เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะกรอกน้ำไว้ดื่มรับประทาน ซึ่งภาชนะที่นิยมใช้ก็มักจะเป็น ขวดน้ำพลาสติกใช้ซ้ำ เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก และราคาประหยัดกว่าขวดน้ำที่ทำจากวัสดุอื่น
แต่การที่เรากรอกน้ำใส่ขวด ทำให้เกิด ขวดน้ำพลาสติกใช้ซ้ำ บ่อย ๆ แบบนี้ จะมีผลอันตรายต่อร่างกายของเราจริงหรือไม่ วันนี้ บ้านและสวน หาคำตอบมาให้แล้ว
ประเภทของขวด
ก่อนอื่นเราต้องมาดูว่าพลาสติกมีกี่ประเภท เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เบอร์ 1 PET หรือ PTET ย่อมาจาก Polyethylene Teraphthalate (โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต) นั่นก็คือพลาสติกโปร่งใส เนื้อเหนียว มีความทนทานต่อแรงกระแทก และมีคุณสมบัติในการป้องกันการแพร่ผ่านของก๊าซได้ดี นำมาใช้ในการผลิตขวดเครื่องดื่มที่ไม่ได้บรรจุแอลกอฮอล์ เช่นประเภทขวดน้ำดื่ม น้ำผลไม้ ขวดน้ำมันพืช
เบอร์ 2 High-Density Polyethylene (โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง) พลาสติกชนิดนี้มีความหนาแน่นสูง ทำให้แข็งแรง แต่โปร่งแสงน้อยกว่าโพลีเอทิลีน ความหนาแน่นต่ำ ทนกรดและด่าง ทั้งยังป้องกันการแพร่ผ่านของความชื้นได้ดี คือประเภทถุงพลาสติก ขวดพลาสติกแข็งๆ ขวดนม ขวดยาสระผม ถุงขยะหนาๆ นำกลับมารีไซเคิลเป็นถุงพลาสติก หรือขวดโยเกิร์ต
เบอร์ 3 Polyvinyl Chloride ตัวย่อคือ PVC หรือ V (โพลิไวนิลคลอไรด์) เป็นพลาสติกใสที่มีความแข็งแรงมาก ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอสมควร แต่ป้องกันไขมันได้ดี นำมาใช้ในการผลิตท่อน้ำประปา หนังเทียม ฉนวนหุ้มสายไฟ ขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอุปกรณ์การแพทย์
เบอร์ 4 Low-Density Polyethylene (โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ) เป็นพลาสติกที่ยืดหยุ่นได้ดี ทนทานต่อสารเคมี รีไซเคิลเป็นถุงพลาสติกแบบบาง พลาสติกแร็ป ถุงดำ ถุงขยะ เป็นต้น
เบอร์ 5 Polypropylene (พลาสติกประเภทโพลิโพรพิลีน) เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบาที่สุด แต่มีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงกระแทก ทนต่อสารไขมันและทนความร้อนสูง ขวดซอส ขวดยา ภาชนะพลาสติก นำกลับมารีไซเคิลเป็น ถุงร้อนใส่อาหาร หรือกล่องพลาสติกที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้ แก้วพลาสติกแบบแข็ง
เบอร์ 6 Polystyrene (โพลิสไตรีน) เป็นพลาสติกที่มีลักษณะโปร่งใส ทนต่อกรดและด่าง ไอน้ำผ่านเข้าไปได้ เช่นกล่องโฟมใส่อาหาร แก้วน้ำดื่ม แผ่นฉนวน สามารถรีไซเคิลเป็น จาน แผงไข่ไก่ และกล่องซีดี เป็นต้น
เบอร์ 7 อื่นๆ ที่นอกเหนือจาก 6 สัญลักษณ์ที่กล่าวมา หรืออาจจะเป็นพลาสติกแต่ละชนิดมาผสมกัน เช่น เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า มักจะนำกลับมารีไซเคิลเป็นขวดน้ำ กล่องและถุงบรรจุอาหาร กระสอบปุ๋ย และถุงขยะ
การทำความสะอาดขวดน้ำพลาสติก
เมื่อเราจำเป็นต้องการใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำ การทำความสะอาดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจจะสะสมอยู่ภายในขวดหรือกลิ่นเหม็นจากขวดพลาสติกสาเหตุเพราะเมื่อมีการใช้ซ้ำเป็นเวลานานก็ย่อมจะทำให้มีคราบแบคทีเรียและเชื้อราตกค้างอยู่ได้ ซึ่งมีวิธีแก้ป้องกันและแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นได้ดังนี้
ขวดน้ำพลาสติกใช้ซ้ำ
- ต้องล้างทำความสะอาดขวดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ด้วยแปรงล้างขวด เพราะเราไม่สามารถใช้มือเข้าไปขัดถูด้านในได้สะดวกเหมือนการล้างภาชนะอื่นๆ การใช้แปรงล้างขวดที่มีด้ามยาวจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการทำความสะอาดและป้องกันเรื่องคราบตกค้างต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
