สเกลไทย มาตรวัดแบบไทย มาตรวัด

สเกลไทย มาตรวัดจากของใช้ใกล้ตัว รู้ไว้ใช้งานสะดวก

สเกลไทย มาตรวัดแบบไทย มาตรวัด
สเกลไทย มาตรวัดแบบไทย มาตรวัด

ของทุกสิ่งบนโลกล้วนถูกกำหนดให้มีขนาดสัดส่วนทั้งสิ้น ส่วนใหญ่แล้วเรามักมองข้ามเรื่องนี้ไปทั้งที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้งานในชีวิตประจำวันโดยตรง  สเกลไทย

my home อยากชวนมาลองสังเกตข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ รอบตัว จะเห็นว่าขนาดมีผลต่อความสบายในการใช้งานจริง ๆ อย่างเช่นของบางอย่างที่คนสมัยก่อนออกแบบมาให้ตรงกับจริตของคนไทย ของบางอย่างก็ได้รับมาจากวัฒนธรรมอื่น แต่ก็ปรับเปลี่ยนขนาด และวัสดุให้เข้ากับการใช้ชีวิตของคนไทยได้อย่างลงตัว ลองมาดูตัวอย่าง สเกลไทย ๆ ที่ใช้งานง่ายและสบายกันค่ะ

 

ตะเกียบ

สเกลไทย มาตรวัดแบบไทย มาตรวัด

ช่วงที่กระแสเกาหลีมาแรง มีคนไทยจำนวนไม่น้อยไปหาซื้อ ตะเกียบสเตนเลส มาลองใช้กับเขาดูบ้าง ซึ่งส่วนปลายของตะเกียบ
ประเภทนี้จะเรียวเล็ก แถมยังลื่นด้วย หากเป็นอาหารเกาหลีซึ่งมักเป็นประเภทปิ้งย่างก็ยังพอใช้ได้ เพราะช่วยป้องกันความสกปรกได้ดี แต่พอเป็นอาหารไทย การคีบอาหารทำได้ไม่สะดวก ต้องคอยเกร็งกล้ามเนื้อที่นิ้วตลอดเวลา ส่วน ตะเกียบญี่ปุ่นก็มีส่วนปลายที่เรียวเล็กเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่มักทำจากไม้การใช้งานจึงคล่องมือกว่า ทว่าที่คุ้นมือคนไทยที่สุดก็คือ ตะเกียบจีน แม้รูปลักษณ์อาจสวยสู้สองประเภทแรกไม่ได้ แต่การใช้งานนี่กินขาด เพราะเหมาะกับคนไทยและอาหารไทยที่สุดแล้ว เลือกความยาวประมาณ 22 เซนติเมตร เป็นขนาดที่กำลังถือได้เหมาะสม

 

ช้อน

สเกลไทย มาตรวัดแบบไทย มาตรวัด

ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการรับประทานอาหาร มีให้เลือกใช้หลายขนาด ที่นิยมใช้กันก็มี ช้อนสั้น ซึ่งมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน บ้านเรายังใช้แทนช้อนกลางด้วย ช้อนยาวคู่ส้อม ก็เป็นวัฒนธรรมการรับประทานอาหารแบบตะวันตกที่เรานำมาใช้กันแพร่หลายเช่นกัน แต่ช้อนประเภทนั้นมีหน้าตาหลากหลาย เพราะฝรั่งเขาใช้รับประทานกับประเภทอาหารแตกต่างกันไป เช่น ช้อนซุป ช้อนคาวช้อนโต๊ะ ซึ่งอาจไม่ค่อยเหมาะกับวัฒนธรรมการกินแบบไทยเท่าไร การสังเกตขนาดของช้อนก่อนเลือกซื้อก็ช่วยให้เราใช้งานสะดวกขึ้น ขนาดปากช้อนที่เหมาะสมคอื กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร และไม่ควรเกิน 6 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่กำลังดีไม่ทำให้เกิดอาการช้อนคับปากที่ดูไม่น่ามอง อีกประการคือ ลองจับดูแล้วถนัดมือ ไม่หนักจนเกร็งมือ ก็เป็นอันใช้ได้

