“รีไฟแนนซ์บ้าน” ลดหนี้บ้าน/ มีเงินเพิ่ม/ ง่ายดายกว่าที่คิด - บ้านและสวน
รีไฟแนนซ์บ้าน

“รีไฟแนนซ์บ้าน” ลดหนี้บ้าน/ มีเงินเพิ่ม/ ง่ายดายกว่าที่คิด

“รีไฟแนนซ์บ้าน” หลายๆท่านคงเคยได้ยินคำๆนี้กันมาบ้าง โดยเฉพาะผู้ที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ เมื่อผ่อนบ้านมาได้เกิน 3 ปีแล้ว ดอกเบี้ยปัจจุบันกลายเป็นเท่าไรกันบ้าง? แน่นอนว่าอัตราดอกเบี้ยก็จะเริ่มขยับลอยตัวขึ้น และทำให้เงินที่เราต้องผ่อนนั้นมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย แต่ช้าก่อน! ถ้าหากว่าเราทำการรีไฟแนนซ์ให้ดอกเบี้ยลดลงได้ 1% สำหรับยอดเงินกู้ 1 ล้านบาท เราจะสามารถประหยัดเงินไปได้ถึง 10,000 บาทต่อปี หรือ ถ้าลดได้ 2% สำหรับยอดเงินกู้ 2 ล้านบาท เราจะลดดอกเบี้ยไปได้ถึง 40,000 บาทต่อปี เลยทีเดียว ไม่ใช่แค่ผ่อนจบไวขึ้น แต่ยังเหลือเงินไปใช้ลงทุนอย่างอื่นได้อีก แค่ย้ายหนี้เงินกู้บ้านจากธนาคารที่เราอยู่ด้วยในปัจจุบันไปธนาคารใหม่ที่ให้ดอกเบี้ยน้อยกว่าเดิมเท่านั้นเอง

ยกตัวอย่างของการรีไฟแนนซ์กรณีกูซื้อบ้าน 3.0 ล้านบาท ชำระค่างวด เดือนละ 18,870 บาท

ถ้าไม่รีไฟแนนซ์เลย               ต้องผ่อน 266 งวด  (22 ปี 2 เดือน)       เสียดอกเบี้ยทั้งสิ้น 2.012 ล้านบาท

รีไฟแนนซ์ครั้งที่ 1                  ต้องผ่อน 240 งวด  (20 ปี)                    เสียดอกเบี้ยทั้งสิ้น 1.517 ล้านบาท

รีไฟแนนซ์ครั้งที่ 2                   ต้องผ่อน 224 งวด  (18 ปี 7 เดือน)       เสียดอกเบี้ยทั้งสิ้น 1.214 ล้านบาท

รีไฟแนนซ์ครั้งที่ 3                   ต้องผ่อน 214 งวด  (17 ปี 8 เดือน)       เสียดอกเบี้ยทั้งสิ้น 1.038 ล้านบาท

จึงเห็นได้ว่าการ “รีไฟแนนซ์ บ้าน” นั้นทำให้ภาระการผ่อนลดลงพร้อมๆกับประหยัดเงินไปด้วยกันตั้งแต่ครั้งแรกเลยทีเดียว ถ้าอยากผ่อนบ้านให้หมดเร็วๆไม่เป็นหนี้นาน อยากผ่อนบ้านด้วยเงินเท่าเดิมเพื่อเอาเงินไปตัดยอดเงินต้นให้มากขึ้น การ “รีไฟแนนซ์บ้าน” คือคำตอบสำหรับคุณ

ข้อคำนึงก่อนการขอ “รีไฟแนนซ์บ้าน”

อาจจะดูเหมือนยุ่งยาก จนพาลให้อยากถอดใจไม่ขอ “รีไฟแนนซ์ บ้าน” กันไปแล้ว แต่ความจริงการขอรีไฟแนนซ์ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอย่างที่คิดเลย เพราะมีสิ่งจำเป็นอยู่สองอย่างด้วยกันคือ 1. หลักฐานต่างๆ และ 2. เครดิตที่ดี ถ้าอย่างนั้นเราลองไปดูขั้นตอนพอสังเขปของการ “รีไฟแนนซ์บ้าน” กันดีกว่า

