[DAILY IDEA] ตะแกรงเหล็กฉีก เป็นอะไรได้บ้าง? - room life
เหล็กฉีก

ตะแกรงเหล็กฉีก เป็นอะไรได้บ้าง?

room เอาใจคนหลงใหลในงานสไตล์อินดัสเทรียล ลองมาดูสิว่า ตะแกรงเหล็กฉีก จะสามารถกลายร่างเป็นส่วนใดของบ้านได้บ้าง รับรองว่าจะต้องถูกใจแน่นอน

Did you know

แผ่นตะแกรงเหล็กฉีก (Expanded Metal) คือแผ่นเหล็กที่นำมายืดออกเป็นตะแกรง (ตาข่าย) โดยที่แต่ละมุมยังยึดติดกัน จึงแข็งแรง รับแรงกดได้ดี น้ำหนักเบา และดูสวยงาม มีลวดลายให้เลือกไม่น้อย นิยมนำมาใช้แต่งบ้าน ทำฉากกั้น ผนังห้อง ราวบันได พื้นทางเดิน รั้ว หรือพื้นที่ที่ต้องการความโปร่งตา ระบายอากาศได้ดี ส่วนความหนามีให้เลือกตั้งแต่ 1.2 มิลลิเมตร 1.6 มิลลิเมตร 2.3 มิลลิเมตร 3.2 มิลลิเมตร 4.5 มิลลิเมตร ไปจนถึง 6 มิลลิเมตร ซึ่งควรเลือกให้เหมาะกับงาน โดยงานทั่วไปให้เลือกใช้ความหนา 1.2  – 3 มิลลิเมตร ก็เพียงพอ ส่วนงานที่ต้องรับน้ำหนักสูงอย่างงานพื้น ควรเลือกความหนาตั้งแต่ 4.5 มิลลิเมตรขึ้นไป

พื้นจากตะแกรงเหล็กฉีก

เหล็กฉีก

ปูพื้นตะแกรงเหล็กฉีกบนโครงสร้างเหล็กที่ยกระดับเหนือบ่อปลาคาร์ป เด่นด้วยความดิบกระด้างของวัสดุเหล็กสีดำแซมสีสนิมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นฉากหลัง ช่วยขับความเขียวชอุ่มของสวนแขวนอย่างชายผ้าสีดาและเฟินชนิดต่าง ๆ ให้ยิ่งงดงาม

เจ้าของ – ออกแบบ – ตกแต่ง : คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ (Walllasia., Ltd.)
อ่านต่อ : BEYOND THE (BLACK) BOX นอก “กรอบ” ด้วย “แก่น”

บันไดจากตะแกรงเหล็กฉีก

ตะแกรงเหล็กฉีก แบบบันไดวน

เพิ่มความจี๊ดจ๊าดให้บ้านด้วยบันไดวนสีสันแสบทรวงอย่างสี Majorelle Blue โครงสร้างหลักเป็นเหล็กทั้งหมด เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างและทําสี สามารถทําสีแบบพาวเดอร์โค้ตติ้งได้ ชานพักและลูกนอนบันไดเป็น ตะแกรงเหล็กฉีก หรือตะแกรงเหล็กยืดทําสี หนา 4.5-6 มิลลิเมตร ขนาด 1.20x 2.40 เมตร ราคาแผ่นละ 1,850-3,600 บาท ตะแกรงเหล็กฉีกมีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กแผ่นท่ัวไป จึงสามารถรับน้ําหนักได้โดยไม่บิดงอหรือเสียรูป อีกทั้งยังมีน้ําหนักเบา และอย่าลืมออกแบบกรอบครอบส่วนริมของ ตะแกรงเหล็กด้วยเพื่อความปลอดภัย

เจ้าของ : คุณวสันต์ – แพทย์หญิงกาญจนา ติรางกูร
ออกแบบ-ตกแต่ง : Junsekino Architect and Design
Co-Designer : คุณวสันต์ ติรางกูร
อ่านต่อ : TINMAN HOUSE

ประตูจากตะแกรงเหล็กฉีก

ตะแกรงเหล็กฉีก แบบประตู

ประตูเหล็กทำหน้าที่เป็นประตูบ้าน ซ่อนตัวอยู่หลังแมกไม้สีเขียว บานประตูเหล็กฉีกช่วยให้บ้านสีดำเคร่งขรึมดูโปร่งเบาและเป็นมิตรขึ้น

