อยู่อย่างไรให้ยั่งยืน ลดการใช้พลังงาน

ได้มีโอกาสเข้าไปฟังสัมมนา ลดการใช้พลังงาน ที่จัดขึ้นโดย MQDC ว่าด้วยเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนในชื่องานว่า Annual International Well-Being and Sustainability Forum 2018 ซึ่งทาง MQDC เชื้อเชิญนักวิชาการ นักคิด สถาปนิกที่มีชื่อเสียงทั้งไทยและต่างชาติมาช่วยแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์เป็นครั้งแรกในเอเชีย

ซึ่ง ลดการใช้พลังงาน ด้วยหัวข้อที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเรื่องการจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หรือภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมซึ่งกำลังเป็นประเด็นของบ้านเรา ทำให้ได้หลายความคิดดีๆ ที่เราเก็บมาฝากกันค่ะ

ลดการใช้พลังงาน
Tony Blunt //ภาพจาก http://www.thaitextile.org

มุมมองจากสถาปนิก Tony Blunt

เริ่มต้นจาก Tony Blunt สถาปนิกและรองประธานอาวุโส บริษัท Foster+Partners Studio ในลอนดอน ที่ได้ชื่อว่าเป็นองค์กรที่ใส่ใจในเรื่องการออกแบบให้เหมาะสมกับระบบนิเวศ โดยให้ความสนใจทั้งเรื่องเทคโนโลยี วัสดุที่ยั่งยืน และนวัตกรรมการก่อสร้าง โทบี้บอกถึงสถิติการขยายตัวของประชากรและการย้ายเข้ามาทำงานในเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ว่าจะในยุโรปหรือเอเชีย จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพบ้านเมืองที่แออัดกลายเป็นสลัม ความยุ่งเหยิงที่ไม่เป็นระเบียบ และแน่นอนคือคุณภาพชีวิตของคนที่ลดลง เพราะเข้าถึงสุขอนามัยหรือแหล่งพลังงานได้ยากขึ้น

ลดการใช้พลังงาน
ภาพจาก http://thaibike.net

Carbon Footprint คืออะไร

เพราะเราก็หนีไปไหนไม่ได้ โทบี้เลยพูดติดตลกว่า “ก็เพราะเรามีโลกอยู่ใบเดียว” เรามีทรัพยากรที่จำกัด แต่ทุกประเทศต่างเร่งใช้พลังงานจนเกิด Carbon Footprint (ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์และกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงาน การเกษตร การพัฒนาและขยายตัวของอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงการตัดต้นไม้ทำลายป่าและทำลายสิ่งแวดล้อมจนเกิดภาวะโลกร้อนที่กระทบต่อชีวิตของมนุษย์และสัตว์มากขึ้นเรื่อยๆ) ไม่เพียงแต่ส่งผลกับการดำรงชีวิตประจำวันเท่านั้น เพราะแม้แต่การออกแบบสถาปัตยกรรมก็มีผลเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นสถาปนิกเองก็ควรต้องรับผิดชอบต่องานออกแบบอาคารที่ต้องมีการใช้พลังงานมากถึง 45%

ภาพจาก http://www.katche.eu

ลดการใช้พลังงาน อย่างไร

เมื่อต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อน จึงเกิดการลงทุนในเรื่องพลังงานสะอาดและหมุนเวียนได้ขึ้นมาเป็นทางออก เช่น กังหันลม และโซล่าร์เซลล์ ควบคู่ไปกับความพยายามลดการใช้พลังงานด้านต่างๆ ลง แต่ต้องใช้เวลานานกว่าจะทำได้อย่างกว้างขวาง เช่น การลดใช้พลังงานทางรถยนต์ ในขณะที่เมืองก็ต้องขยายตัว ก็ยิ่งต้องใช้พลังงานทางรถยนต์เพิ่มขึ้นด้วย การที่จะช่วยลดพลังงานได้ไม่ใช่แค่เลือกใช้รถยนต์ที่ประหยัดพลังงานเท่านั้น แต่ยังต้องลดการใช้รถยนต์ลงด้วยการหันไปพึ่งพาระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น แม้กระทั่งการใช้จักรยาน แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของผังเมืองที่เอื้อต่อการพึ่งพารถให้น้อยลงได้

 

ภาพจาก www.change.org

ปรับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

โทบี้ยังแนะนำระบบเศรษฐกิจแบบ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ให้ความสำคัญกับการจัดการกับของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ (Re-Material) หรือนำมาใช้อีกครั้ง (Reuse) เพื่อทำให้ระบบเศรษฐกิจไม่มีขยะ มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยพลังงานหมุนเวียน ซึ่งประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่นเริ่มนำมาใช้แล้ว ที่สำคัญคือต้องปรับพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนก่อน

กุญแจสำคัญคือผังเมือง

โทบี้ยังพูดทิ้งท้ายถึงเรื่องงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมด้วยว่า การสร้างแม่แบบเมืองใหม่บนพื้นที่เดิมเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นได้ และการออกแบบอาคารแต่ะลแห่งก็ช่วยกำหนดภาพลักษณ์ของเมืองได้ สถาปนิกจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ประกอบกันไป นอกเหนือไปจากออกแบบอาคารให้ดูสวย ยังต้องมีฟังก์ชันที่ใช้งานได้ดีเข้ากับสภาวะของเมือง เช่น ออกแบบที่บังแดดให้กับตัวอาคารเพื่อลดการใช้พลังงานภายในให้น้อยลง ออกแบบแผงโซล่าร์เพื่อรับพลังงานแสงแดด ใช้พลังงานลมช่วยลดความร้อนภายในตัวอาคาร ทำให้เกิดสภาวะน่าสบายจากภายในไปถึงภายนอก

ภาพวาดโดย คณาธิป จันทร์เอี่ยม

นั่นคือคำยืนยันของสถาปนิกระดับโลกที่เน้นถึงการเปิดช่องลมและสร้างร่มเงาให้กับอาคาร โดยแต่ละอาคารก็ช่วยกำหนดผังเมือง สิ่งที่ตามมาก็คือสามารถดึงให้คนออกมาใช้พื้นที่นอกตัวอาคารหรือพื้นที่สาธารณะได้มากขึ้น เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานไปในตัว เหมือนอย่างเมืองอาบูดาบีที่มีสภาพอากาศแบบทะเลทราย แต่ด้วยการออกแบบผังเมืองที่เหมาะสมทำให้คนในเมืองสามารถออกมาเดินเล่นตามถนนหนทางได้อย่างสบาย


รู้จัก สัญลักษณ์รีไซเคิล พลาสติก กันเถอะ

RISC Well-being ออฟฟิศ ยุคใหม่ที่ใส่ใจถึงความเป็นอยู่อย่างยั่งยืน