“ความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบไม่ได้เป็นเพียงแค่การนําเสนอสิ่งใหม่และการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยเพื่่อให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นเท่านั้น แต่สิ่งที่สําคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือ ความหมั่นเพียร ขัดเกลาและพัฒนากระบวนการ เทคนิคทักษะฝีมือ เทคโนโลยีการผลิตคุณภาพวัสดุ ซึ่งทั้งหมดนี้คือองค์ประกอบที่จะช่วยรักษาและยกระดับงานสร้างสรรค์ให้มีความแหลมคม ประณีต ทันต่อเหตุการณ์ ตอบสนองความต้องการของชีวิตประจําวัน และการเดินหน้าสู่อนาคต”
ย่อหน้าข้างต้นเป็นบทนำที่ว่าด้วยแนวคิดหลักที่ว่า “ยิ่งขัดเกลา ยิ่งแหลมคม” หรือ Keep Refining ประจำเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ (Chiang Mai Design Week 2018) ซึ่งนับจากนี้อีกเพียงไม่นาน ช่วงเวลาแห่งการพบปะพูดคุยพร้อมแลกเปลี่ยนมุมมอง ความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ด้านการออกแบบประจำปีของเชียงใหม่จะกลับมาอีกครั้ง คราวนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ในวันที่ 8-16 ธันวาคมนี้ นักสร้างสรรค์ นักออกแบบ ช่างฝีมือ ศิลปิน ผู้ประกอบการธุรกิจในเมืองเชียงใหม่ ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่มีดีไซน์เป็นหมุดหมายเตรียมนับถอยหลังกันได้เลย
ภายในเทศกาลนี้แบ่งออกเป็น 7 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย นิทรรศการ, เสวนา, เวิร์กช็อป, ทัวร์, สังสรรค์, อีเว้นท์ และตลาด กระจายตัวอยู่บริเวณย่านอนุสาวรีย์สามกษัตริย์, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงใหม่ (TCDC เชียงใหม่) และตามสถานที่จัดงานต่าง ๆ ดังนี้
- ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงใหม่
- สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย
- หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
- หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
- หอภาพถ่ายล้านนา
- พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา
- วันนิมมาน
- อังซา สตูดิโอ
- โรงแรมแชงกรี-ลา เชียงใหม่
- ชุมชนล่ามช้าง
- ประตูท่าแพ
- โรงแรมแทมมารีน วิลเลจ
- วัดล่ามช้าง
- แอคดิค สตูดิโอ
- ร้าน Greenies&Co
- ร้าน คราฟ เดอ คัวร์
- แทน สตูดิโอ
- ท่าแพอีสต์
- โรงแรมศรีประกาศ
- ร้านเดลี่คราฟท์
- เดต้าเลส สตูดิโอ
- นิรามิส โคครีเอติ้ง สเปซ
- บริษัท มูนเลอร์
- บริษัท เดอลาน จิลเวลรี่
- บริษัท ยูไนเต็ดอาร์ท จำกัด
- สมาคมวัฒนหัตถศิลป์ล้านนา
- เดอะ แคนนาส เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ แอนด์ มินิมอล
- มูลนิธิที่นา
- โรงแรม 137 พิลล่าร์เฮาส์ เชียงใหม่
- โรงแรมรายาเฮอริเทจ เชียงใหม่
- อาข่า อาม่า ลิฟวิ่ง แฟคตอรี่
- โรงแรม เดอ นาคา เชียงใหม่
- อาสา คิชเช่น แอนด์ สตูดิโอ
- ธันเดอร์เบิร์ด โฮสเทล เชียงใหม่
- เดอะเฮ้าส์ บาย จินเจอร์ เชียงใหม่
- พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่
- วัดดวงดี
- แม็กโนเลีย คาเฟ่
- ระมิงค์ ที เฮ้าส์
room ชวนเรียกน้ำย่อยด้วย 5 นิทรรศการน่าสนใจใน Chiang Mai Design Week 2018 เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ ซึ่งนี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งใน 200 นิทรรศการและกิจกรรมของงานเท่านั้น เมื่องานเริ่มขึ้นเราจะเก็บบรรยากาศมาให้ชมให้อ่านกันแน่นอน ส่วนใครวางแผนไปเที่ยวเชียงใหม่ช่วงนั้นพอดีอย่าลืมตามไปเก็บให้ครบด้วยนะ
Exhibitions
01 | Lighting Installations
โดย COTH STUDIO และ Living Spirits
