภัยจึงปูพื้นด้วยยางสังเคราะห์ EPDM ที่มีผิวสัมผัสนุ่มยืดหยุ่น เหมาะรองรับการกระแทกจากการวิ่งเล่น พร้อมบ่อทรายสีสดใสกระตุ้นการเรียนรู้

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

Stone room

มีไม้ประจำห้องอย่าง ขานาง เน้นปลูกไม้ยืนต้นที่มีความสูงชะลูด เพื่อขับให้สเปซด้านล่างดูโปร่งโล่ง สามารถปรับใช้พื้นที่ได้อย่างยืดหยุ่น

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

Forest room

มีไม้ประจำห้องอย่าง ปีบ แบ่งสเปซด้วยการยกระดับและลดระดับพื้นเพื่อเกิดพื้นที่ใช้งานเป็นกลุ่มแบบล้อมวง พร้อมเรียนรู้ภายใต้ร่มเงาของต้นปีบและปีบหอม

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

Vine room

มีไม้ประจำห้องอย่าง มะค่าโมง เด่นด้วยซุ้มศาลานอกจากจะใช้นั่งพักผ่อนแล้ว ในอนาคตศาลานี้ก็พร้อมแปลงร่างเป็นศาลาธรรมชาติสีเขียวชอุ่มไปด้วยพรรณไม้เลื้อยหลายชนิด

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

เหล่าต้นไม้หนุ่มสาว

หลายคนอาจประหลาดใจและมีข้อสงสัยกับขนาดของไม้ยืนต้นภายในสวนที่ในวันนี้อาจจะยังไม่สามารถให้ร่มเงาและความรู้สึกเย็นสบายได้มากนัก แต่นี่คือความตั้งใจของภูมิสถาปนิกในการเลือก “ต้นไม้หนุ่มสาว” ที่เติบโตมาจากเนิร์สเซอรี่

ซึ่งมีขนาดลำต้นประมาณ 4 นิ้ว สำหรับสวนแห่งนี้โดยเฉพาะ เพราะต้นไม้หนุ่มสาวนั้นเปรียบเสมือนเด็กมหาวิทยาลัยที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง พร้อมเติบใหญ่คู่กับเมืองไปอีก 100 ปี ข้างหน้าอย่างยั่งยืน และอีกหนึ่งเหตุผลคือไม่ต้องการล้อมต้นไม้ใหญ่มาปลูก เพราะเท่ากับเป็นการลดพื้นที่สีเขียวจากที่อื่นแล้วมาเพิ่มที่นี่แทน

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

ปรับเปลี่ยนกิจกรรม ยืดหยุ่นตามการใช้งาน 

บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ ได้รับการจัดสรรเพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้งานและรูปแบบกิจกรรมที่แตกต่างกัน แบ่งออกเป็นพื้นที่ 3 ขนาด ได้แก่ พื้นที่ขนาดเล็ก สำหรับกลุ่มไม่เกิน 50 คน กับห้องเรียนกลางแจ้งทั้ง 8 ห้อง เหมาะสำหรับบรรยาย ทำงานกลุ่ม และอภิปรายงานในบรรยากาศผ่อนคลายกลางสวน ต่อมาพื้นที่ขนาดกลางสำหรับ 750-1,650 คน บนสนามหญ้า 4 จุด โล่งกว้าง พร้อมรองรับกิจกรรมอีเว้นต์ที่หลากหลายกับพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ แอมฟิเธียร์เตอร์ สุดท้ายคือพื้นที่สวนขนาดใหญ่บนพื้นที่ทั้งสวน รองรับคนได้กว่า 10,000 คน ไม่ว่าจะคอนเสิร์ต หรือจะรวมตัวกันจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ก็ย่อมได้

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

สวนกลางกรุง อุทยาน 100 ปี

เชื่อมต่อด้วยโครงข่ายสีเขียว

นอกจากพื้นที่สวนขนาดใหญ่แล้ว โปรเจ็กต์นี้ยังยอมที่จะปิดถนนซอยจุฬาลงกรณ์ 5 เพื่อสร้างโครงข่ายพื้นที่สีเขียวของจุฬาฯให้มีความเชื่อมต่อกัน เน้นออกแบบเพื่อลดการใช้รถ แล้วพัฒนาถนนเส้นนี้เป็นถนนคนเดินอย่างแท้จริง กับการออกแบบทางเท้าขนาดกว้างกว่า 4 เมตร ขนานไปกับสวนน้ำฝน (Rain Garden)  กว้าง 4 เมตร ตลอดสองข้างถนนสองเลน อีกทั้งเป็นการเชิญชวนผู้คนจากชุมชนโดยรอบให้ออกมาเดินลัดเลาะบนถนนที่ร่มรื่นเส้นนี้ ก่อนจะเข้ามาสัมผัสพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ใจกลางเมือง

เรียกได้ว่าสวนสาธารณะแห่งนี้น่าจะเป็นของขวัญสีเขียวที่ทำให้หัวใจของคนเมืองพองโตได้ไม่น้อย สะท้อนได้ดีถึงความตั้งใจในการออกแบบโดยคำนึงถึงคน เมือง และสภาพแวดล้อมอย่างแท้จริง…

 


เรื่อง                       BRL

ภาพ                       นันทิยา,ศุภกร

ภาพประกอบ        LANDPROCESS

ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม LANDPROCESS  โทร. 0-2641-8483 www.landprocess.co.th

ออกแบบสถาปัตยกรรม    N7A Architects     โทร. 0-2251-0202 www.n7a.co.th


อ่านต่อ : สามพรานโมเดลต้นแบบของความยั่งยืน

อ่านต่อ : สามแบบสวนสวยสไตล์โมเดิร์น