หน้าต่างบานกระทุ้งแบบคว่ำ

[ARCHIVOCAB] AWNING WINDOWS หน้าต่างบานกระทุ้งแบบคว่ำ ปิดงับ เปิดค้ำ อย่างยืดหยุ่น

หน้าต่างบานกระทุ้งแบบคว่ำ
หน้าต่างบานกระทุ้งแบบคว่ำ

หน้าต่างบานกระทุ้งแบบคว่ำ (AWNING WINDOWS) หมายถึง บานหน้าต่างที่ปิดงับ และเปิดค้ำขึ้นได้ บานกรอบอาจผลิตได้จากวัสดุหลากหลายชนิด เช่น ไม้ เหล็ก อะลูมิเนียม ติดตั้งบานพับด้านบนพร้อมตะขอสับ หรือติดตั้งบานพับแบบวิทโก้ ซึ่งเป็นแบบเปิดค้างโดยไม่ต้องใช้ตัวล็อคไว้ที่วงกบข้างช่วงบน

หน้าต่างบานกระทุ้งแบบคว่ำ เหมาะสำหรับ…

  • พื้นที่จำกัด ซึ่งมีพื้นที่ทางสูงน้อยกว่าทางกว้าง จึงยืดหยุ่นสำหรับงานออกแบบช่องเปิดขนาดเล็กในหลากหลายตำแหน่ง
  • การระบายอากาศได้ 100 % ตลอดเวลา ไม่ว่าตอนแดดแรงหรือฝนตก เพราะเมื่อเปิดหน้าต่างจะมีลักษณะคล้ายกันสาด จึงสามารถบังแดด และกันฝนสาดได้ในระดับที่ดี
  • การระบายอากาศในพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน ติดตั้งในระดับสูงเหนือศีรษะเพื่อให้พื้นจากระดับสายตา ทั้งยังมีขนาดเล็กจึงปลอดภัยจากการโจรกรรม
  • ติดตั้งในพื้นที่นั่งเล่น โดยไม่บดบังทัศนียภาพ อาจติดตั้งต่ำกว่าระดับสายตา หรือสูงเหนือศีรษะ เพื่อให้บานกรอบไม่รบกวนทัศนะวิสัย

ภาพจาก :  นิตยสาร room ฉบับที่ 127
เจ้าของ-ออกแบบ: คุณศิริศักดิ์ ธรรมศิริ

หน้าต่างบานกระทุ้งแบบคว่ำ

ภาพจาก :  นิตยสาร room ฉบับที่ 62
เจ้าของ: คุณประสิทธิ์ – คุณไพฑูรย์- – คุณประไพวดี โภคสวัสดิ์
ออกแบบ: คุณไกรสิทธิ์ โภคสวัสดิ์หน้าต่างบานกระทุ้งแบบคว่ำ

ภาพจาก  :  นิตยสาร room ฉบับที่ 75
เจ้าของ-ออกแบบ: คุณหนุ่ม

หน้าต่างบานกระทุ้งแบบคว่ำ

ภาพจาก:   นิตยสาร room ฉบับที่ 136
เจ้าของ: คุณจีรวรรณ์ วัฒนาพันธ์ และคุณพรพิพัฒน์ เทียนชัยกุล
ออกแบบ: GooodLux Design Consultancy

อ่านต่อ: LOFT OF LOVE ลอฟต์ละมุนรัก

ภาพจาก : นิตยสาร room ฉบับที่ 160
เจ้าของ: คุณพรพจน์-คุณณธษา กาญจนหัตถกิจ
ออกแบบ: Studio Point Line Plane

*ข้อควรคำนึง

เนื่องจากหน้าต่างบานกระทุ้งเป็นบานเปิดค้างที่ไม่สามารถพับเรียบไปกับผนังได้ ในการติดตั้งจึงควรคำนึงถึงข้อจำกัดด้านพื้นที่ใช้สอยบริเวณด้านนอกหน้าต่างด้วย


อ่านต่อ : ความหมายของ ฟาซาด องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม

รู้หรือไม่ ประตูแบบไหนที่เรียกว่า บานเฟี้ยม

คาน – ตง โครงสร้างที่ใช้รับน้ำหนักในงานสถาปัตยกรรม

ทำความรู้จัก CONTEXT บริบทในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม