สวนสไตล์ญี่ปุ่น

ความสุขในสวนญี่ปุ่นที่มีบ่อปลาเป็นหัวใจหลัก

สวนสไตล์ญี่ปุ่น
สวนสไตล์ญี่ปุ่น

แก่นเเท้ของธรรมชาติ ปรัชญา เเละการดำรงของวัฒนธรรมอันลึกซึ้ง ก่อเกิดเป็นงานศิลปะในเเขนงต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นคติที่มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ในเเถบเอเชีย จึงไม่แปลกที่เเม้ประเทศไทยจะมีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เเต่เรายังซาบซึ้งเเละหลงใหลในศิลปะญี่ปุ่นได้ โดยเฉพาะด้านการจัดสวน

DESIGNER DIRECTORY : เจ้าของ : คุณชัยพัฒน์ – คุณเกศณี สุนทรมาลัย / ตกแต่งสวน : คุณสุภัสเศรษฐ์ วิละรัตน์

 

 

 

สวนสไตล์ญี่ปุ่น
ลักษณะการจัดวางและการใช้องค์ประกอบที่ดูโปร่งโล่งของสวนสไตล์ญี่ปุ่นส่งเสริมให้แม้เป็นพื้นที่จำกัด ก็ยังดูสวยแบบสบายตา

คุณชัยพัฒน์ – คุณเกศณี สุนทรมาลัย เจ้าของ สวนญี่ปุ่น ในบ้านจัดสรรในย่านตลิ่งชันหลังนี้ ได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่ข้างบ้านเป็นสวนญี่ปุ่น ซึ่งมาจากความประทับใจในธรรมชาติของลำธารและน้ำตกที่ทั้งคู่ได้พบเห็นเมื่อครั้งไปท่องเที่ยว ภายใต้การออกแบบและจัดสวนของ คุณมัช-สุภัสเศรษฐ์ วิละรัตน์ นักจัดสวนชื่อดังผู้เชี่ยวชาญการจัดสวนสไตล์ญี่ปุ่นในประเทศไทย

•10 ข้อควรรู้…เลือกใช้พรรณไม้ให้ได้บรรยากาศแบบ สวนญี่ปุ่น
•เนื้อหาสวนญี่ปุ่นในเมืองไทย
•บ้านลอฟต์สุดเท่ ในสวนญี่ปุ่น Living in Balance

โดยออกแบบให้พื้นที่สวนตั้งแต่ลานจอดรถมองออกไปยังสวนหินบริเวณหน้าบ้านที่เล่นกับผิวสัมผัสและสีสันของหินหลายชนิด ร่วมด้วยองค์ประกอบที่สื่ออารมณ์ของสวนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ทั้งตะเกียงหินและชิชิโอโดชิ แทรกด้วยไม้คลุมดินที่ปลูกให้เจริญเติบโตระหว่างก้อนหินอย่างเป็นธรรมชาติ มีน้ำเต้าต้นรูปทรงอ่อนช้อยยืนต้นเป็นจุดเด่นและลดทอนความแข็งของสวนหิน ก่อนเดินเข้าไปสู่สวนบริเวณด้านข้างที่อยู่ถัดไป

สวนสไตล์ญี่ปุ่น
องค์ประกอบที่นิยมใช้ในสวนญี่ปุ่นอย่างตะเกียงหินและตัวไล่กวาง หรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ชิชิโอโดชิ” ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลจาก

เดิมพื้นที่บริเวณนี้มีบ่อน้ำอยู่แล้ว แต่เราจำเป็นต้องทุบและตกแต่งทำใหม่ โดยหลักการคิดของเราก็คือต้องการให้เป็นบ่อในแนวยาวลาดตามลักษณะที่สอดคล้องกับพื้นที่รอบบ้านที่แคบและจำกัด มีน้ำตกอยู่ที่มุมของบ้านเป็นจุดนำสายตาและสามารถมองเห็นได้จากหลายมุมมอง ตัวน้ำตกมีขนาดไม่สูงมากนักราว เมตรกว่า ไหลลงไปยังบ่อน้ำที่เป็นทางยาวคล้ายลำธารในธรรมชาติ ให้ความรู้สึกเรียบนิ่งและผ่อนคลาย แม้ได้ฟังแค่เพียงเสียงน้ำ” คุณมัชเล่าถึงการปรับปรุงบ่อน้ำและน้ำตกให้ฟัง

