แก้ปัญหาบ้านร้อน

เคล็ด(ไม่)ลับ “บ้านเย็น” ที่คุณทำเองได้

แก้ปัญหาบ้านร้อน
แก้ปัญหาบ้านร้อน

ปัจจุบันเป็นที่รู้กันดีว่า สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะประเทศไทยของเรา ที่นับวันจะยิ่งร้อนขึ้น เมื่อร้อนมากๆ ต่างคนต่างก็หาวิธีที่จะดับร้อน เพื่อทำให้บ้านเย็นมากขึ้น และโดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งช่วยให้บ้านเย็นจริงแต่ผลลัพธ์ที่ตามมาก็มีอีกสารพันปัญหา ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งความร้อนจากการทำงานของแอร์ก็ส่งผลให้อากาศรอบบ้านร้อนขึ้น และย้อนกลับไปที่เหตุแห่งปัญหานั่นก็คือ การทำให้โลกยิ่งร้อนมากขึ้นไปอีก กลายเป็นห่วงโซ่ปัญหาที่วนไปมา ซึ่งมีแต่จะทำให้สถานการณ์แย่ลงในระยะยาว แก้ปัญหาบ้านร้อน

วันนี้จึงขอแนะนำเคล็ด (ไม่) ลับ ที่เจ้าของบ้านควรรู้ เพื่อใช้เตรียมรับมือกับอากาศร้อน ด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้ในระยะยาว

1. ศึกษาทิศแดด ทางลม..ก่อนการสร้างบ้าน

สำหรับผู้ที่กำลังจะสร้างบ้านใหม่หรืออยู่ระหว่างหาข้อมูลในการสร้างบ้าน ควรศึกษาเรื่องทิศทางและการวางผังบ้านให้ดี โดยเลือกที่ตั้งของบ้านให้อยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก แล้วหันตัวบ้านให้เข้าสู่ด้านรับลม โดยบ้านคนไทยส่วนใหญ่นิยมหันด้านหน้าบ้านไปทางทิศใต้ เพราะเป็นทิศที่รับลมได้ยาวนานที่สุดของปี สามารถรับลมได้ดีถึง 8-9เดือน (ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – ตุลาคม) ส่วนทิศเหนือจะรับลมได้เพียง 3 เดือนที่เหลือเท่านั้น

แก้ปัญหาบ้านร้อน

ส่วนบริเวณหน้าบ้าน ห้องรับแขก หรือห้องนอน ไม่ควรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะจะทำให้พื้นที่นั้นรับแดดตลอดช่วงบ่าย ซึ่งความร้อนก็จะวนเวียนอยู่ภายในบ้านจนถึงกลางคืน ทำให้บ้านยังคงร้อนอบอ้าว และควรทำหน้าต่างแบบบานเปิดหรือบานสูง เพื่อรับอากาศจากภายนอกเข้าไปช่วยลดความร้อนภายในตัวบ้าน โดยหน้าต่างแบบบานเปิดนี้ สามารถรับลมได้ดีกว่าหน้าต่างบานเกล็ดหรือบานเลื่อน      

แก้ปัญหาบ้านร้อน


2. เลือกใช้วัสดุที่ช่วยป้องกันและสะท้อนความร้อนได้จริง

กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านผ่านทางหลังคา ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้วัสดุที่ดีที่จะช่วยป้องกันความร้อนที่ไหลมาทางหลังคา สำหรับบ้านใหม่ควรให้ความสำคัญกับการติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนใต้หลังคา เพื่อป้องกันความร้อนที่จะเข้าสู่ภายในตัวบ้าน ส่วนบ้านเก่าสามารถป้องกันความร้อนจากหลังคา ด้วยการปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน ซึ่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะช่วยป้องกันความร้อนจากโถงหลังคาไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน โดยใช้ได้ทั้งบ้านเก่าและบ้านสร้างใหม่

แก้ปัญหาบ้านร้อน


3. รูปแบบของหลังคาก็สำคัญนะ..จะบอกให้

นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องรูปแบบหลังคา  เพราะหลังคาทรงสูง เช่น หลังคาทรงจั่วหรือทรงปั้นหยา จะสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่าหลังคาทรงแบนหรือหลังคาดาดฟ้า ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะจะมีมวลอากาศภายใต้หลังคาเป็นฉนวนกันความร้อนอีกชั้นหนึ่ง ในส่วนของความลาดเอียงช่วยให้การระบายน้ำฝนเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ลดปัญหาการรั่วซึมจากการขังของน้ำได้ ส่วนชายคาที่ยื่นยาวนั้นนอกจากจะช่วยบังแสงแดดไม่ให้กระทบตัวบ้านมากเกินไปแล้ว ยังช่วยป้องกันฝนสาดมายังบานประตู หน้าต่าง ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้ามาทางนี้ได้ ดังนั้นบ้านในเขตร้อนชื้นอย่างเมืองไทยจึงนิยมบ้านหลังคาทรงสูงและมีชายคายื่นยาว

แก้ปัญหาบ้านร้อน


4. ปลูกต้นไม้ใหญ่ จัดสวน..ช่วยบังแดดและช่วยให้เย็นกายเย็นใจ

นอกจากการปรับเปลี่ยนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของบ้านแล้ว เจ้าของบ้านยังสามารถปรับบริเวณภายนอกบ้าน เช่น ติดแผงไม้ระแนงที่ผนังบ้านเพื่อป้องกันแดดส่อง หรือปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ ที่นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ยังช่วยสร้างร่มเงาตกกระทบ และช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้ดี ทั้งยังช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์จากออกซิเจนที่ไหลเวียนรอบบ้าน หรืออาจเพิ่มสวนแนวตั้ง หรือทำน้ำตก ก็จะช่วยทำให้บ้านเย็นสบายขึ้นได้

แก้ปัญหาบ้านร้อน


สรุป

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรลืม นอกเหนือจากการลดอุณหภูมิให้แก่บ้านแล้ว เราควรคำนึงถึงการช่วยลดอุณหภูมิให้โลกของเราด้วยเช่นกัน โดยเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเคล็ดลับเหล่านี้ทำได้ไม่ยาก สามารถนำไปปรับใช้กับการสร้างบ้านได้ เพื่อให้การอยู่บ้านในช่วงหน้าร้อนไม่ต้องทรมานนะครับ