Paul Claudel กวีชาวฝรั่งเศสเคยกล่าวไว้ว่า “The secret of type is that it speaks.” หากเป็นเช่นนั้น คงไม่มีอะไรจะส่งสำเนียงความเป็นไทยได้ชัดถ้อยชัดคำมากไปกว่าตัวอักษรไทยของเราเอง ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี ภาษาไทยถือกําเนิดและวิวัฒนาการไปตามความเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและกระแสความนิยมในแต่ละยุคสมัย ไม่ใช่เพียงแต่ในแง่มุมของภาษาศาสตร์ แต่ยังรวมไปถึงรูปแบบของตัวอักษรที่ได้รับการ ออกแบบขึ้นอย่างหลากหลาย ทําให้วันนี้ตัวอักษรไทยเป็นมากกว่าสื่อกลางในการจดบันทึกและสื่อสาร แต่กลับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างอัตลักษณ์แบบ “ไทยไทย” ในงานดีไซน์ได้อีกด้วย
ตลอด 730 ปีที่ผ่านมา ตัวอักษรไทยเดินทางผ่านยุคศิลาจารึกมาถึงยุคของสื่อดิจิทัลในปัจจุบัน พ่อขุนรามคําแหงทรงประดิษฐ์ “ลายสือไทย” ข้ึนโดยได้รับอิทธิพลจากตัวอักษรของอินเดียฝ่ายใต้ ขอม และมอญ แต่กว่าระบบตัวอักษรจะลงตัวใกล้เคียงกับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็กินเวลาล่วงมาถึงในยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เมื่อคณะมิชชันนารีผู้เผยแผ่ศาสนาได้เริ่มเดินทางเข้าสู่แผ่นดินสยามพร้อมกับวิทยาการใหม่ ๆ ของชาติตะวันตก ซึ่งรวมไปถึงระบบการพิมพ์หนังสือ โดยในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ตีพิมพ์ Bangkok Recorder หรือ “หนังสือจดหมายเหตุฯ” หนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกซึ่งช่วยจุดประกายให้การพิมพ์หนังสือภาษาไทยในเมืองไทยเริ่มแพร่หลาย เทคโนโลยีการพิมพ์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากแม่พิมพ์ไม้แกะสลักกลายเป็นตัวพิมพ์ตะกั่วในระบบเรียงพิมพ์ (Letter Press) แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีรูปแบบตัวอักษรและขนาดให้เลือกไม่กี่แบบ
จนมาถึงในพ.ศ.2510 ระบบการพิมพ์แบบออฟเซตเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในแวดวงการพิมพ์ จึงมีการออกแบบตัวอักษรลอกสําหรับการทําอาร์ตเวิร์คในหลากหลายสไตล์และขนาด อย่างที่รู้จักกันดี คือตัวพิมพ์ “มานพติก้า” ออกแบบโดย คุณมานพ ศรีสมพร ซึ่งมีบุคลิกคล้ายกับ “Helvetica” ที่แสนโด่งดัง ชุดตัวอักษรน้ีเป็นต้นแบบของการประดิษฐ์อักษรไทยให้มีกลิ่นอายฝรั่งอย่างชัดเจน ซึ่งได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้การออกแบบสื่อในยุคน้ันเป็นอย่างมาก
วงการสิ่งพิมพ์ได้พลิกโฉมอีกครั้งอย่างจริงจัง เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลก้าวเข้ามาแทนที่ระบบการพิมพ์ยุคเก่า ในช่วงปี พ.ศ.2530 ตัวพิมพ์ตะกั่วที่มีข้อจํากัดมากมายถูกแทนที่ด้วยซอฟต์แวร์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ใครจะออกแบบตัวอักษรรูปแบบใดก็ทำได้อย่างไร้ขีดจำกัด
ตัวพิมพ์ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ฟ้อนต์” กลายเป็นส่วนสําคัญหลักสําหรับวงการสิ่งพิมพ์ท้ังในโลกธุรกิจและโลกศิลปะ ฟ้อนต์ถูกใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความหมาย ภายใต้รูปลักษณ์ที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทที่ผู็ออกแบบต้องการ ทฤษฎีศิลป์อาจช่วยอธิบายปรากฏการณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเรามองฟ้อนต์ท่ีแตกต่างกัน ฟ้อนต์ตัวใหญ่หนาทําให้เรารู้สึกว่าตัวอักษรกําลังตะโกนพูดกับเรา ในขณะที่ฟ้อนต์เฉียบบางไม่มีหัวบ่งบอกความโมเดิร์นที่เป็นสากล
ในขณะเดียวกัน หากเรามองว่าตัวอักษรเป็นหน่ึงในองค์ประกอบทางกราฟิก ช่วยเติมกลิ่นอายความเป็นไทยในงานออกแบบ ความเป็นไปได้ในการใช้งานก็คงไม่มีลิมิตอีกต่อไป ไม่เพียงแต่ในงานสื่อสิ่งพิมพ์หรือบรรจุภัณฑ์ แต่ยังรวมไปถึงการตกแต่งภายใน เราอาจเลือกใช้ตัวอักษรโดยไม่ต้องคำนึงถึงความหมาย แต่เน้นการเลือกใช้รูปทรงท่ีสะท้อนเอกลักษณ์ของตัวอักษรไทยในสไตล์ต่างๆ เพื่อสร้างคาแร็คเตอร์ให้กับมุมโปรดในบ้าน
นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ก็ทําให้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรไม้หรือเหล็ก รูปทรงนูนสูงหรือนูนต่ำ การเพ้นต์สีหรือติดวอลล์เปเปอร์ ไม่ว่าจะวิธีไหนก็ตาม สิ่งสําคัญท่ีสุดคงเป็นการคัดเลือกฟ้อนต์ท่ีเหมาะสมในเชิงศิลปะท้ังด้วยรูปแบบและขนาดเมื่อเทียบกับสเปซ อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบันจะมีฟ้อนต์หน้าตาหลากหลายให้เราเลือกดาวน์โหลดฟรี แต่ก็ยังมีฟ้อนต์เก๋ๆอีกมากมายที่เป็นฝีมือคนไทยให้เราช่วยกันอุดหนุนมาใช้งานโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ลองแวะไปชมก่อนช็อปได้ท่ี www.dbfonts.biz, www.fontpsl.com