สวนสไตล์ญี่ปุ่น
คุณชัยพัฒน์และคุณเกศณี สุนทรมาลัย กับมุมระเบียงซึ่งสามารถชมสวนได้โดยรอบ ทั้งน้ำตก ลำธาร รวมถึงปลาที่เลี้ยงไว้
“การมีบ่อปลาหมายถึงการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต ทำให้เวลาที่เรามอง
มานั่งดื่มกาแฟ หรือทำกิจกรรมอะไรก็ดี เราจะรู้สึกมีความสุข มองไปแล้วเห็นปลาหลากสีสันแหวกว่ายไปมา
แม้ขณะที่อยู่คนเดียวก็ตาม แต่ก็เหมือนกับว่าเรามีเพื่อน
ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน และได้ใช้ความคิดหรือจินตนาการอยู่กับสวน”

 

ข้างน้ำตกออกแบบเป็นระเบียงไม้ที่ยื่นออกไปในบ่อน้ำ เชื้อเชิญให้ผู้ที่เข้ามาชมสวนหยุดพักหรือนั่งเล่นชมบรรยากาศของสวนได้ โดยเฉพาะมุมที่มองเห็นปลาคาร์ป ปลากระเบน และปลาชนิดอื่นๆอย่างใกล้ชิด ซึ่งคุณชัยพัฒน์เริ่มเลี้ยงตั้งแต่ตอนที่อยู่บ้านหลังเก่า ถัดไปยังมีก้อนหินที่เรียงเป็นทางเดินธรรมชาติเชื่อมไปยังระเบียงไม้อีกจุดหนึ่งที่อยู่บริเวณข้างบ้าน สร้างความรู้สึกในการชมสวนที่แตกต่างและทำให้พื้นที่สวนทั้งหมดเดินเชื่อมถึงกันได้ง่าย

สวนสไตล์ญี่ปุ่น
น้ำตกช่วยสร้างจุดเด่นให้สวนภูเขา โดยสวนสไตล์ญี่ปุ่นจะไม่ปลูกต้นไม้โดยรอบให้ขึ้นทึบเกินไป แต่ต้องโชว์ให้เห็นก้อนหิน น้ำ หรือแสงที่สะท้อนกับน้ำได้อย่างชัดเจน

“การมีบ่อปลาหมายถึงการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต ทำให้เวลาที่เรามอง มานั่งดื่มกาแฟ หรือทำกิจกรรมอะไรก็ดี เราจะรู้สึกมีความสุข มองไปแล้วเห็นปลาหลากสีสันแหวกว่ายไปมา แม้ขณะที่อยู่คนเดียวก็ตาม แต่ก็เหมือนกับว่าเรามีเพื่อน ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน และได้ใช้ความคิดหรือจินตนาการอยู่กับสวน ซึ่งถ้าดูแลไม่ดีจะไม่มีทางได้เห็นน้ำใสแบบนี้ ดังนั้นคุณภาพของการกรองใบไม้ที่หล่นต้องดี เราต้องคอยช้อนคอยเก็บเพื่อจะรักษาสภาพน้ำให้คงอยู่แบบนี้ ทั้งหมดที่พูดมาต้องใช้ใจรักจริงๆ” คุณชัยพัฒน์เล่า

สวนสไตล์ญี่ปุ่น

สวนสไตล์ญี่ปุ่น

เมื่อความชอบในรูปแบบสวนญี่ปุ่นและความสุขจากการได้ดูปลาแหวกว่ายในบ่อน้ำสามารถเกิดขึ้นได้จริงในพื้นที่สวนขนาดเล็ก คุณชัยพัฒน์ได้เอ่ยทิ้งท้ายถึงการใช้ชีวิตของเขาว่า “หลังจากจัดสวนเสร็จตอนนี้ไม่ไปไหนเลย อยากนั่งทำงานอยู่บ้านและชมสวน เพราะเรามีความสุขที่ได้มีสวนและมีสิ่งที่ตรงตามความต้องการของเรา”

 

เจ้าของ: คุณชัยพัฒน์ – คุณเกศณี สุนทรมาลัย

ออกแบบ – จัดสวน : คุณสุภัสเศรษฐ์ วิละรัตน์

เนื้อหาจากนิตยสารบ้านและสวนเดือน ธ.ค.62

สวนญี่ปุ่น บ้านและสวน ธ.ค.62

สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ สำนักพิมพ์บ้านและสวน