เหตุใดงานหัตถศิลป์จึงมีเสน่ห์ แล้วเหตุใดเหล่าผู้สร้างงานฝีมือจึงมารวมตัวอยู่ที่เชียงใหม่ ร่วมเดินทางไปหาคำตอบพร้อมกับเรา...
ปฏิเสธไม่ได้ว่าฤดูฝนเป็นฤดูแห่งการเจริญเติบโตของพืช แต่หากน้ำฝนมีปริมาณมากเกินไปอย่างเช่นในปีนี้ ก็คงเป็นเรื่องยากที่พืชจะเติบโตได้อย่างงดงาม และฤดูฝนยังนำมาซึ่งโรคภัยและปัญหาอื่นๆอีกด้วย โดยเฉพาะคนรักต้นไม้ที่เก็บสะสมไว้หลายชนิดพันธุ์ ทั้งราคาถูก ราคาแพง แต่เมื่อต้องมาเจอกับสถานการณ์พายุฝนกระหน่ำหลายวัน หลายคนอาจเตรียมรับมือดูแลต้นไม้ในช่วงนี้ไม่ทัน วันนี้ บ้านและสวน ขอแชร์วิธีการฟื้นฟูและดูแลต้นไม้สะสมหลังผ่านฤดูมรสุมนี้กัน หากมีต้นที่เน่า ควรรื้อดูราก หากยังมีรากที่ดี ให้ตัดรากและส่วนที่เน่าทิ้ง จากนั้นนำมาชำและพักไว้ที่ร่มรำไรก่อน ทำความสะอาดใบด้วยการรดน้ำ หรือเช็ดด้วยผ้าสะอาด เพื่อล้างสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคที่มากับน้ำฝน หลังจากผ่านฤดูฝนแล้วจะเข้าสู่ฤดูหนาวที่มีอากาศแห้ง ควรระวังเรื่องความชื้นในอากาศ หมั่นสังเกตอาการต้นไม้และวัสดุปลูก เลือกใช้วัสดุปลูกที่มีความโปร่ง ระบายน้ำได้ดี ไม่อุ้มน้ำมากเกินไป หากวัสดุมีการย่อยหรือเปื่อยแล้ว เช่น กาบมะพร้าว ควรเปลี่ยนหรือปรุงวัสดุปลูกใหม่ เลือกปลูกในกระถาง เข่ง หรือตะกร้า เพื่อสะดวกและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย การดูแลหรือการควบคุมโรคยังสามารถทำได้ง่ายกว่าการปลูกลงแปลง หากบ้านมีพื้นที่ควรมีชั้นวางยกสูง หากมีพื้นที่จำกัด ควรมีการรองกระถางด้วยกระเบื้องลอน หรือตะแกรง เพื่อให้ด้านล่างกระถางมีการถ่ายเทอากาศ และน้ำไม่ขังเมื่อมีการรดน้ำ สำรวจความชื้นในดินปลูก ถ้าแฉะเกินไปให้นำออกมาเจอแสงแดดอ่อนๆในช่วงเช้า หากไม่มีแสงให้นำมาไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เติมไตรโครเดอร์มา สตาร์เกิล จี เพื่อป้องกันโรครากเน่า และไข่แมลงในดิน ยังไม่ควรใส่ปุ๋ยบำรุงในช่วงนี้ แต่เมื่อต้นไม้เริ่มฟื้นตัวได้ดีแล้ว สังเกตจากการแตกยอด หรือไม่เหี่ยวเฉา ก็เริ่มให้ปุ๋ยบำรุงได้ แต่ควรให้ในปริมาณน้อยๆก่อน […]
ต้อนรับปีกระต่านด้วยปฏิทินบ้านและสวน ที่ได้เตรียมไว้ให้เป็นของขวัญแก่คุณผู้อ่านที่รักทุกท่าน ซึ่งใน ปฏิทิน 2566 นี้เรามาในคอนเซ็ปต์ของพรรณไม้ดูดซับคาร์บอน และยังเป็นพรรณไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นเครื่องค้ำประกันการกู้เงินและทางธุรกิจได้อีกด้วย
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]