โหมโรง…สมชัย ดนตรีไทย อาวุธแห่งกวี ดนตรีแห่งแผ่นดิน

คุณเอก – ณัฎพันธ์ ชำพาลี ทายาทรุ่นที่ 3 เล่าถึงที่มาของโรงงานแห่งนี้ให้ฟังว่า

“จุดเริ่มต้นก็มาจากความรักในเสียงเพลงและเสียงดนตรีของปู่กับย่า ท่านเชี่ยวชาญการเล่นกลองยาว เมื่อก่อนยังไม่มีเครื่องดนตรีขายอยากจะเล่นอะไรก็ต้องสร้างขึ้นมาเอง ปู่จะถนัดด้านงานไม้ เพราะอาชีพเดิมก็ทำเกวียนขาย อย่างระนาดก็จะขุดจากต้นไม้โดยมีพ่อ (คุณสมชัย ชำพาลี) เป็นลูกมือคอยช่วย แต่พ่อจะมีใจมาทางดนตรีไทยมากกว่างานช่าง จึงเข้ากรุงเทพฯเพื่อมาล่าฝันในทางดนตรี ส่วนใหญ่ก็จะไปอยู่กับคณะลิเกได้เรียนรู้ได้เล่นและได้ฝึกความอดทนจนเข้าถึงเครื่องดนตรีแทบทุกชนิด จึงคิดผลิตเครื่องดนตรีขาย อย่างระนาดเอก พ่อก็เล่นจนรู้ว่าสัดส่วนที่เหมาะกับการนั่งเล่นได้อย่างสบาย เสียงแบบไหนที่นักดนตรีจะชอบ จากนั้นก็เริ่มออกแบบโดยยึดตามแบบของเก่าที่มีแล้วดัดแปลงปรับปรุงสัดส่วนของระนาดให้ดีขึ้น ส่วนเรื่องลวดลายก็ได้จากการเดินไปดูและศึกษาลายตามหน้าบันของโบสถ์ เรียกว่ากว่า 40 ปีที่ทำโรงงานผลิตเครื่องดนตรีไทยมา มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ดนตรีไทย

“อีกหนึ่งความภูมิใจของพ่อคือการได้ถวายงานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทั้งเรื่องการซ่อมและสร้างเครื่องดนตรีไทยในพระองค์ที่โรงงานแห่งนี้ ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้และเป็นที่ฝึกงานของเหล่านักเรียนโรงเรียนจิตลดา(สายวิชาชีพ) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ประเภทวิชาศิลปกรรมการสร้างเครื่องดนตรีไทย สาขาการสร้างเครื่องดนตรีไทย ซึ่งเราได้ร่างหลักสูตรให้สถาบันแห่งนี้อีกด้วย”

คุณเอกเล่าให้เราฟังด้วยแววตาแห่งความภาคภูมิใจ จากนั้นก็อาสาพาเที่ยวชมภายในโรงงาน ซึ่งทุกคนต้องใส่หน้ากากกันฝุ่นบรรยากาศของโรงงานให้กลิ่นอายการทำงานศิลปะแบบทำมือ มีแค่ส่วนที่เป็นโลหะทางโรงงานจะส่งเข้าไปทำที่กรุงเทพฯส่วนที่เป็นงานไม้และงานหนังจะทำที่นี่ทั้งหมด ว่าแล้วก็ตามไปชมภาพสวยๆจากพวกเรากันได้เลยครับ

ดนตรีไทย ดนตรีไทย

ดนตรีไทย ดนตรีไทย

เรื่อง: “ไตรรัตน์ ทรงเผ่า”
ภาพ: ฤทธิรงค์ จันทองสุข


ขอขอบคุณ

คุณสมชัย ชำพาลี
คุณณัฎพันธ์ ชำพาลี
โรงงานสมชัยดนตรีไทย โทรศัพท์ 0-2411- 2528 , 0-2866 – 0692


เรื่องที่น่าสนใจ

การทำหัวโขน

การทอผ้าไทย

l l l l ll