อะไรที่ดีอยู่แล้วก็ไม่ต้องเปลี่ยนมัน หลักการนี้ใช้ได้กับทุกสิ่งในโลก บนข้อแม้ที่ว่าถ้าเปลี่ยนแล้วดีขึ้น แบบนั้นเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยน หากไม่มั่นใจจงเก็บไว้ ใจเย็นๆ ค่อยๆ คิดไปทีละน้อย
กับการรีโรเวตอาคารก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะใครที่คิดว่าจะ รีโนเวทตึกแถว หรืออาคารเก่าที่ตัวเองซื้อเก็บเอาไว้หรือมีทรัพย์สินอยู่เป็นทุนเดิมตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เพื่อปรับเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้ประกอบธุรกิจอื่น ๆ สิ่งที่ดีอยู่แล้วอย่างโครงสร้าง พื้น หรือผนังเดิม เราสามารถเลือกบางส่วนเก็บไว้เพื่อเตือนความทรงจำ และทุบออกบางส่วนเพื่อเพิ่มพื้นที่โปร่งโล่งได้มากขึ้น
นี่คือ 3 เคสตัวอย่างตึกแถวที่ได้รับการรีโนเวตใหม่อย่างมีเหตุผล และสะท้อนว่าทำไมสถาปนิกจึงเลือกแก้ปัญหาความทึบตันของตึกแถวด้วยการทุบพื้นและผนังบางส่วน นั่นเพราะวิธีดังกล่าวช่วยให้พื้นที่ภายในตึกแถวเก่าดูโปร่งโล่งขึ้นได้จริง
ทั้งนี้แล้วการรีโนเวตตึกแถวเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ก่อนรีโนเวตควรศึกษากฏหมายให้ชัดเจน ทางที่ดีควรมีสถาปนิกและวิศวกรเป็นที่ปรึกษาสำหรับโครงการนั้น ๆ โดยที่ยังสามารถเก็บไอเดียที่เรานำเสนอนี้ไว้เป็นกรณีศึกษา หรือประยุกต์ใช้กับตึกแถวของคุณได้เช่นกัน
ออฟฟิศใหม่ของทีม Creative Crews ผู้เลือกที่จะรีโนเวตตึกแถวให้ยังคงเป็นตึกแถว เหล็กดัดขึ้นสนิม หน้าต่างบานเกล็ด ประตูเหล็กยืด และร่องรอยเดิมบนผนังถูกเก็บรักษาไว้ เพียงทุบพื้นและผนังบางส่วนเท่าที่จำเป็น พร้อมต่อเติม ตกแต่ง แบ่งพื้นที่บางส่วนด้วยวัสดุธรรมดา ๆ แต่ใช้งานได้จริง จนออกมาเป็นผลลัพธ์เชิงทดลองจากประสบการณ์ที่พวกเขาสั่งสมมาตลอดการทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม
CC Office มีพื้นที่ใช้สอยรวม 650 ตารางเมตร โดยฟังก์ชันในแต่ละชั้นแบ่งออกเป็นพื้นที่ปล่อยเช่าบนชั้น 1 และชั้นลอย (Mezzanine), ส่วนของห้องประชุม มุมปาร์ตี้บาร์บีคิว และพื้นที่ปลูกต้นไม้บนชั้น 2, ส่วนของสำนักงานบนชั้น 3-5 ที่รองรับพนักงานกว่า 30 ชีวิตได้อย่างไม่อึดอัด และชั้น 6 ชั้นบนสุดของตึกปรับปรุงเป็นส่วนห้องพักสำหรับพนักงานประจำ และดาดฟ้า
หนึ่งในไอเดียน่าสนใจของออฟฟิศแห่งนี้ คือพื้นที่บนชั้น 2 ของอาคาร ที่ออกแบบในลักษณะคอร์ตยาร์ด เปิดเพดานสูงโปร่งแบบดับเบิ้ลวอลลุ่ม พร้อมปลูกต้นลำดวน ให้กลายเป็นมุมสังสรรค์บาร์บีคิวในพื้นที่กึ่งกลางแจ้ง ซึ่งความสูงโปรงของเพดานยังทำให้สำนักงานชั้น 3 มีมุมมองที่สามารถเห็นยอดของต้นลำดวนบนชั้น 2 ได้อีกด้วย
- ชมวิดีโอบทสัมภาษณ์ Creative Crews ผู้เจ้าของและออกแบบ CC OFFICE ในรายการ StudioVisit by room ได้ที่นี่
เดิมทีนั้นที่นี่เป็นตึกแถวสองคูหาติดกันตามรูปแบบที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ชุมชน แต่เนื่องจากเจ้าของพื้นที่ตั้งใจจะให้ที่นี่เป็นมากกว่าโฮลเทลปกติธรรมดา จึงเพิ่มฟังก์ชันของคาเฟ่ โคเวิร์คกิ้งสเปซ และพื้นที่แสดงงานศิลปะเข้ามาไว้ด้วยกันในพื้นที่เดียว แล้วจึงตัดสินใจแก้ปัญหาคู่ใจของตึกแถวในเรื่องความอึดอัดและแสงธรรมชาติที่ส่องไม่ถึง เพื่อสร้างสเปซภายในให้เอื้อต่อการใช้งานต่าง ๆ
สำนักงานสถาปนิกไอดิน ผู้รับหน้าที่พลิกบทบาทตึกแถวเก่าสู่ที่พักและพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ ตัดสินใจทุบผนังและพื้นออก 1 ส่วน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด แล้วกรุกระจกในผนังฝั่งนั้นตลอดทั้งแนว ผลลัพธ์ที่ได้คือสเปซภายในดูโปร่งสบายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความทึบตันในแต่ละชั้นจากระดับความสูงเดิมของตึกอีกด้วย
- ดูการรีวิวโรงแรมป้าแพร่งฉบับวีดีโอจากรายการ DESIGN REVIEW by room ได้ที่นี่
- ชมวิดีโอบทสัมภาษณ์ IDIN Architects ผู้ออกแบบโรงแรมป้าแพร่งในรายการ StudioVisit by room ได้ที่นี่
เดิมอาคารแห่งนี้ถูกสร้างเป็นเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ก่อนได้รับการปรับปรุงให้เป็นโรงแรมสูง 8 ชั้น สุดเท่ในชื่อ IR-ON hotel มีพื้นที่ใช้สอยราว 1,000 ตารางเมตร Hypothesis ผู้ออกแบบนำแนวคิดการนำเสนอความเป็นไทยบวกความทันสมัย มาสะท้อนผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ดูดิบเท่ด้วยการทุบโครงสร้างผนังบางส่วนทิ้ง จนทำให้เกิดสเปซที่เปิดโปร่งและน่าสนใจระหว่างชั้นของอาคาร
จากฟาซาดของอาคารด้านหน้าที่ได้แรงบันดาลใจจากลูกกรงเหล็กดัดของบ้านไทยสมัยโบราณ ผสมผสานกับการขึ้นแพตเทิร์นของโครงเหล็กรูปทรงเรขาคณิตทำสีธรรมชาติแบบสนิม และเพิ่มสวนแนวตั้ง ทำให้เกิดสมดุลระหว่างธรรมชาติกับสถาปัตยกรรม ส่งต่อมาถึงพื้นที่ภายในส่วนล็อบบี้เกิดจากการทุบโครงสร้างผนังอาคารเดิม เหลือไว้เพียงเสาและคาน ทำให้เกิดดับเบิลสเปซที่เชื่อมมุมมองทะลุถึง Common Room ซึ่งเป็นห้องอเนกประสงค์กึ่ง Co-Working Space บนชั้นสองอีกด้วย
พร้อมกันนี้ยังเพิ่มความน่าสนใจด้วยการนำงานประติมากรรมเมฆเหล็กจากบริเวณโถงกลาง ช่วยสร้างมิติให้แก่พื้นที่ ส่วนช่องเปิดบริเวณชั้นล่างใช้เป็นกระจกใสบานใหญ่ เพื่อให้เกิดมุมมองที่โปร่งโล่ง แสงสว่างจากภายนอกส่องถึงด้านใน และมองเห็นความคลื่อนไหวของกิจกรรมภายนอกและภายในอย่างชัดเจน
- ชมวิดีโอบทสัมภาษณ์ Hypothesis ผู้ออกแบบโรงแรม IR-ON ในรายการ StudioVisit by room ได้ที่นี่
PA PRANK และ IR-ON-hotel เป็นส่วนหนึ่งในหนังสือ “100 Best Design Small Hotels & Hostels” หนังสือ 100 Best Design Series เล่มที่ 2 ต่อจาก “100 Best Design Cafes” ที่นอกจากคุณจะได้พบกับ โรงแรมไซส์เล็กสำหรับนักท่องโลกทั้งหมด 100 แห่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 45 โรงแรมขนาดเล็กแต่ไอเดียล้น 40 โฮสเทลขนาดกะทัดรัดแต่มีพื้นที่ส่วนกลางแบบจัดเต็ม และ 15 ประเภทที่พักอื่น ๆ อย่างโฮมสเตย์ เกสต์เฮ้าส์ และรีสอร์ตขนาดเล็ก เนื้อหาข้างในยังมีคู่มือเบื้องต้นสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจโรงแรม และคู่มือการออกแบบโรงแรมขนาดเล็ก เพื่อช่วยต่อยอดแบบร่างโรงแรมในฝันของคุณให้สำเร็จได้ดังใจ พบกันได้แล้วทุกแผงหนังสือชั้นนำวันนี้
100 Best Design Small Hotels & Hostels
เหลือเวลาอีกแค่ 3 วันเท่านั้น สำหรับการสั่งจองหนังสือ “100 Best Design Small Hotels & Hostels” ล่วงหน้าในราคาพิเศษ 420 บาท (ลด 15% จากราคาปกติ 495 บาท)ในหนังสือ 100 Best Design Series เล่มที่ 2 ต่อจาก “100 Best Design Cafes” นี้นอกจากคุณจะได้พบกับ โรงแรมไซส์เล็กสำหรับนักท่องโลกทั้งหมด 100 แห่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 45 โรงแรมขนาดเล็กแต่ไอเดียล้น 40 โฮสเทลขนาดกะทัดรัดแต่มีพื้นที่ส่วนกลางแบบจัดเต็ม และ 15 ประเภทที่พักอื่น ๆ อย่างโฮมสเตย์ เกสต์เฮ้าส์ และรีสอร์ตขนาดเล็ก เนื้อหาข้างในยังมีคู่มือเบื้องต้นสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจโรงแรม และคู่มือการออกแบบโรงแรมขนาดเล็ก เพื่อช่วยต่อยอดแบบร่างโรงแรมในฝันของคุณให้สำเร็จได้ดังใจสั่งจองได้ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2562 เท่านั้น เริ่มจัดส่งวันที่ 18 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป สำหรับผู้ที่สนใจสามารถอินบ๊อกซ์มาได้เลยครับ#100BestDesignSmallHotels
Posted by room magazine on Monday, October 7, 2019