คำถามจากกระทู้พันทิป
เรื่องการ ทาสีบ้าน ยังคงเป็นงานช่างอีกประเภทที่เจ้าของบ้านส่วนใหญ่เลือกที่จะลงมือเอง ด้วยหลายปัจจัยที่เห็นว่าการทาสีบ้านเองนั้นเป็นเรื่องง่าย สามารถทำเองได้ บวกกับปัญหาเรื่องช่างฝีมือที่หาได้ยาก ซึ่งข้อคิดเห็นดังกล่าวไม่ผิดเสียทีเดียว แต่หากอยากทาสีบ้านให้ได้คุณภาพ สีเรียบเนียนสวยทนนาน เหมือนมีช่างมืออาชีพทาสีให้นั้นคงต้องเรียนรู้ขั้นตอนต่าง ๆ กันอย่างถูกต้อง
การ ทาสีบ้าน นอกจากอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้สำหรับทาสีแล้ว สิ่งที่เจ้าของบ้านต้องรู้มี 3 ส่วนด้วยกันคือ 1. การเลือกชนิดของสีทาบ้าน 2. ขนาดพื้นที่ทาสี 3. ขั้นตอนการทาสีที่ถูกต้อง ซึ่งข้อนี้มีความสำคัญมาก ๆ ผนังบ้านจะสวยทนทาน ไม่ลอกล่อนขึ้นราหรือไม่ ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้เป็นสำคัญ
รู้จักสีทาบ้าน
สีทาบ้านที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั้งสีทาภายในและสีทาภายนอก เป็นสีประเภทสีน้ำอะคริลิก (Acrylic Paint) หรือเรียกอีกชื่อว่าสีพลาสติก เนื่องด้วยส่วนผสมในเนื้อสีทำมาจากอะคริลิก ผสมกับผงสี น้ำ และเคมีอื่น ๆ จึงถูกเรียกขานในหมู่ช่างว่าสีน้ำพลาสติกด้วย เนื้อสีน้ำอะคริลิกเกิดจากโมเลกุลขนาดเล็กยึดเกาะกันแน่นเป็นเนื้อฟิล์มจึงมีความเนียนเรียบและยึดเกาะกับวัสดุอื่น ๆ ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นคอนกรีต อิฐก่อ หรือไฟเบอร์ซีเมนต์ ในท้องตลาดสีน้ำอะคริลิกแบ่งเกรดตามคุณภาพและราคาคือ เกรดธรรมดา ที่มีอายุใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 3-5 ปี หลังจากนั้นสีจะเริ่มเสื่อมสภาพและหลุดล่อนเป็นฝุ่นผง ส่วนเกรดพรีเมียม จะมีอายุการใช้งานประมาณ 5-7 ปี เกรดอัลตร้าพรีเมียม มีอายุการใช้งานถึง 15 ปีเลยทีเดียว โดยสีเกรดอัลตร้าพรีเมียมจะมีคุณสมบัติที่ทนทานนานกว่า ยึดเกาะ และติดทนผนังได้นานกว่า รวมถึงมีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมอย่างป้องกันเชื้อราคราบตะไคร่น้ำ ป้องกันยูวี ทำความสะอาดง่าย หรือปราศจากสารปรอทและตะกั่วที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ราคาสีเกรดอัลตร้าพรีเมียมก็สูงกว่าเกรดธรรมดาด้วยเช่นกัน
การเลือกเกรดของสีทาบ้าน จึงควรพิจารณาจากคุณสมบัติที่ตรงกับโจทย์ที่เราต้องการเป็นหลัก ซึ่งข้อนี้เจ้าของบ้านจะต้องพิจารณาด้วยตนเองโดยใช้ปัจจัยรอบข้างเป็นตัวช่วยในการตัดสิน เช่น ทำเลที่ตั้งของบ้าน ซึ่งอาจจะตั้งอยู่ใกล้ทะเลที่มีสภาพอากาศแปรปรวน ต้องเจอกับลมแรง แดดแรง และมีคราบเกลือในอากาศ ควรเลือกใช้สีเกรดอัลตร้าพรีเมียม ที่สามารถทนต่อสภาพอากาศเหล่านี้ และช่วยป้องกันความร้อนให้บ้านได้ดี ลดการใช้พลังไฟฟ้า ประหยัดค่าไฟ รวมทั้งคุณสมบัติเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องปราศจากสารปรอทและตะกั่ว ปลอดสาร VOCs เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้อยู่อาศัย
