บ้านไชนีสโมเดิร์น ที่ให้ความสำคัญกับชัยภูมิที่ตั้งและรักษาสัมพันธภาพจากรุ่นสู่รุ่น

บ้านไชนีสโมเดิร์น ที่ให้ความสำคัญกับชัยภูมิที่ตั้งและรักษาสัมพันธภาพจากรุ่นสู่รุ่น

บ้านไชนีสโมเดิร์น ที่ให้ความสำคัญกับชัยภูมิที่ตั้งและรักษาสัมพันธภาพจากรุ่นสู่รุ่น
บ้านไชนีสโมเดิร์น ที่ให้ความสำคัญกับชัยภูมิที่ตั้งและรักษาสัมพันธภาพจากรุ่นสู่รุ่น

จากหนึ่งครอบครัวเติบโตแตกหน่อแยกออกไปเป็นครอบครัวเดี่ยว แต่สายสัมพันธ์ที่ถักทอร่วมกันก็ได้โยงครอบครัวของ คุณมานะ ประภากมล และคุณเอมิ – ศรีอิศรา ประภากมล ซึ่งเป็นลูกชายคนเล็กได้กลับมาดูแลคุณแม่ที่เปลี่ยนสถานะเป็นคุณย่าของหลาน น้องมินะและน้องฮีโร่ บ้านโมเดิร์นสไตล์จีน

ออกแบบ – ตกแต่ง : D’Architects Studio โดยคุณสุกัญญา ตั้งนิมมานนรดี / ภูมิสถาปนิก : คุณนภัสกร ศีติสาร และ GDEEZ

เป็นสายใยเส้นใหม่ที่กำลังผูกความสัมพันธ์ของคนต่างวัย ถือเป็นหนึ่งในหลายโจทย์สำหรับ คุณสุ – สุกัญญา ตั้งนิมมานนรดี สถาปนิกมาดเท่แห่ง D’Architects Studio ซึ่งเป็นเพื่อนคุณเอมิตั้งแต่ชั้นประถม ให้เป็นผู้คลี่คลายและหลอมรวมทุกสายสัมพันธ์ให้งอกงามผ่านการออกแบบที่ดี บ้านโมเดิร์นสไตล์จีน

หากย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีก่อน ที่ดินขนาด 2 งาน 75  ตารางวาผืนนี้มีบ้านจัดสรรอายุเกือบ 30 ปีตั้งอยู่ และมีเรือนหลังเล็กด้านข้าง ด้วยที่ตั้งอยู่ใกล้สวนหลวง ร.9 ไม่ไกลจากที่ทำงาน และมีบ้านญาติอยู่ใกล้ๆ คุณแม่และครอบครัวคุณมานะซึ่งกำลังมองหาทำเลสำหรับบ้านหลังใหม่ จึงตัดสินใจสร้างบ้านหลังนี้เป็นบ้านสำหรับ 2 ครอบครัว คือ คุณพ่อคุณแม่ของคุณมานะ และครอบครัวคุณมานะที่มีลูก 2 คน โดยมีโจทย์หลัก 3 เรื่อง คือ ทำอย่างไรกับบ้านเก่าที่อยู่ในพื้นที่ การทำงานร่วมกับหมอดูชัยภูมิซึ่งมีข้อกำหนดเรื่องตำแหน่งของสิ่งต่างๆ ในบ้าน และการออกแบบให้ทุกคนอยู่อย่างมีความสุข

อาคารสองชั้นฝั่งขวาคือบ้านเก่าที่รีโนเวตใหม่ ส่วนฝั่งซ้ายคือบ้านสามชั้นที่สร้างใหม่ให้เชื่อมต่อเป็นหลังเดียวกัน ซึ่งเป็นการสื่อรูปทรงถึง “การประคองกัน”
ทางเข้าหลักใช้ทางเข้าของบ้านหลังเดิม โดยต่อเติมมุกหน้าบ้าน ระเบียงชั้นบน และหลังคาระแนงบังแดด
สร้างพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยออกแบบเฉลียงไม้เชื่อมต่อบ้านเดิมและบ้านใหม่มายังสระว่ายน้ำ อีกทั้งเมื่อเปิดผนังบานเลื่อนของห้องทำงานที่อยู่ริมสระก็เกิดความต่อเนื่องระหว่างภายในกับภายนอกบ้าน
ใต้เฉลียงไม้ทำทางเดินเข้าไปยังห้องเครื่องของสระว่ายน้ำ ปลูกต้นไม้เป็นแนวสูงกว่าพื้นเฉลียง 50-60 เซนติเมตร ช่วยสร้างขอบเขตและพรางตา แต่ไม่บดบังมุมมองจากในบ้าน

เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นบ้านใหม่

การปรับปรุงบ้านเก่าที่ไม่มีแบบก่อสร้างเป็นทั้งความท้าทายและความเสี่ยงกับสิ่งไม่คาดฝัน ผู้ออกแบบ วิศวกร และเจ้าของบ้านจึงต้องปรึกษาร่วมกัน “จากโครงสร้างที่เห็นและตรวจสอบเบื้องต้นก็ยังแข็งแรงดี ผู้ออกแบบเองมองว่าไม่จำเป็นต้องทุบทิ้งทั้งหมด ประกอบกับตำแหน่งบ้านและทางเข้าหลักของบ้านเดิมมีชัยภูมิที่ดีอยู่แล้ว จึงสรุปร่วมกันให้ปรับปรุงบ้านเดิมให้เป็นฟังก์ชันหลักของบ้านและห้องนอนคุณพ่อคุณแม่ ส่วนบ้านครอบครัวคุณมานะให้สร้างใหม่ต่อเชื่อมกัน โดยทำให้บ้านทั้งสองหลังเป็นหลังเดียวกัน มีทางเข้า-ออกทางเดียว มีห้องรับแขกและห้องรับประทานอาหารเดียว” คุณสุเล่าถึงจุดเริ่มต้นและที่มาของรูปทรงบ้านที่สื่อเป็นสัญลักษณ์ของบ้านสองหลังพิงกัน ฝั่งขวาที่อยู่ด้านหน้าเป็นตัวแทนของคุณแม่ที่เป็นหลักของบ้าน ฝั่งขวาเป็นตัวแทนของลูกที่ยืนประคองกัน

ห้องรับแขกในบ้านเดิมตกแต่งสไตล์ไชนีสโมเดิร์น โดยออกแบบผนังฉลุลายและใช้เฟอร์นิเจอร์หลักโทนสีขาว ผสมเก้าอี้จีนแบบดั้งเดิม และวางหีบลวดลายจีนเป็นโต๊ะกลาง
ห้องครัวหลักจัดไว้ในบ้านเดิม ในส่วนบ้านสร้างใหม่จึงมีเฉพาะแพนทรี่ โดยทำหน้าต่างเป็นช่องส่งอาหารและเครื่องดื่มไปห้องอาหารได้

ดูมุมอื่นๆหน้า2