เจ้าของ – ออกแบบ – ตกแต่ง : คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ (Walllasia., Ltd.)
อ่านต่อ : BEYOND THE (BLACK) BOX นอก “กรอบ” ด้วย “แก่น”

ตะแกรงเหล็กฉีก แบบประตู

ประตูบ้านฝั่งทางคนเดินเข้าเป็นตะแกรงเหล็กฉีกสีดําเข้ากันได้ดีกับศาลพระภูมิดีไซน์โมเดิร์น และกำแพงบ้านปูนเปลือยเว้นระยะห่างเป็นช่องเล็กๆ เพื่อการระบายอากาศที่ดี ไม่รู้สึกทึบตันเกินไป

เจ้าของ : คุณพงศธร ศิริเพชร และคุณนิศากร เตจ๊ะใหม่
ออกแบบ : คุณสาริน นิลสนธิ D_Kwa Architect
อ่านต่อ : GREAT START & GROW STRONGER เริ่มต้นและเติบโต

ตะแกรงเหล็กฉีก แบบประตู

ประตูบ้านเป็นประตูเหล็กทำสนิม ส่วนบนประตูออกแบบให้เป็นตะแกรง เพื่อความโปร่ง แล้วกรุกระจกไว้ด้านใน สวนขนาดย่อมด้านนอกเลือกใช้กระถางสไตล์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกันแต่เข้ากันได้ดี และแม้จะเป็นบริเวณปลูกต้นไม้ก็วางของตกแต่งเท่ ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้น กรอบรูป และธง

เจ้าของ-ตกแต่ง : คุณณัฐพล วุฒิเพ็ชร์
อ่านต่อ : THE TREASURE CHAMBER บ้านช่างภาพนักสะสม

ตะแกรงเหล็กฉีก แบบประตู

ไอเดียทำประตูเท่ ๆ จากตะแกรงเหล็กฉีก สร้างความรู้สึกโปร่งโล่งบริเวณห้องน้ำส่วนแห้ง ทำเคาน์เตอร์คอนกรีตขัดมันแบบเรียบง่าย แล้วนำถังเบียร์สดมาประยุกต์ใช้เป็นอ่างล้างมือ บอกได้เลยว่าไอเดียเริดสุด ๆ

เจ้าของ : คุณวสันต์ – แพทย์หญิงกาญจนา ติรางกูร
ออกแบบ-ตกแต่ง : Junsekino Architect and Design
Co-Designer : คุณวสันต์ ติรางกูร
อ่านต่อ : TINMAN HOUSE

ผนังจากตะแกรงเหล็กฉีก

แบบสำนักงาน Bit studio

รีโนเวตโฮมออฟฟิศพื้นที่จำกัดภายใต้คอนเซ็ปต์ “บิดเบือนที่ว่าง” หรือการออกแบบที่บิดเบือนมุมมองของพื้นที่เดิม ด้วยการใช้เหล็กฉีกสีขาวเป็นวัสดุหลักสำหรับแบ่งขอบเขตพื้นที่ภายใน

เจ้าของ : คุณเกียรติยศ พานิชปรีชา – Bit Studio
ออกแบบ : ทิศทางสตูดิโอ
อ่านต่อ : BIT STUDIO สถาปัตยกรรมบิดเบือนที่ว่าง

ตะแกรงเหล็กฉีก แบบประตู

ดีไซน์ลิฟต์แบบโบราณโดยใช้เหล็กเป็นโครงสร้างหลัก ตัวกล่องลิฟต์ออกแบบให้โปร่งด้วยผนังตะแกรงเหล็กฉีก ล้อไปกับการตกแต่งโดยรวม ส่วนโถงทางเดินที่เชื่อมกับห้องพักทุกห้องได้รับการออกแบบให้ต้องเดินผ่านคอร์ตซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งของอาคาร ซึ่งถือเป็นการออกแบบพื้นที่ภายในที่คำนึงถึงพฤติกรรมและการสัญจรของผู้ใช้เป็นสำคัญ

สถานที่ : Bangkok Publishing Residence
ออกแบบ : คุณศรัณย์ สุนทรสุข และ คุณพงศกร กิจขจรพงษ์
อ่านต่อ : Bangkok Publishing Residence – รีโนเวตตึกแถวเก่า เป็นโรงแรมระดับไฮเอนด์สุดชิค