COTH-ing คือแบรนด์ภายใต้การออกแบบของ COTH Studio ที่ก่อตั้งขึ้นโดย คุณเฉลิมเกียรติ สมดุลยาวาทย์ และคุณกวิสรา อนันต์ศฤงคาร ฝีมือในงานออกแบบของพวกเขาถูกการันตีด้วยรางวัลจากเวทีการประกวดทั้งระดับประเทศและนานาชาติ โดยล่าสุด ผลงาน “บัว (Bua)” ชุดภาชนะที่ได้แรงบันดาลใจจาก “บาตรบุ” ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทประชาชนทั่วไป ในการประกวดผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ ครั้งที่ 6 หรือ Innovative Craft Award 2017 ที่จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ซึ่งในเทศกาลนี้พวกเขาจะมานำเสนอ Vestige Lighting Installations ที่สะท้อนถึงเรื่องราวของกาลเวลา ความทรงจำ และชุมชนซึ่งจะน่าสนใจขนาดไหนต้องรอติดตาม
Living Spirits คือทีมออกแบบที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์จากศิลปะที่มีปฏิสัมพันธ์ปัจจัยต่าง ๆ ในงานออกแบบ “The act of thought” ศิลปะจัดวางที่มีปฎิสัมพันธ์กับผู้ชมครั้งนี้พวกเขาใช้โคมลอยเป็นสื่อ แบ่งนิทรรศการเป็น 3 องก์ ดังเช่นในโรงมหรสพ องก์แรกเป็นช่วงการย้ำชัดของ “กลุ่มก้อนความคิด” องก์ที่สองเป็นช่วงที่ความคิดเชื่อมโยงและชัดเจน และองก์สุดท้ายเป็นช่วงการหยั่งรู้จากกระบวนการการทำงาน
เข้าร่วมกิจกรรมฟรีที่ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
02 | A Cup of Coffee Talk
โดยกลุ่มนักออกแบบ “อิสรภาพ”
“อิสรภาพ” คือกลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่ที่เกิดจากการรวมตัวกันของ 3 สตูดิโอจากกรุงเทพฯ ได้แก่ ease studio, SATAWAT และ Teerapoj Teeropas ในเทศกาลครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ที่พวกเขาได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการ หากเปลี่ยนประเด็นจาก “เก้าอี้” นิรนามจาก 2 ครั้งแรก มาเป็นการพูดคุยเรื่อง “แก้วกาแฟ” โดยพวกเขาเชื้อเชิญนักสร้างสรรค์จากหลายวงการ อาทิ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ศิลปินเครื่องปั้น
บาริสต้า มัณฑนากร มาร่วมกันออกแบบแก้วกาแฟในแบบฉบับตนเอง พร้อมกันนี้กลุ่มอิสรภาพยังได้เสาะหาแก้วกาแฟที่มีเรื่องราวโยงใยกับผลงานของนักออกแบบรับเชิญมาร่วมจัดแสดงเพิ่มเติมอีกประมาณ 100 ใบ
เข้าร่วมกิจกรรมฟรี ในวันอาทิตย์ที่ 9 ธ.ค. 61 เวลา 17.00–19.00 น.
ณ โรงแรมศรีประกาศ
33 ถ.สายลำพูน-เชียงใหม่ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
โทร. 0-5324-1272
เส้นทาง : https://www.google.com/maps?q=18.78587426105,99.005363881588
03 | SAK-SIT Talisman
โดย DE LANN JEWELLERY X Surreal Stitch
อีกหนึ่งในนิทรรศการน่าสนใจซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันครั้งแรก ระหว่างกลุ่มช่างฝีมือจากแบรนด์เชียงใหม่อย่าง เดอ ลานน์ (ชื่อมาจากคำว่า “De” ที่แปลว่า “จาก” ในภาษาฝรั่งเศส และ “ล้านนา”) ที่ถนัดด้านการเย็บปักถักร้อยและประกอบเครื่องประดับ และคุณวทันยา ศิริวรรณ นักออกแบบและเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า Surreal Stitch ซึ่งเธอได้รับแรงบันดาลใจมาจากการสักยันต์และเครื่องรางของขลัง เธอมองว่าการครอบครองสวมใส่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ เป็นการแสวงหาวิธีที่ทำให้เจ้าของรู้สึกปลอดภัยจากความกลัว ดังนั้นผลงานชิ้นนี้ผลิตขึ้นจากวัสดุหลากหลาย อาทิ โลหะ ฝ้าย ลูกปัด ด้าย และหนัง และเป็นการทำงานร่วมกันของช่างฝีมือรวม 8 ท่าน ผ่านการใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
เข้าร่วมกิจกรรมฟรี ตั้งแต่วันที่ 8-16 ธ.ค. 61 เวลา 10.00-18.00 น.