- ใส่น้ำเข้าไปในขวดสักประมาณครึ่งขวด จากนั้นให้เติมเกลือลงไปสักประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นก็ให้เขย่าขวดแรงๆจนเกลือละลาย และตั้งทิ้งไว้สักประมาณ5 นาที เสร็จแล้วจึงเทน้ำเกลือทิ้ง แล้วล้างเขย่าขวดด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งขวดจะใสสะอาดมากขึ้นและกลิ่นเหม็นก็หายไปด้วย
- ผสมน้ำกับน้ำส้มสายชู กรอกใส่ขวดน้ำดื่มให้ได้ประมาณครึ่งขวด เขย่าให้ทั่ว และพักทิ้งไว้สัก 10 นาที แล้วจึงล้างออกให้สะอาด
- ผสมน้ำอุ่นกับเบกกิ้งโซดา คนให้ละลายเข้ากัน นำไปกรอกใส่ขวดเขย่าให้ทั่ว หรือจะใช้แปรงล้างขวดช่วยขัดถูก็ได้ ตั้งทิ้งไว้ 5-10 นาที เททิ้งและล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
การใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำ
ขวดน้ำพลาสติกที่เราพูดถึงนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขวด PET หรือ PETE ชื่อเต็ม คือ polyethylene terephthalate ethylene เป็นพลาสติกใสใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ และ อาหารบางชนิด (สังเกตจากสัญลักษณ์ลูกศร วนเป็
แต่สิ่งที่ต้องกังวลต่อการได้รับเชื้อโรค หรืออันตรายต่อร่างกายกลับเป็นเรื่องของ “ความสะอาด” เนื่องจาก การใช้ขวดน้ำพลาสติกมาบรรจุน้ำซ้ำ ๆ โดยเฉพาะที่มีรูปทรงไม่เรียบ มีร่องหรือซอกหลืบ อาจจะมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เพราะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เช่น จุลินทรีย์ที่พบโดยส่วนใหญ่ ก็คือ “โคลิฟอร์มแบคทีเรีย” ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่เราพบได้ตามสิ่งสกปรกต่าง ๆ การที่ร่างกายได้รับสารตัวนี้เข้าไป จึงมีผลให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วงได้
ฉะนั้นทางป้องกันคือ
ก่อนที่จะนำขวดน้ำพลาสติกมาบรรจุน้ำซ้ำทุกครั้ง ต้องล้างขวดให้สะอาด ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนนำมาใช้ใหม่ เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและเชื้อจุลินทรีย์ออกไป แม้ว่าคุณจะใส่เพียงแค่น้ำเปล่าก็ตาม เพราะ เชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้สามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำทุกชนิด และตัวเล็กเกินกว่าที่คุณจะสังเกตเห็นมันได้
- ห้ามดื่มน้ำจากปากขวดโดยตรงเด็ดขาด เพราะจะทำให้น้ำลายติดอยู่ที่ปากขวด ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตามก็ใช่ว่
อุณหภูมิ, ระยะเวลา และชนิดของอาหารที่สัมผัสอยู่กับภาชนะ หากอุณหภูมิสูงขึ้น และระยะเวลาการเก็บนานขึ้น หรืออาหารที่มีความเป็นกรดจะมีผลให้การละลายของสารเคมีออกมาจากภาชนะมากขึ้น
- คุณภาพของขวดหรือภาชนะ ซึ่งผู้ผลิตจะต้องควบคุมขบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน ตามข้อกำหนดในกฎหมายของแต่ละประเทศ
หากถามว่า ขวดน้ำพลาสติกใช้ซ้ำ ได้กี่ครั้ง หรือนานเท่าไหร่ คำตอบคือ ไม่สามารถบอกได้แน่นอน เนื่องจากขวดพลาสติกแต่ละขวด ก็มีมาตรฐานในการผลิตที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นคุณต้องสังเกตคุณภาพของขวดน้ำด้วยว่ายังสามารถใช้งานได้ต่อไปหรือไม่ เช่น หากตรวจพบว่าขวดมีสีเปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มมีความขุ่นมากขึ้น หรือรอยขีดข่วน รอยปริหรือรอยแตก นั่นแสดงว่าขวดเริ่มเสียสภาพแล้ว ก็ควรเลิกใช้และทิ้งไป หรือ ถ้าหากว่ายังรู้สึกเสียดายก็ยังสามารถนำขวดน้ำพลาสติกเหล่านี้ได้รีไซเคิล
เรื่อง : ลีฬภัทร กสานติกุล
ตัวช่วยกำจัดคราบกาวติดแน่นแค่ไหนก็ออกหมดเกลี้ยง