เมื่อเอ่ยถึงโครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลายคนคง นึกถึงไม้ดอกเมืองหนาวสีสดใสที่จัดไว้อย่างสวยงาม เพื่อให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูป การดื่มด่ำกับอากาศ หนาวเย็น พร้อมจิบกาแฟหอมกรุ่น และช็อปปิ้ง ของที่ระลึกก่อนกลับบ้าน กล้วยไม้รองเท้านารี
ครั้งนี้เราจะพาไปชม กล้วยไม้รองเท้านารี ที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ใน พระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับ เกียรติจาก อาจารย์น้อย – คุณธีรพันธ์ โตธิรกุล ผู้จัดการส่วนงานวิจัยและพัฒนาพืช มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เล่าถึงความเป็นมาของโครงการนี้ให้ฟังว่า “โครงการนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากเมื่อครั้งสมเด็จย่า เสด็จทอดพระเนตรพื้นที่ป่าบนดอยตุง ทรงพบว่า ถูกทำลายจนเหลือน้อยมาก ทำให้พืชพรรณต่างๆ โดยเฉพาะกล้วยไม้รองเท้านารีดอยตุงเกือบสูญพันธุ์ ไป พระองค์ท่านจึงรับสั่งว่า จะพลิกฟื้นพื้นที่แห่งนี้ ให้กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมให้ได้ และก่อตั้ง โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่อง มาจากพระราชดำริ เมื่อปีพ.ศ. 2531 บนเนื้อที่ ประมาณ 93,515 ไร่”
โครงการกล้วยไม้รองเท้านารีเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 เริ่มจากรวบรวมและคัดเลือกรองเท้านารีชนิดแท้จากแหล่งต่างๆ มาปลูกเลี้ยงที่นี่ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ดอยตุงมีกล้วยไม้รองเท้านารีที่หลากหลาย สำหรับนำมาพัฒนาพันธุ์ให้คนทั่วไปสามารถปลูกเลี้ยงและทำเป็นการค้าได้ เดิมอาจารย์น้อยมีประสบการณ์ด้านการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวเท่านั้น แต่ก็หันมาชอบและหัดปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ โดยมีดร.อุทัย จาณรศรีเป็นผู้สอนและให้คำแนะนำ โดยเฉพาะการปลูกกล้วยไม้รองเท้านารี
“เมื่อก่อนผมเลี้ยงรองเท้านารีไว้บ้าง พอมาทำงานที่นี่ก็เอาติดตัวมาด้วย มีวันหนึ่งรองเท้านารีคางกบ ออกดอก ดร.อุทัยก็หยิบต้นขึ้นมาให้ดู ปรากฏว่าต้นมีรากอยู่นิดเดียว นั่นแสดงว่าเราใช้วัสดุปลูกไม่เหมาะสม ท่านเลยแนะนำว่าต้องปลูกแบบไหนอย่างไร ตอนนี้ผมก็ยังต้องเรียนรู้ว่านิสัยของแต่ละชนิดเป็นอย่างไร จากที่ ไม่รู้จักเลยก็ทำให้รู้เรื่องมากขึ้นในระดับหนึ่งรองเท้านารีแต่ละชนิดมีนิสัยแตกต่างกัน โดยเฉพาะการเลือกใช้วัสดุปลูก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการเลี้ยง กล้วยไม้ชนิดนี้ให้สำเร็จ ลองผิดลองถูกกันอยู่ 2 -3 ปี จนได้สูตรที่ใช้ปลูกกันในปัจจุบัน เมื่อก่อนใช้เศษกระถางดินเผาที่ร่อน จากเครื่องโม่ ผสมกับหินเกล็ด เปลือกสน และถ่าน แต่ตอนนี้หันมาใช้เม็ดดินเผาผสมกับเปลือกสนแทน”
