ทีมงานบ้านและสวนออกเดินทางไปที่บ้านดงยางใต้ จังหวัดอุทัยธานี เพราะมีนัดกับคุณไม้- ฐาปนิต โชติกเสถียร นักออกแบบจัดสวนฝีมือดีที่มีประสบการณ์การทํา งานมานานกว่า 15 ปี ทั้งยังเป็นเจ้าของ Prem Cafe In the Garden คาเฟ่ในสวนชื่อดังของจังหวัดปทุมธานี วันนี้เราจะไปชมสวนต้นไม้ทนแล้งบนเนื้อที่กว่า 6 ไร่กันครับ
เจ้าของ : คุณนัธวัฒทน์ อภิชัยเลิศสกุล
ออกแบบ : Murraya Garden
โดยคุณฐาปนิต โชติกเสถียร โทรศัพท์09-4563-9924
“ผมรู้จักพี่ไม้เมื่อ 2 ปีที่แล้วครับ เห็นผลงานซึ่งเป็นสไตล์สวนในแบบที่ผมชอบ จากนั้นก็ตามไปดูที่เพจ แล้วทักไปหา ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่คิดจะจัดสวนที่บ้านพอดีครับ” คุณสนุ๊ก-นัธวัฒทน์ อภิชัยเลิศสกุล เจ้าของบ้าน เริ่มเล่าถึงที่มาของสวนนี้ให้เราฟัง
“บ้านหลังนี้อยู่กันมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ท่านรักต้นไม้ ปลูกเองทุกต้น ชอบต้นไหนก็ปลูก ซื้อมาบ้าง ขุดจากทุ่งนามาบ้าง มีตั้งแต่ไม้ผล ไม้มงคล
ไปจนถึงไม้ประดับ ตัวผมเองก็ชอบต้นไม้เหมือนกันมีทั้งบอนไซ ปาล์ม ไม้ใบ ไม้สะสมต่างๆ
“ก่อนหน้านี้เราเคยให้บริษัทหนึ่งเข้ามาจัดสวนให้ครับ ผ่านไปสักระยะผมรู้สึกว่าบ้านค่อนข้างร้อน เพราะหน้าบ้านหันไปทางทิศตะวันออก โดน
แดดส่องตลอดครึ่งเช้า ต้นไม้ที่ให้ร่มเงาด้านหน้าบ้านก็ไม่ค่อยมี เลยปรึกษากับพี่ไม้ให้เข้ามาช่วยออกแบบและแก้ปัญหาให้ ขอแค่ให้เป็นสวนที่ไม่ต้องดูแลมาก คุณพ่อไม่ชอบใบไม้ร่วง ส่วนคุณแม่ชอบดอกไม้ หลังจากพี่ไม้เข้ามาดูพื้นที่แล้วก็อธิบายถึงแนวคิดคร่าวๆ ตรงไหนควรทํา อย่างไรบริเวณไหนจะต้องปรับต้องแก้อย่างไร เราไปเลือกซื้อต้นไม้ด้วยกัน เลือกต้นที่ผมชอบ พี่ไม้ก็จะให้คําแนะนําว่าต้นที่เลือกเหมาะสมไหม เอาไปปลูกบริเวณไหนได้ครับ”
ส่วนคุณไม้ก็เล่าถึงแนวคิดและการทํางานออกแบบจัดสวนแห่งนี้ให้ฟังว่า“ตอนมาดูพื้นที่ครั้งแรกคือค่อนข้างแล้งมากครับ ด้านหน้าเป็นสนามหญ้ากว้างๆ มีต้นไม้ใหญ่ปลูกกระจายไปทั่ว หน้าบ้านเป็นวงเวียนขนาดใหญ่มีบ่อนํ้าพุอยู่ตรงกลาง มีถนนและทางเดินทั้งรอบบ้านและในสวน และข้างบ้านมีบ่อปลาคาร์ปขนาดใหญ่ ผมเก็บงานฮาร์ดสเคปของเดิมไว้ ไม่ได้ไปยุ่งอะไรมาก และจัดการในส่วนของการออกแบบและจัดวางพรรณไม้ทั้งหมด บริเวณโดยรอบๆ ก็ใส่ปาล์มใส่ต้นไม้ใหญ่เพิ่มเข้าไป จัดกลุ่มไม้พุ่มให้ดูมีจังหวะ ไม่ว่าจะมองออกไปจากตัวบ้านหรือมอง
เข้ามาจากด้านนอกก็ต้องสวย ไม่บดบังทัศนียภาพและเพิ่มสวนหย่อมตามมุมต่างๆ ของอาคารที่มีกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ เพื่อเสริมให้ดูดีขึ้นครับ