นอกจากนี้สีน้ำอะคริลิก ยังมีเนื้อฟิล์มให้เลือกทั้งแบบเงา (Sheen) กึ่งเงา (Semi-gloss) และด้าน (Matt) ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกัน เช่น แบบเงา กึ่งเงา จะเช็ดทำความสะอาดง่าย แต่แบบด้านจะให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติมากกว่า การเลือกเนื้อสีจึงขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ
คำนวณขนาดพื้นที่ทาสีบ้าน
หลังจากเลือกประเภทของสีที่จะใช้ทาผนังบ้านแล้ว มาถึงอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญคือการคำนวณพื้นที่ทาสีบ้าน เพื่อให้ทราบปริมาณของสีที่ต้องใช้ และประเมินค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมีสูตรการคำนวณดังนี้
- หาพื้นที่ทั้งหมดของผนังห้องทั้ง 4 ด้าน โดยใช้สูตร [(กว้าง + ยาว) x สูง] x 2 = พื้นที่ทั้งหมด
- หักลบพื้นที่ประตูหน้าต่างโดยคำนวณหาพื้นที่ใช้สูตร พื้นที่ทั้งหมด – พื้นที่ประตูหน้าต่าง กว้าง x สูง = พื้นที่ทาสี
- เมื่อได้จำนวนพื้นที่ทาสีแล้ว ให้นำค่าที่ได้มาคำนวณหาปริมาณของสีที่ต้องใช้ดังนี้ พื้นที่ทาสี ÷ พื้นที่ใช้งานต่อตารางเมตรของสี (สี 1 แกลลอนใช้งานได้ประมาณ 30 ตร.ม. / เที่ยว)
ตัวอย่างเช่น
พื้นที่ทาสีทั้งหมด 50 ตร.ม. ÷ 30 = 1.66 แกลลอน
เท่ากับว่า พื้นที่ 50 ตารางเมตร ต้องใช้สีประมาณ 1.6 แกลลอนต่อการทา 1 เที่ยว กรณีทา 2 เที่ยวให้คูณ 2 เข้าไปจะได้จำนวนสีที่ต้องใช้ ซึ่งในการเลือกซื้อสีให้เปรียบเทียบปริมาณที่ต้องใช้กับปริมาณที่จำหน่ายในท้องตลาด ดังนี้
– สีขนาด 1 แกลลอน ปริมาณ 3.785 ลิตร
– สีขนาด 2.5 แกลลอน ปริมาณ 9.46 ลิตร
– สีขนาด 5 แกลลอน ปริมาณ 18.925 ลิตร
ขั้นตอนการทาสีแบบช่างมืออาชีพ
หลังจากเตรียมสีและอุปกรณ์ทาสีไว้พร้อมแล้ว มาถึงขั้นตอนการทาสีแบบมืออาชีพ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพื้นผิวปูน
การเตรียมพื้นผิวปูนเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ เพราะมีผลโดยตรงกับคุณภาพงานสี แต่มักจะถูกมองข้ามไปเป็นอันดับแรกเสมอ ในขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบสภาพผิวผนังปูนว่าอยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับทาสีหรือไม่โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ให้ทำการทาสีหลังจากงานฉาบปูน อย่างน้อย 28 วัน ค่าความชื้นและค่าด่างในเนื้อปูนจะลดลง ให้ทำการตรวจสอบพื้นผิวผนังว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ทาสีได้หรือไม่
