เบรกเกอร์กันไฟรั่ว/ไฟดูด (Residual Current Protective Devices) หรือที่กันสั้นๆว่า เบรกเกอร์กันดูดนั้น มีหน้าที่ป้องกันไฟรั่วไฟดูด โดยจะตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อมีค่ากระแสไฟรั่วตามค่าที่กำหนด อาทิ เครื่องซักผ้าชำรุด ทำให้มีกระแสไฟรั่วออกมาที่ตัวเครื่อง เมื่อเราไปจับหรือสัมผัสเบรกเกอร์ก็จะตัดวงจรเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย(ไฟดูด)กับผู้ใช้งานนั่นเอง
ทั้งนี้หลักการทำงานของเบรกเกอร์กันดูดนั้น จะวัดค่ากระแสไฟเข้าและไฟออกว่าเท่ากันหรือไม่ หากไม่เท่ากันตามสเปคของอุปกรณ์ที่ได้กำหนดไว้ เบรกเกอร์กันดูดก็จะตัดวงจรโดยอัตโนมัติ เช่น ไฟเข้าไฟออกต่างกันเกิน 30 mA เบรกเกอร์กันดูดก็จะตัดวงจรทันที
อุปกรณ์กันดูดนั้น โดยทั่วไปมี 2 รูปแบบ ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้หลักการทำงานของแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) ซึ่งเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูง สามารถทำงานได้โดยไม่อาศัยไฟเลี้ยงวงจรสามารถตัดวงจรไฟฟ้าแม้ในกรณีที่สายนิวตรอนหลุดหรือขาด และแบบที่สองอุปกรณ์ที่ใช้การตรวจจับโดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขนาดเล็กและมีความแม่นยำในการทำงานสูง แต่มีข้อด้อยคืออุปกรณ์ชนิดนี้ต้องมีไฟเลี้ยงวงจรตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถทำงานในกรณีที่สายนิวตรอนหลุดหรือขาดได้ แต่ก็ยังมีผู้ผลิตบางรายที่เพิ่มเติมสายดินให้อุปกรณ์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้ในกรณีนี้เช่นเดียวกัน
ปัจจุบันเราสามารถแบ่งเบรกเกอร์กันดูด ออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
1.RCCB (Residual Current Circuit Breaker) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกันไฟรั่ว/ไฟดูดเพียงอย่างเดียวอ้างอิงตามมาตรฐาน มอก. 2425-2552 และ IEC 61008 ที่โดยปกติจะแนะนำให้ติดตั้งควบคู่กับฟิวส์ หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ เพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น
2.RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Over Current Protection) ทำหน้าที่ทั้งป้องกันไฟรั่ว/ไฟดูด ป้องกันไฟฟ้าเกินพิกัด(Overload) และไฟฟ้าลัดวงจร(Short Circuit) อ้างอิงตามมาตรฐาน มอก. 909-2548 และ IEC 61009จุดเด่นของเบรกเกอร์ชนิดนี้คือ มีขนาดเล็กพิเศษ ทำให้สามารถประหยัดพื้นที่ภายในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตทั้งนี้ยังมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบ 2 ช่องอุปกรณ์เพื่อติดตั้งแทนเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน และ 1 ช่องอุปกรณ์เพื่อติดตั้งแทนเซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อยเพื่อลดความยุ่งยากในการเปลี่ยนหรือปรับปรุงตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตที่มีอยู่เดิมหรือติดตั้งใหม่ก็ตาม
เบรกเกอร์กันดูดรุ่นมาตรฐานส่วนใหญ่นั้น แนะนำให้เลือกขนาดตัดวงจรเมื่อเกิดไฟรั่วที่ไม่เกิน30mA ซึ่งมีความปลอดภัยในการใช้งานในการป้องกันชีวิต โดยสามารถอ้างอิงและแบ่งความปลอดภัยออกได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่
# ระดับที่ 1 โดนดูด แต่ไม่รู้สึก (ปริมาณกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 0.5 mA)
# ระดับที่ 2 โดนดูดรู้สึก แต่ไม่อันตราย (ปริมาณกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 10 mA)
# ระดับที่ 3 โดนดูด กล้ามเนื้อจะเกร็ง หรือหายใจติดขัด (ปริมาณกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 20 mA)
# ระดับที่ 4 โดนดูด หัวใจล้มเหลวอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ (ปริมาณกระแสไฟฟ้ามากกว่า 30 mA)
TIP : ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย แนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดที่มีพิกัดกระแสไฟรั่วไม่เกิน 30 มิลลิแอมป์ สำหรับการใช้ไฟฟ้าในห้องน้ำ โรงจอดรถ ห้องครัว รวมไปถึงการใช้งานภายนอกบ้าน และวงจรย่อยสำหรับเครื่องทำน้ำร้อน/น้ำอุ่น และอ่างอาบน้ำวน
“ฟรี! ลงทะเบียนสัมมนาออนไลน์ สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้เกี่
ลงทะเบียนร่วมกิจกรรม สแกนเลย!
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.siemens.co.th/simbox-consumer-unit
Contact : 0-2715-5578