แต่บางทีก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับนิสัยของคนงานที่ช่วยดูแล อย่างต้นที่เพิ่งออกจากขวด ถ้าคนงานขยัน รดน้ำบ่อยก็ใช้เม็ดดินเผา แต่ถ้ารดน้ำน้อยก็ใช้มะพร้าวสับเล็ก ซึ่งต้องเปลี่ยนเครื่องปลูกใหม่บ่อยๆ ไม่ เช่นนั้นจะตายหมด “หลายคนมาเห็นรองเท้านารีที่นี่มักคิดกันว่าดอยตุงอากาศดีเลยเลี้ยงได้งาม อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ต้องบอกว่าเราใช้เวลาทดลองหลายปีกว่าจะประสบความสำเร็จ เมื่อสถานที่และสภาพอากาศต่างกัน วิธีการ เลี้ยงก็ต้องต่างกันด้วย คนทั่วไปจะปลูกกล้วยไม้ก็ต้องหาพื้นที่ที่เหมาะกับกล้วยไม้ชนิดนั้นก่อน ที่เราทำคือ เลือกต้นไม้ให้เหมาะกับชาวบ้านและพื้นที่ที่นี่เป็นหลัก”
โครงการพัฒนาดอยตุงฯ มีกล้วยไม้รองเท้านารีลูกผสมใหม่ๆ มากมายที่เกิดจากฝีมือของอาจารย์น้อย “ตอนนี้เรามีรองเท้านารีลูกผสมหลายต้น แต่มีอยู่ 3 ต้นที่โครงการตั้งชื่อ ‘สังวาลย์’ตามพระนามเดิม ของสมเด็จย่า คือ รองเท้านารีพริ้นเซสสังวาลย์(Paphiopedilum ‘Princess Sangwan’) รองเท้านารี สังวาลย์แอนนิเวอร์ซารี่ ปีที่ 108 (P. ‘Sangwan Anniversary 108th’) และรองเท้านารีสังวาลซีรีเบรชั่น ปีที่ 108 (P. ‘Sangwan Celebration 108th’)”
เกร็ดความรู้
1.กล้วยไม้รองเท้านารีพริ้นเซสสังวาลย์(Paphiopedilum ‘Princess Sangwan’) มีที่มาจากเมื่อครั้งที่สมเด็จย่าเสด็จฯ ไปยังหมู่เกาะอ่างทอง และขึ้นไปทอดพระเนตรกล้วยไม้รองเท้านารีช่องอ่างทองชนิดที่ใช้เป็นต้นแม่พันธุ์ของลูกผสม สายพันธุ์นี้ในธรรมชาติ ส่วนต้นพ่อพันธุ์ก็คือกล้วยไม้รองเท้านารีดอยตุง (P. charlesworthii แห่งนี้ เมื่อลูกผสมที่ได้มีลักษณะดีให้ดอกสวยและยังไม่เคยมีใครเคยทำมาก่อน ทางมูลนิธิจึงจดทะเบียนชื่อตาม ) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่เทือกเขา พระนามเดิมของพระองค์ท่านเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
2.กล้วยไม้รองเท้านารีสังวาลย์แอนนิเวอร์ซารี่ ปีที่ 108 (P. ‘Sangwan Anniversary 108th กล้วยไม้รองเท้านารีดอยตุงกับกล้วยไม้รองเท้านารีโรสิตา ’) ลูกผสมระหว่าง (P. ‘Rosita’) จดทะเบียนตั้งชื่อเมื่อวันที่ พ.ศ. 2551 เนื่องในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพครบ 29 สิงหาคม 108 ปีของสมเด็จย่า
3.รองเท้านารีสังวาลซีรีเบรชั่น ปีที่ 108 (P. ‘Sangwan Celebration 108th ดอยตุงและกล้วยไม้รองเท้านารีโฮลเดนิอาย ’) ลูกผสมระหว่างกล้วยไม้รองเท้านารี (P. ‘Holdenii’) จดทะเบียนตั้งชื่อเมื่อวันที่ ในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพครบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เนื่อง 108 ปีของสมเด็จย่าเช่นกัน
เรื่อง อุไร จิรมงคลการ
ภาพ ธนกิตติ์ คำอ่อน