สูตรคำนวณ ค่าน้ำ ค่าไฟ ในบ้าน
เดือนเมษายนของทุกปี มักจะเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิความร้อนพุ่งทะลุเป็นสถิติให้ได้บันทึกกันแทบทุกปี เช่นเดียวกับอัตราค่าไฟที่พุ่งสูงขึ้นตามอัตราการดับร้อนด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง เครื่องปรับอากาศ พัดลม รวมทั้งค่าน้ำประปาที่พุ่งขึ้นตามการใช้ดับร้อนในชีวิตประจำวันและการดูแลสวนเอง
ก่อนที่อะไรๆมันจะพุ่งสูงเกินความจำเป็นและนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายในช่วงปลายเดือนที่จะถึงนี้ ลองคิด คำนวณค่าไฟ ค่าน้ำ กันดู ว่าแต่ละเดือน ที่บ้านใช้ไปเท่าไหร่ เยอะเกินไปไหม และถึงเวลาที่เราควรประหยัดน้ำประหยัดไฟแล้วหรือยัง
สูตรคำนวณอัตราค่าไฟบ้าน
การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คิดอัตราบริการต่อหน่วยเท่ากัน โดยคิดเป็นอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้ไฟฟ้ามากเท่าไหร่ก็ยิ่งจ่ายค่าไฟเพิ่มากขึ้นเท่านั้น ในบ้านเรือนส่วนใหญ่จะใช้กำลังไฟไม่เกิน 5 แอมแปร์ 230 โวลต์1 เฟส 2 สาย วิธีสูตรคำนวณค่าไฟคือ
ค่าไฟฟ้าฐาน = (จำนวนยูนิต X อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย)+ค่าบริการ
ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟฟ้าผันแปร (ft) + ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) =ค่าไฟฟ้า
ในสูตรคำนวณนี้ประกอบไปด้วย
–ค่าไฟฟ้าฐาน คิดแบบอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้ไฟฟ้ามากยิ่งต้องจ่ายแพงขึ้น ดังนี้
บ้านอยู่อาศัยอัตรา 1.1
- 1-15 หน่วย = 2.34 บาท/หน่วย
- 16-25 หน่วย = 2.98 บาท/หน่วย
- 26-35 หน่วย = 3.24 บาท/หน่วย
- 36-100 หน่วย = 3.62 บาท/หน่วย
- 101-150 หน่วย = 3.71 บาท/หน่วย
- 151-400 หน่วย = 4.22 บาท/หน่วย
- ค่าบริการ = 8.19 บาทต่อเดือน
บ้านอยู่อาศัยอัตรา 1.2
- 1-150 หน่วย = 3.25 บาท/หน่วย
- 151-400 หน่วย = 4.22 บาท/หน่วย
- ส่วนเกิน 400 หน่วย = 4.42 บาท/หน่วย
- ค่าบริการ = 38.22 บาทต่อเดือน
-ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ Ft = จำนวนพลังงานไฟฟ้า x ค่า ft (หน่วยละ 93.43 สตางค์/หน่วย เดือนกันยายน – ธันวาคม 2565)
-ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า ft) x 7/100
อัตราค่าไฟฐานข้างต้น เป็นอัตราสำหรับขนาดไฟไม่เกิน 5 แอมแปร์ 230 โวลต์1 เฟส 2 สายและใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ทั้งนี้ ในกรณีที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือนติดต่อกัน 3 เดือน ในเดือนถัดไปจะคิดค่าบริการประเภทที่ 1.1.2 และเมื่อใดมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย ติดต่อกัน 3 เดือน ในเดือนถัดไปจะจัดเข้าเรตค่าบริการประเภท 1.1.1 ดังเดิม
สูตรคำนวณอัตราค่าน้ำประปา
ค่าน้ำประปา แบ่งอัตราค่าบริการตามเขตพื้นที่ตั้ง อย่างพื้นที่กรุงเทพฯจะขึ้นกับการประปานครหลวง ส่วนต่างจังหวัดขึ้นกับการประปาส่วนภูมิภาค และในบางพื้นที่ยังมีการประปาโดยเอกชนร่วมลงทุนอีกด้วย โดยจะแบ่งประเภทตามที่ลักษณะที่อยู่อาศัยออกเป็น2ประเภทด้วยกันคือ ประเภทที่ 1 ที่พักอาศัย และประเภทที่ 2 ธุรกิจ ราชการ รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรม และอื่นๆ
สูตรในการคำนวณค่าน้ำประปาคือ (ปริมาณน้ำที่ใช้ x ราคาต่อหน่วย)+ค่าบริการ+ภาษี 7 % = ค่าน้ำประปา
ค่าบริการที่ระบุไว้ในสูตรข้างต้นคิดราคาตามขนาดของมาตรวัด ซึ่งมีดังนี้
- ½ นิ้ว ค่าบริการ 25 บาท
- ¾ นิ้ว ค่าบริการ 40 บาท
- 1 นิ้ว ค่าบริการ 50 บาท
- 1 ½ ค่าบริการ 80 บาท
- 2 นิ้ว ค่าบริการ 300 บาท
- 3 นิ้ว ค่าบริการ 400 บาท
- 4 นิ้ว ค่าบริการ 500 บาท
- 6 นิ้ว ค่าบริการ 900 บาท
- 8 นิ้ว ค่าบริการ 1,100 บาท
- 12 นิ้ว ค่าบริการ 3,500 บาท
- 16 นิ้ว ค่าบริการ 5,000 บาท
-อัตราค่าน้ำประปาจากการประปานครหลวง (พื้นที่กรุงเทพมหานคร)
- 1-30 ลบ.ม. = 8.50 บาท/หน่วย
- 31-40 ลบ.ม. =10.03 บาท/หน่วย
- 41-50 ลบ.ม.= 10.35 บาท /หน่วย
- 51-60 ลบ.ม.= 10.68 บาท /หน่วย
- 61-70 ลบ.ม.= 11.00 บาท /หน่วย
- 71-80 ลบ.ม.= 11.33 บาท /หน่วย
- 81-90 ลบ.ม.= 12.50 บาท /หน่วย
-อัตราค่าน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค (พื้นที่ต่างจังหวัดไม่รวมพื้นที่เอกชนร่วมลงทุน)
- 1-10 ลบ.ม. = 10.20 บาท /หน่วย
- 11-20 ลบ.ม. = 16 บาท /หน่วย
- 21-30 ลบ.ม.= 19 บาท /หน่วย
- 31-50 ลบ.ม. = 21.20 บาท/หน่วย
ตรวจสอบอัตราค่าน้ำประปาแบบละเอียด
บ้านเรือนส่วนใหญ่ใช้มาตรวัดขนาด ½ นิ้ว ค่าบริการจะอยู่ที่ 25 บาท แต่ในกรณีของคอนโดมิเนียม แต่ละโครงการจะติดตั้งระบบน้ำประปาแบบขายเหมา ( Bulk Sale) โดยมีราคาเฉลี่ยของประเภทที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 10.50 บาท/ลบ.ม.ส่วนอาคารประเภทอื่นๆ จะอยู่ที่ 13.00/ลบ.ม. เพราะเหตุนี้ค่าน้ำประปาสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมจึงต้องจ่านค่าน้ำแบบหารเฉลี่ยโดยรวม