 

ครก

สเกลไทย มาตรวัดแบบไทย มาตรวัด

เป็นอุปกรณ์ที่อยู่คู่ครัวไทยมานาน ปัจจุบันมีการออกแบบหน้าตาให้ดูทันสมัยขึ้นเรียกว่าสามารถวางโชว์บนเคาน์เตอร์ครัวได้ไม่อายใคร แต่เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดแรงกระแทกมาก หากออกแบบให้มีเคาน์เตอร์ปูนเฉพาะไปเลย ก็น่าจะดีกว่า นอกจากนี้ คุณทราบไหมว่า ระดับความลึกของก้นครกมีผลต่อการ ทำอาหารด้วยนะ เลือกความลึกสักประมาณ 17 เซนติเมตร ก็กำลังโอเคเลย ส่วนใครที่ชอบครกก้นแบนซึ่งอาจมีรูปลักษณ์สวยกว่าครกหน้าตาเดิมๆ แต่เราอยากจะบอกว่า ครกประเภทนี้ทำให้สมรรถนะในการตำลดลงแถมยังกระเด็นเลอะเทอะได้ง่ายด้วย หากคุณใช้งานครกบ่อย ๆ ไม่แนะนำค่ะ

 

หมอนข้างและมุ้ง

สเกลไทย มาตรวัดแบบไทย มาตรวัด

ข้อมูลในวิกิพีเดียบอกไว้ว่า หมอนข้าง มีต้นกำเนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกามีไว้เพื่อรองหนุนคอ หรือหนุนหลังเพื่อให้เกิดความสบายในเอเชีย หมอนข้างอาจมีชีอเรียกอีกชื่อว่า “หมอนกอด” ขนาดของหมอนข้างที่น่ากอดคือ จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร ยาว 92 เซนติเมตร ส่วน มุ้ง ขนาดมาตรฐานที่ใช้กัน 1.50 × 2 เมตร มีการใช้งานหลักคือ กันยุงหรือแมลง แต่อีกด้านหนึ่งก็ใช้แบ่งพื้นที่ได้ ทั้งสองอย่างนี้เหมาะกับครอบครัวขยายแบบคนไทยทีเดียว เพราะบางทีเรายังนอนเรียงกันเวลามีญาติมาเยี่ยม มุ้งและหมอนข้างจึงเป็นอุปกรณ์กั้นแบบเบาๆ ที่ช่วยแยกความเป็นสัดส่วนได้

 

เสื่อและหมอนขวาน

สเกลไทย มาตรวัดแบบไทย มาตรวัด

นึกถึงภาพยนตร์ฝรั่ง เวลาพระเอกนางเอกไปปิกนิกกัน ก็จะพกผ้าผืนใหญ่ไปไว้ปูรองนอนหรือนั่ง หากตัดภาพกลับมาที่ภาพยนตร์ไทย คงได้เห็นเสื่อระจูดสักผืน หมอนขวานสักใบ ซึ่วเราว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์สนามทีเข้ากับสภาพอากาศแบบบ้านเรามากที่สุด ขนาดมาตรฐานของเสื่อประมาณ 1.20 × 2 เมตร สามารถม้วนเก็บและถือย้ายไปหาทำเลเหมาะ ๆ ได้สะดวก ส่วนหมอนขวานไมต้องพูดถึงเพราะนุ่มน่านอนอยู่แล้ว แต่หมอนที่เราอยากแนะนำอีกชนิดก็คือหมอนสาน ทำมาจากตอกที่โปร่งเบาลม สามารถลอดผ่านได้ ทำให้นอนหนุน ทำให้นอนหนุนได้แบบไม่ต้องกลัวเหงื่อเปียกซอกคอละ

ยังมีของใช้อีก 5 ชิ้นที่หน้าถัดไปค่ะ