ตะแกรงเหล็กฉีก

ทางเดินทําเป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ มีมิติของผนังตะแกรงเหล็กฉีกขนาบทั้งสองด้าน ช่วยสร้างบรรยากาศในการเดินให้ดูสนุกสนานข้ึน ตะแกรงเหล็กนี้ทําหน้าที่เป็นเหมือนหน้ากากของอาคาร ช่วยกั้นพื้นที่เปิดโล่งให้ดูเป็นส่วนตัวมากขึ้น

สถานที่ : PATANA GALLERY
ออกแบบ : คุณอรพรรณ สาระศาลิน เชเฟอร์ และคุณ เดวิด เชเฟอร์ จาก StudioMake
อ่านต่อ : PATANA GALLERY เปิดประตูสู่ศิลปะ

ตะแกรงเหล็กฉีก

สําหรับโครงสร้างแบบเปลือย ช่องเก็บสายไฟสายหลักอาจดูยุ่งเหยิงรกตา จึงทําช่องเก็บเป็นตะแกรงเหล็กติดกลอนแบบหน้าต่าง เพื่อให้สามารถ เปิดซ่อมแซมได้เมื่อเกิดเหตุขัดข้อง

สถานที่ : THE POST BANGKOK
ออกแบบ : คุณสุชาดา สมอัศวชัย

ราวกันตกจากตะแกรงเหล็กฉีก

ตะแกรงเหล็กฉีก

จากตู้คอนเทนเนอร์เก่า ได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นคาเฟ่กลิ่นอายสไตล์อินดัสเทรียล จากวัสดุที่ใช้อย่างตะแกรงเหล็กฉีก ผสานกับพื้นเหล็กลายตีนเป็ด และแผ่นเมทัลชีต ทาสีขาวเพื่อให้ดูสะอาดตา ช่วยให้บรรยากาศของร้านดูเท่ และเนี้ยบขึ้น

สถานที่ : Coffeestand & Design ถนนราชพฤกษ์
อ่านต่อ : Coffeestand & Design

หน้ากากแอร์จากตะแกรงเหล็กฉีก

ตะแกรงเหล็กฉีก

เหมาะกับห้องที่ต้องการโชว์โครงสร้างและวัสดุแนวสัจวัสดุ เริ่มจากการทำหน้ากากแอร์จากเหล็กฉาก ให้มีลักษณะคล้ายกล่องขนาด 70 x 300 เซนติเมตร ยาวเต็มพื้นท้องคาน และ ขนาด 30 x 300 เซนติเมตร ยาวเต็มพื้นที่ด้านหน้า แล้วติดแผ่นตะแกรงเหล็กฉีกลงไปไอเดียนี้เสริมให้ห้องดูดิบและได้อารมณ์อาร์ตสุด ๆ

ไอเดียแต่งหน้ากากแอร์ ห้องนั่งเล่น

แม้จะเลือกใช้เครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้นก็ไม่เป็นปัญหา ถ้าเป็นห้องสไตล์ลอฟต์ยิ่งเข้ากับไอเดียนี้ เริ่มจากทำฐานไม้ขนาด 40 x 150 x 10 เซนติเมตร สำหรับวางเครื่องปรับอากาศ เตรียมเฟรมเหล็ก 2 นิ้ว ขนาด 40 × 150 เซนติเมตร และ 40 x 70 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น (อ้างอิงจากขนาดแอร์ตั้งพื้น 24.5 x 130 x 63 เซนติเมตร) หรือจะกะขนาดให้เหมาะสมตามไซส์เครื่องปรับอากาศของคุณก็ได้ จากนั้นทำขอบด้วยเหล็กฉาก 2 นิ้ว สำหรับครอบเครื่องปรับอากาศ แล้วกรุด้วยแผ่นตะแกรงเหล็กฉีก ยึดน๊อตให้แข็งแรง ส่วนหน้ากากด้านหน้าใช้แผ่นไม้กว้าง 2 นิ้ว ทำสีดำ แปะไขว้เป็นกากบาทเพื่อยึดกับโครงเหล็กฉาก เพื่อความแข็งแรง แล้วค่อยติดไม้ระแนงยึดด้วยน๊อตสกรู

เจ้าของ : คุณนุติ์ นิ่มสมบุญ – คุณคล้ายเดือน สุขะหุต
ออกแบบ-ตกแต่ง : คุณธีรเวทย์ อัศวเอกะวานิช Fantastic day