ณ หอภาพถ่ายล้านนา
ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทร. 0-5200-0393
เส้นทาง : https://www.google.com/maps?q=18.789871,98.988634
04 | Invisible Things Exhibition
โดย Goethe-Institut Thailand
นิทรรศการจัดแสดงสิ่งของธรรมดาสามัญ (แต่สะท้อนเรื่องราวหลายอย่างมากกว่าที่คิด) 50 ชิ้น แบ่งออกเป็นจากประเทศไทย 25 ชิ้น และประเทศเยอรมนี 25 ชิ้น ทั้งหมดนี้เปรียบเสมือนบทสนทนาระหว่างวัฒธรรมทั้ง 2 ฝั่งโลกที่แตกต่างกัน แต่ชวนให้ขบคิดถึงรากเหง้าของตนเองผ่านสิ่งที่มองไม่เห็น นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอภาพยนตร์สั้น 2 เรื่อง ได้แก่ “อะไรคือความเป็นไทย?” ที่จัดทำโดยนักศึกษาจากประเทศเยอรมนี และ “อะไรคือความเป็นเยอรมัน?” จัดทำโดยนักศึกษาจากประเทศไทย รวมถึงภาพถ่ายบุคคลจากสองประเทศที่สะท้อนวิถีชีวิตของพวกเขา มาร่วมหาคำตอบและตีความว่าอะไรคือความเป็นไทย อะไรคือความเป็นเยอรมัน และข้าวของเครื่องใช้อะไรที่บ่งบอกวัฒนธรรม การใช้ชีวิตไปกับพวกเขาได้
เข้าร่วมกิจกรรมฟรี
นิทรรศการ The Invisible Things นี้จัดให้ชมตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน 61 – 28 กุมภาพันธ์ 62
ณ ห้องแกลอรี่ TCDC เชียงใหม่
เส้นทาง : https://www.google.com/maps?q=18.79526,98.996288
โดยกลุ่มนักออกแบบ “FLOWERS IN THE VASE“
ปพิชชา ธนสมบูรณ์ วัย 23 ปี หนึ่งในนักออกแบบอายุน้อยที่สุดใน Chiang Mai Design Week 2018เจ้าของรางวัลดีเด่นในงานแสดงเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติปี 2561 ปพิชชาเป็นนักออกแบบที่หลงใหลในการทำเครื่องเคลือบดินเผาด้วยเทคนิคเนริโกมิ โดยนำดินสีแต่ละชั้นมาทับซ้อนให้เกิดลวดลาย ซึ่งจะเห็นได้ทั้งด้านในและด้านนอกภาชนะ ครั้งนี้ปพิชชาสร้างสรรค์ผลงานคอลเล็กชั่นใหม่จากเลือกใช้ดินสโตนแวร์ (ดินสีเทา) สำหรับเทศกาลออกแบบเชียงใหม่โดยเฉพาะ โดยที่ชาม 30 ใบที่จะจัดแสดงถูกทำขึ้นในช่วงกลางเดือนต.ค. – กลางเดือนพ.ย. ความพิเศษของดินสโตนแวร์ คือเมื่อผสมสีลงไปในดินแล้วจะยังไม่เห็นสีทันทีจนกว่าจะนำไปเผา แล้วขัดด้วยกระดาษทรายน้ำ โดยที่ทุกชิ้นล้วนเป็นสีสันจริงของท้องฟ้าในแต่ละวัน
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
เรื่อง : ND
ภาพ : เอกสารประชาสัมพันธ์