“เจ้าของบ้านไม่ได้ระบุเลยครับว่าอยากได้อะไรหรือชอบสไตล์ไหนเป็นพิเศษ เพียงแค่เขารักต้นไม้ ชอบต้นไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะต้นที่แปลกๆ ซึ่งเหมือนกับผม เลยทํา ให้เราคลิกกันง่ายขึ้น การออกแบบของที่นี่ผมมองเรื่องมิติของตัวอาคารเป็นหลัก เราตั้งใจเปิดมุมมองจากสนามหญ้าหน้าบ้านให้ค่อนข้างโล่งเพื่อให้มองเห็นตัวบ้านเราอยากเพิ่มร่มเงาความร่มรื่น แต่ไม่อยากให้เป็นก้อนๆ ใหญ่ๆ บังมุมมอง เลยมาลงตัวที่พวกปาล์มอินทผลัมแทนต้นไม้ใหญ่ เพราะต้นเป็นลําเดี่ยวสูง แตกใบด้านบน และด้วยความที่สนามหญ้ามีพื้นที่กว้างมาก จึงต้องลงต้นไม้ใหญ่เพิ่มเพื่อเพิ่มมิติสวน ไม่ให้พื้นที่ดูโล่งเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นเดิมที่มีอยู่ แต่เราขุดย้ายมาปลูกในตําแหน่งใหม่ที่เหมาะสมครับ เสริมด้วยต้นไม้ที่ซื้อใหม่บางส่วน โดยเลือกใช้ไม้จัดสวนทั่วๆ ไป เช่น เสม็ดแดง ชุมแสง จิกนํ้า พื้นที่บางส่วนยกเป็นเนินเพื่อเสริมให้กลุ่มต้นไม้ดูเด่นขึ้น เติมไม้พุ่มระดับรองและระดับล่างและใส่ไม้ดอกให้ดูสดชื่นมีสีสันตามที่คุณแม่ชอบ ส่วนทางเดินในสวนที่มีอยู่เดิมผมปรับใหม่ให้มีสัดส่วนลงตัวมากขึ้น ปลูกกลุ่มไม้พุ่มตามทางเดินให้สวยงามยิ่งขึ้นครับ”
อีกหนึ่งไฮไลต์ที่เป็นจุดเด่นของสวนนี้คือสวนบริเวณที่ติดกับตัวบ้านที่มีสไตล์ต่างไปจากสวนอื่นๆ ที่เราเห็นในปัจจุบัน คุณไม้ได้อธิบายให้เรา
ฟังเพิ่มเติมว่า “โดยรวมที่นี่ผมจัดเป็นสวนหินครับ ซึ่งกึ่งๆ โดนบังคับด้วยสไตล์ของบ้านกับโครงสร้างสวนเดิมที่มีอยู่ สวนหินมีความเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากสวนสไตล์อื่นๆ ในเรื่องของการเลือกใช้พรรณไม้ ซึ่งจะต้องมีความสวยโดดเด่นในตัวเองโดยส่วนตัวผมชอบไม้ที่มีลักษณะเส้นใบสวยอยู่แล้ว ที่นี่ผมจะเลือกใช้ต้นไม้ที่ไม่ได้เห็นกันทั่วๆ ไปเช่น จันทน์หอม จันทน์ผา เข็มกุดั่น แส้หางม้าสนประดิพัทธ์ อากาเว่ แล้วเล่นระดับสูงกลางตํ่านํา หลักการจัดสวนทั่วไปมาใช้ มีไม้ประธาน ไม้หลัก ไม้รอง พร้อมกับคุมโทนสีไปด้วย เลยทํา ให้เนื้องานและอารมณ์ของสวนมีมิติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดครับ
“สวนนี้เราค่อยๆ ทํา ไปทีละส่วน หลักๆเลยคือเรื่องของการย้ายต้นไม้เดิมที่มีอยู่ไปปลูกในที่ใหม่ที่เหมาะสมกว่า เราไม่ทิ้งต้นไหนไปเลยครับเพราะเจ้าของบ้านรักต้นไม้ทุกต้น และเติมไม้พุ่มอื่นๆ ให้ร่มรื่นสวยงามมากขึ้น แต่เราคิดไว้ก่อนแล้วว่าตรงไหนจะทํา อะไร สวนที่ออกแบบและ
ทํา ไว้ก่อนแล้วจะยากกว่าการออกแบบสวนในพื้นที่เปล่าโล่งๆ ครับ เราดูพื้นที่เดิมโดยรวม คิดไว้คร่าวๆ ว่าจะแก้อะไร ใส่อะไรเพิ่มตรงไหน จากนั้นค่อยดูที่หน้างาน ปรับแก้ตามความเหมาะสมอีกทีครับ” คุณไม้กล่าวทิ้งท้ายให้เราฟัง
เรื่อง : วชิรพงศ์ หวลบุตตา
ภาพ : ฤทธิรงค์ จันทองสุข, รัตนชัย สื่อศิริธําารงค์