ขั้นตอนที่ 1
เตรียมการก่อน
“รีไฟแนนซ์บ้าน”

ประเมินค่าใช้จ่าย การ “รีไฟแนนซ์ บ้าน” นั้นมีค่าใช้จ่ายอยู่ 4 ส่วนด้วยกัน นั่นคือ

  1. ค่าประเมินหลักประกันขั้นต่ำประมาณ 3,000 บาท
  2. ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ (ประมาณล้านละ 10,000 บาท)
  3. ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ (ประมาณล้านละ 500 บาท)
  4. ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ขั้นต่ำจ่ายครั้งละ 3 ปี (ประมาณล้านละ 1,000 บาท)

เมื่อสำรวจค่าใช้จ่ายและเงินทุนใช้กระเป๋ากันดีแล้วก็ไปสู่ขั้นตอนที่ 2 กันได้เลย

ขั้นตอนที่ 2
ศึกษาอัตราดอกเบี้ยและประวัติการผ่อนชำระและเตรียมเอกสาร

  1. เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันของเรา และหาข้อมูลเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นๆสัก 3-4 ที่ ถ้าส่วนต่างเกิน 2% ก็ถือว่าน่าสนใจ
  2. เช็คดูประวัติการผ่อนชำระว่าไม่ค้างไม่ผิดนัดชำระ
  3. เตรียมเอกสารต่างๆที่ต้องใช้ดังนี้ เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล (สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล) เอกสารแสดงรายได้ (สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน) และ สุดท้ายคือเอกสารด้านหลักประกัน

หลังจากที่ได้เตรียมการจนครบแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการเลือกโปรแกรม “รีไฟแนนซ์บ้าน” ที่เหมาะกับเราและคุ้มค่าที่สุดนั่นเอง

ขั้นตอนที่ 3
เลือกโปรแกรม
/ดอกเบี้ย การ “รีไฟแนนซ์บ้าน”

การเลือกโปรแกรมรีไฟแนนซ์บ้านนั้นมีข้อที่ควรจะต้องคำนึงดังนี้

  1. เลือกธนาคารที่ใช่ สถาบันการเงินและธนาคารต่างๆมีโปรแกรมอยู่หลากหลายแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงเวลา อาจจะต้องใช้เวลาเลือกและเปรียบเทียบอยู่ซักนิดแต่ก็จะช่วยประหยัดเงินเรือนแสนให้กับเราได้ในที่สุด
  2. เลือกอัตราดอกเบี้ยและค่างวด ขอให้พิจารณาจากความสามารถในการผ่อนชำระที่ไม่มากจนเกินไปสำหรับตัวเราเองก่อน แล้วจึงค่อยไปพิจารณาโปรโมชั่นและโปรแกรม
  3. เลือกโปรโมชั่นและโปรแกรมที่เหมาะกับเรา แม้ว่าเราจะ “รีไฟแนนซ์บ้าน” ได้หลายครั้ง แต่ก็ควรพิจารณาให้ดี โปรโมชั่นและโปรแกรมดีๆ จะช่วยให้ชีวิตการผ่อนบ้านของเราราบรื่นขึ้น ซึ่งเมื่อพูดมาถึงจุดนี้แล้ว เราก็อยากแนะนำโปรโมชั่นโปรแกรมจาก ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ที่บอกเลยว่าเด็ดมาก เพราะเป็นโปรแกรมดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกเพียง 2.49% ง่ายและรวดเร็วใช้เวลาพิจารณาเพียง 5-7 วัน หากเอกสารครบ ดอกเบี้ยดีที่สุด ประหยัดที่สุดแล้วในเวลานี้

เห็นไหมล่ะครับ ว่าการรีไฟแนนซ์ง่ายนิดเดียว ประหยัดเวลาและเงินในการผ่อนบ้านไปได้เยอะเลย “รีไฟแนนซ์บ้าน” ลดหนี้บ้าน/ มีเงินเพิ่ม/ ง่ายดายกว่าที่คิด  สำหรับใครที่สนใจรีไฟแนนซ์ กับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกเพียง 2.49% คลิกดูรายละเอียดและสมัครออนไลน์ได้เลย  https://bit.ly/2XZz5sR