Guru Panel by Sacict

4 เทรนด์น่าจับตาจากสัมมนา Guru Panel 2561

Guru Panel by Sacict
Guru Panel by Sacict

จบไปแล้วอย่างน่าประทับใจสำหรับงานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561 ที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน) จัดขึ้นเพื่อจะหาแนวทางการทำงานและวางนโยบายเพื่อการส่งเสริมงานหัตถกรรม หัตถศิลป์ของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในเวทีในประเทศและเวทีสากล วันนี้เว็บไซต์บ้านและสวนนำเนื้อหาโดยสรุปจากงานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561 มาให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานสัมมนาในวันนั้น ได้รับรู้ถึงรายละเอียดของแต่ละเทรนด์ ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและสามารถนำไปปรับใช้กับงานได้อย่างมีประโยชน์ค่ะ

งานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561นี้นำการประชุมโดยคุณอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) คุณแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)  พร้อมกับโมเดอร์เรเตอร์บอสใหญ่แห่งบ้านเราคุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) กูรูด้านต่างๆอีกถึง 8 ท่านได้แก่ คุณดุลยพล ศรีจันทร์, คุณวุฒิชัย หาญพานิช, คุณธนพัฒน์ บุญสนาน, คุณศรัณย์ เย็นปัญญา, คุณวิสุทธิ์ ลิ้มอารีย์ ,คุณพิษณุ นำศิริโยธิน , คุณสมชัย ส่งวัฒนา  และคุณกิตติภัต ลลิตโรจน์วงศ์ โดยมีทีมงานจากนิตยสารและเว็บไซต์กลุ่มบ้านในเครืออมรินทร์ฯ เป็นผู้กล่าวนำถึงที่มาที่ไปของทั้ง 4 เทรนด์ พร้อมคำแนะนำในการนำไปใช้ จะเป็นอย่างไร ไปลงลึกถึงข้อมูลกันค่ะ

งานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561
งานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561 นำโดยคุณอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) คุณแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) และคุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน)
งานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561
งานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561 มีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพได้แก่ คุณดุลยพล ศรีจันทร์, คุณวุฒิชัย หาญพานิช, คุณธนพัฒน์ บุญสนาน, คุณศรัณย์ เย็นปัญญา, คุณวิสุทธิ์ ลิ้มอารีย์ ,คุณพิษณุ นำศิริโยธิน , คุณสมชัย ส่งวัฒนา  และคุณกิตติภัต ลลิตโรจน์วงศ์

Tropical Dream
บรรยาย: คุณดำรง ลี้ไวโรจน์บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Room
ที่มาของเทรนด์: ถ้าเทรนด์คือการคาดการณ์แนวโน้มของ สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตโดยอ้างอิงจากสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สิ่งที่มีผล กระทบกับความรู้สึกของคนทั่วทั้งโลกก็คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าเทรนด์ไหนๆวงการใดต่างก็มีมุมมองเรื่องของสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นับวันสถานการณ์เรื่องนี้ก็ค่อยๆใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเทรนด์ Tropical Dream เองก็เช่นกันที่เกิดขึ้นจากตรงนั้น คำว่า Dream หรือความฝันของคนในสมัยนี้ เค้าสนใจเรื่องอะไรโดยพื้นฐาน แน่นอนก็คือความมั่นคงในชีวิต คุณภาพชีวิตที่ดีความเป็นอยู่ที่ดี ต่อเนื่องไปที่การเติมเต็มชีวิตด้วย Lifestyle ที่พาตัวเองไปสัมผัสกับพื้นที่สีเขียวเสียบ้าง นั่นก็คือการโหยหาธรรมชาติมากขึ้น และชัดเจนมากขึ้น Trend นี้เกิดขึ้นจากในประเทศทางฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะเมืองที่มีอากาศเย็นแทบทั้งปี โอกาสที่จะได้สัมผัสสีเขียวของใบไม้มีน้อยมาก การเคลื่อนไหวของเทรนด์นี้เริ่มขยายมาในวงกว้างก็ตอนที่งานดีไซน์แฟร์ระดับโลกอย่าง Maison Objet ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่ Paris กล่าวได้ว่าการนำรูปภาพของใบไม้มาใช้ การนำสัตว์ Staff เข้ามาใช้ในการตกแต่งและมันเริ่มที่จะเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ปี 2017 คนหันมาปลูกต้นไม้ในบ้าน พันธุ์ไม้ในร่มได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก การรับเอาเทรนด์นี้มาใช้ที่เราเห็นในตอนนี้ก็คือลวดลาย Graphic มาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ มีการผสมสีด้วยคู่สีตรงกันข้าม วงการแฟชั่น เริ่มมีแบรนด์ดังๆ ทำ Collection ออกมาแบบ Tropical Dream งาน Interior ที่เราเริ่มเห็นและคุ้นชินกับ Wallpaper ที่หยิบเอาลวดลายของพรรณไม้มาใช้พักหนึ่งแล้ว ส่วนที่เป็น Product เอง ที่ยึดจากพื้นฐานของตัววัสดุก็ค่อนข้างออกแบบมาให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการนำ 3D Visual เข้ามาใช้ ในการจำลองภาพเพื่อทำให้เกิดบรรยากาศเสมือนให้คนรู้สึกว่าเค้าสามารถเข้าใกล้ธรรมชาติมากขึ้น

งานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561
คุณดำรง ลี้ไวโรจน์บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Room กำลังพูดถึงเทรนด์ Tropical Dream

Retelling the Detailing
บรรยาย: คุณสมัชชา วิราพร บรรณาธิการเว็บไซต์ LivingAsean.com
ที่มาของเทรนด์: เพราะการเล่าเรื่อง (Story Telling) คือหนึ่งในตัวการสร้างมูลค่าให้กับชิ้นงานได้ ไม่ว่าจะเป็นงาน Craft งาน Design ต่างก็ต้องการๆเล่าเรื่องด้วยกันทั้งนั้น บ้านเราอาจจะคุ้นชินกับการเห็นและสัมผัสกับสิ่งนั้นๆทุกวันจนไม่ได้ให้ความสำคัญการการเล่า แต่ถ้ามองแบบ Designer หรือแม้กระทั่งผู้ประกอบการ การค้นพบทุกสิ่งภายใต้กระบวนการต่างก็สามารถนำเรื่องเหล่านั้นมาเล่าได้ ทั้งในรูปแบบ Product (ตัวผลิตภัณฑ์เอง) และ Process (วิธีการผลิต) โดยเรื่องของ Product ก็คือการนำเรื่องดีไซน์เป็นตัวนำ ส่วนเรื่องของ Process ก็สามารถเล่าได้ตั้งแต่ชุมชนต้นเรื่อง วิธีการผลิต ประวัติของวัสดุ หรือแม้แต่คนทำงาน (Maker) เอง ตัวอย่างการเล่าเรื่องที่ดีของงาน Craft จากต่างประเทศก็คือเก้าอี้ชื่อดัง Thonet Chair No. 14 ออกแบบมาตั้งแต่ปี 1859 นั่นคือการออกแบบมาแล้วกว่า 100 ปี ช่วงนั้นนับเป็นช่วงที่งานหัตถกรรมเริ่มปรับเข้าสู่ยุคของอุตสาหกรรม นั่นก็คือเริ่มมีการออกแบบให้มีน้อยชิ้นเน้นคุณสมบัติที่สามารถขนส่งได้โดยการออกแบบแพคเกจที่ประหยัดเนื้อที่ กล่าวคือแม้ส่วนประกอบทุกอย่างจะใช้คนทำ แต่การถอดประกอบโดยยึดหลักของการขนส่งเป็นที่ตั้ง นับเป็นเก้าอี้ตัวแรกก็ว่าได้ที่หยิบยกเอาเรื่องของ Process ของแกนความเป็นอุตสาหกรรมเข้ามาทำงานในเรื่องหัตถกรรม ทุกวันนี้เก้าอี้ตัวนี้ก็ยังได้รับการพูดถึงแต่ในบริบทที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมของที่มาของเก้าอี้ ดีไซน์เนอร์ภายใต้บริษัทที่ออกแบบ การใช้งานจาก Generation หนึ่งไปสู่ Generation วิธีการพูดเล่าเรื่องสร้างประเด็นใหม่ๆให้ผลิตภัณฑ์ เน้นไปที่การมองหามุมใหม่ๆในการเล่าเรื่อง ปัจจุบันการเล่าเรื่องยังมีแง่มุมใหม่ที่น่าสนใจที่สามารถช่วยเล่าเรื่องผลิตภัณฑ์ในเชิงการย่อยอดที่ได้รับความนิยมไปทุกวงการนั่นก็คือการ Re-design ผลิตภัณฑ์และจัดนิทรรศการ สร้าง Event มีกิจกรรมพิเศษเป็นต้น

งานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561
บรรยากาศจากงานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561

Righteous Craft
บรรยาย: คุณอัจฉรา จีนคร้าม ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร นิตยสารบ้านและสวน
ที่มาของเทรนด์: เป็นเทรนด์ที่เรียกได้ว่าเป็นการกลับไปที่เรื่องจุดเริ่มต้นก็ว่าได้ เพราะจริงๆแล้วทุกผลิตภัณฑ์ต่างก็เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตในชุมชนของเรา ทุกเรื่องมีเรื่องจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ความดีงาม จริยธรรม หรือศีลธรรม ต่างก็มีผลกับ Product มากขึ้น จริงๆแล้วเทรนด์นี้เกี่ยวข้องกับเรื่อง Marketing Project โดยตรง สินค้าที่จะออกมาในรูปแบบของความมีจริยธรรมและทำให้เกิดความรู้สึกดีในการซื้อ ถ้าจะมองให้ชัดคือเทรนด์นี้ต่อยอดมาจาก Virtuous คอนเซ็ปต์น่าสนใจจากงาน Maison Object 2018 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ที่ประกอบไปด้วย 2 วิธีการ ก็คือเรื่องวัตถุดิบที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ และการเลือกใช้สินค้าเลือกใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยที่ผู้ซื้อเองก็มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการซื้อ มีการคิดค้นและไตร่ตรองก่อนที่จะซื้อของแต่ละชิ้นไม่ใช่ว่าแค่ความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็นการคิดในการสอบถามข้อมูลก่อนว่ามันทำมาจากอะไรต้นทางคือที่ไหนและก็สุดท้ายแล้วมันออกมารูปแบบเป็นอย่างไร และก็ในข้อต่อไปเป็นเรื่องของการสร้างในรายได้กลับสู่ชุมชนซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายรายได้และก็สร้างผลิตภัณฑ์รวมถึงสร้างรายได้ให้กับกลุ่มคนในชุมชนนั้นๆด้วย ตัวอย่างแบรนด์ Precious Plastic ที่บอกว่าตัวเองว่าเป็นแบรนด์ที่พูดเรื่อง New life และ New Material นั่นคือตัว Designer เองเห็นตัวพลาสติกที่อยู่ในชีวิตประจำวันบ่อยๆ ทั้งขวดที่เกิดจากการใช้งานในชีวิตประจำวันเขาก็คิดเห็นว่าเราจะเอากลับมาทำยังไงได้บ้างไม่ใช่แค่การย่อยสลายเฉยๆ แต่คิดถึงการสร้าง Machine ขึ้นมาเพื่อให้เกิดเป็นวัสดุใหม่ๆ ไม่แค่ End Product แต่เป็นการคิดถึงต้นทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการออกแบบและก็คิดถึงวัตถุดิบไล่ลงมาจนถึงสิ่งสุดท้ายแล้วของความเป็น Product ที่สามารถใช้งานได้แล้วก็ขายงานได้จริงๆ หรือตัวอย่างจากแบรนด์เพื่อนบ้านเราก็คือ Hla-day (ภาษาพม่าแปลว่าสวยงาม) การทำงานร่วมกับกลุ่มคนในท้องถิ่นจริง ๆ โดยนำกลุ่มผู้หญิงที่มีที่อาจจะด้อยคุณภาพ ด้อยโอกาสในสังคม (ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ HIV)ให้ความรู้ในด้านงาน Craft จากนั้นก็พัฒนาฝีมือในการทำผลิตสินค้าขึ้นมาขายในพม่า จึงกล่างได้ว่า Feel Good ก็เท่ากับ Good Product ได้เช่นกัน

งานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561
คุณอัจฉรา จีนคร้าม ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร นิตยสารบ้านและสวน ในงานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561

งานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561

Hospita (sur) reality
บรรยาย: คุณนัทธมล ตั้งตรงมิตร ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหารนิตยสาร Room
ที่มาของเทรนด์: จุดเริ่มต้นของเทรนด์นี้มาจากผลของการวิจัยทางการตลาดข้อมูลจาก Global Hotel Network (GHN) ที่มองว่าในปี 2019-2020 กลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจและน่าจับตามองที่สุดในด้านธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ก็คือกลุ่ม Gen-Y  โดยจากสถิติของนักท่องเที่ยวทั่วโลก 20% คือชาว Millennium คือคนที่สร้างกระแสเงินสะพัดหนึ่งร้อยแปดสิบพันล้าน US Dollarในแต่ละปี ซึ่งคนเหล่านี้มีความน่าสนใจตรงที่กำลังซื้อของเขาไม่ได้อยู่ที่เฉพาะที่พักหรือโรงแรมดีๆ แต่ยังต่อเนื่องไปถึงเรื่องแฟชั่นไอเท่ม อย่างกระเป๋าเดินทางหรือ Accessories ร่วมด้วยเช่นกัน การวิจัยยังบอกอีกว่าคนเหล่านี้ให้ความสำคัญกับเรื่องของดีไซด์และประสบการณ์กับการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ประสบการณ์ที่ไม่ใช่แค่ความสะดวกสบายในโรงแรม 5 ดาว แต่เป็นประสบการณ์พิเศษที่ทำให้เขาอยากนำเสนอสิ่งนั้นป่าน Social media ของเขา การได้ออกไปใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติอย่างเข้มข้นซึ่งมันหมายถึงการเติมเต็มความหลงใหลในธรรมชาติที่อาจจะขาดหายไปในเมือง ซึ่งความสนใจเหล่านี้เองที่ถือเป็นโอกาสที่งาน Craft จะได้เข้ามาอยู่ Space เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เรียกว่า New luxury งาน Craft ที่ใช้ทั้งเวลา พละกำลัง พลังงาน และการลงทุนมหาศาลที่เทียบได้กับความหรูหราที่หาไม่ได้ง่ายๆ เมื่องาน Craft เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Space การนำมาใช้งานในธุรกิจท่องเที่ยวหรือบริการ สิ่งที่ Gen-Y รู้สึกเสมือนการที่เดินเข้าพิพิธภัณฑ์ดีๆ ของแต่งบ้านหรือ Furniture ที่ทำจากงานคราฟต์ทุกชิ้นเหมือนกำลังตะโกนบอกเล่า Trend ของตัวเองอยู่ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคำว่า Localised การสื่อถึงตำแหน่งที่มาของชิ้นงาน Craft นั้นๆ คำว่า Find art กับ Craft ที่ผสมผสานกัน จนแยกกันไม่ออกเพราะศิลปินและช่างฝีมือต่างก้าวเข้ามาในพื้นที่ของกันและกัน สร้างสรรให้งาน Craft มีคุณค่าเทียบเท่างานศิลปะชิ้นเอก  คำว่า Impossible Object คือชิ้นงานที่ไม่น่าเป็นไปได้ งาน Craft ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนทั้งเวลา ความสามารถ และก็พลังงานทุกอย่างที่ทำให้เรารู้สึกทึ่ง นั่นอาจไม่จำเป็นว่าต้องเป็นงานฝีมือ อาจจะเป็นงาน Digital ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์เข้าไป นั่นคือความสามารถในการผลิตซ้ำได้ สุดท้ายคำว่าก็คือ Sustainability หรือกระแสความยั่งยืนที่ไม่เคยล่าสมัย การให้ความสำคัญกับคำว่ารับผิดชอบกับทุกอย่างรอบตัว ในกรณีของ Maker ก็คือการเข้าใจในจุดประสงค์ของการสร้างงาน Craft การเลือกวัสดุต่างๆ นับเป็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ กับช่างฝีมือที่ควรมองหาโอกาศการสร้างเครือข่ายกับชุมชน เพื่อเกิดการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนเป็นต้น

งานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561
คุณนัทธมล ตั้งตรงมิตร ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหารนิตยสาร Room

งานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561สัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561

และนี่ก็คือ 4 เทรนด์น่าสนใจที่เราได้จากสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561 ปีนี้ เชื่อว่าหลายคนที่เป็นทั้งเมคเกอร์ ดีไซน์เนอร์ หรือผู้ประกอบการน่าจะได้แรงบันดาลใจนำทั้ง 4 เทรนด์ที่กำลังมาในปีนี้และปีหน้าไปต่อยอดสร้างสรรค์ผลงาน หรือธุรกิจของท่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