- ตรวจสอบค่าความชื้น โดยเครื่องมือวัดความชื้นผนัง (Moisture Meter) โดยเครื่อง Kett รุ่น HI-520 ชนิดทาบจะแสดงผลไม่เกิน 6% ชนิดเข็มจะแสดงผลไม่เกิน 14 % โดยเครื่อง Protimeter Mini
- ตรวจสอบค่าด่างบนพื้นผิว โดยใช้กระดาษลิสมัต (Litmus Paper) ค่า ph ที่เหมาะสมคือ ph 8 ซึ่งจะแสดงผลบนกระดาษลิสมัตเป็นสีเขียว
เมื่อตรวจสอบพื้นผิวครบทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว ให้สำรวจภาพโดยรวมของพื้นผิว โครงสร้างอาคาร รอยแตกลายงา หากพบความบกพร่องให้ซ่อมแซมก่อนเข้าสู่ขั้นตอนของการทาสีรองพื้นและทาสีทับหน้า
ขั้นตอนที่ 2 ทาสีรองพื้น
ขั้นตอนนี้จะช่วยป้องกันฟิล์มสีทับหน้าจากความเป็นด่างในผนังปูนและสร้างการยึดเกาะระหว่างผิวปูนกับสีทับหน้า โดยทาสีรองพื้นด้วยสี Nippon Paint 5100 Wall Sealer เป็นสีรองพื้นปูนใหม่ สูตรน้ำ มีคุณสมบัติทนต่อสภาพอากาศ ทนคราบเกลือและคราบด่าง ยึดเกาะดี ช่วยในการกลบพื้นผิว และผนังเรียบเนียน รวมถึงป้องกันไม่ให้สีทับหน้าซีดจาง โดยทาทั่วผนัง 1 เที่ยว รอให้แห้งสนิท
ขั้นตอนที่ 3 ทาสีทับหน้า
การทาสีทับหน้านอกจากจะสร้างสีสันที่สวยงามให้กับผนังบ้านแล้ว สีทับหน้ายังทำหน้าที่ปกป้องพื้นผิวจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งแสงแดด ความชื้น ฝุ่น และสารเคมีอื่น ๆ โดยเลือกทาสีทับหน้าด้วยสี Nippon Paint Weatherbond ที่มีเทคโนโลยีพิเศษ Special Cross Link จากประเทศญี่ปุ่น ที่เชื่อมเม็ดสีให้ประสานกับโมเลกุลของกาวให้ยึดเกาะกันแน่นทำให้ฟิล์มสีเรียบเนียน ทนต่อรังสียูวีได้มากถึง 94.3% สีไม่ซีดจาง ไม่เสื่อมเป็นฝุ่นผง และมีอายุการใช้งานได้นานถึง 15 ปี โดยทาสีทับหน้า 2 รอบ
Tips เทคนิคทาสีสม่ำเสมอ
ในขั้นตอนการทาสีทับหน้าให้เนื้อสีกระจายตัวสม่ำเสมอ รอบแรกให้ทาเป็นตัวอักษร W โดยไม่ต้องยกแปรงลูกกลิ้งจนกว่าสีติดแปรงจะหมด ลงน้ำหนักแปรงเบา ๆ แต่ทารอบ 2 ให้ทาเป็นตัว M แล้วกดน้ำหนักที่ลูกกลิ้งให้มากขึ้น หากเลือกสีเกรดอัลตร้าพรีเมียมและพรีเมียมจะช่วยให้ทาสีได้เนียนเรียบง่ายขึ้น ลดปัญหาผนังเป็นรอยด่างไม่สม่ำเสมอได้
ระบบสีทาภายนอก นิปปอนเพนต์
สีรองพื้นปูนใหม่ นิปปอนเพนต์ 5100 วอล ซีลเลอร์ (Nippon Paint 5100 Wall Sealer)
สีทับหน้า นิปปอนเพนต์ เวเธอร์บอนด์ เฟลกซ์ (Nippon Paint Weatherbond Flex)
สีทับหน้า นิปปอนเพนต์ เวเธอร์บอนด์ แอดวานซ์ (Nippon Paint Weatherbond Advance)