หมาไทยหลังอาน สุนัขที่เป็นสัญลักษร์และความภาคภูมิใจของไทย
ประวัติสายพันธุ์ หมาไทยหลังอาน
หมาไทยหลังอาน มีบันทึกครั้งแรกที่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 350 ปีทีแล้ว หรืออาจมากกว่านั้น โดยมีทฤษฎีหนึ่งกล่าวไว้ว่าสุนัขพันธุ์นี้สืบเชื้อสายมาจากสุนัขพันธุ์พันธุ์ Hottentot ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และมีความเกี่ยวข้องในการพัฒนาของสายพันธุ์ Rhodesiam ridgeback ในปัจจุบัน
สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน ถูกนำมาเลี้ยงโดยมีจุดประสงค์ที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสุนัขเฝ้าระวังและสุนัขแจ้งเตือนภัย สุนัขคุ้มกัน สุนัขสำหรับเกมส์ล่าสัตว์ หรือคอยกำจัดงูเห่าตามชายหาด ซึ่งโดยส่วนใหญ่สุนัขพันธุ์ไทยหลังอานมักจะอาศัยอยู่ทางตะวันออกของไทย โดยเฉพาะบนเกาะ เช่น เกาะดาวฟูก๊วก ซึ่งติดกับชายแดน ประเทศกัมพูชา และเวียดนาม
สายพันธุ์นี้พบครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1994 โดยมีบันทึกในสมาคมสุนัขในสหราชอาณาจักรในปี 1996 และมีบันทึกในสมาคม American Kennel Club’s Foundation Stock Service ในปี 1997

ลักษณะทางกายภาพ
จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขขนาดกลาง ขนาดลำตัวยาวกว่าความสูงของลำตัวเล็กน้อย ช่องอกมีความลึกถึงบริเวณข้อศอก มีโครงสร้างกล้ามเนื้อที่แข็งแรง กระดูกซี่โครงมีความโค้งงอ ผิวหนังมีความนุ่ม ละเอียด ขนสั้น เรียบ สีขนค่อนข้างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสีแดง ดำ เทาและน้ำตาลแกมเหลือง และมีสันเป็นแนวยาวตลอดกลางหลัง ซึ่งเป็นลักษณะที่เด่นชัดของสุนัขพันธุ์หลังอาน
โดยสันกลางหลังเกิดจากขนบริเวณหลังขึ้นย้อนกลับ ตั้งแต่หัวไหล่ จนถึงบริเวณกลางหลังหรือสะโพก ซึ่งสันที่เกิดขึ้นอาจมีลักษณะและความยาวที่แตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ แต่มักจะสมดุลกันระหว่างสองฝั่งของกระดูกสันหลัง
บริเวณกะโหลกระหว่างหูทั้ง 2ข้าง จะมีลักษณะแบน และมีความกลมเล็กน้อย เมื่อมองจากด้านข้าง บริเวณหน้าผากจะพบรอยย่นเล็กน้อยเมื่อสุนัขสนใจบางอย่าง จมูกมีสีดำแต่ในจมูกจะมีสีเทาอ่อน ส่วนบริเวณสันจมูกมีลักษณะตรงและยาว ริมฝีปากมีความพอดี และมีสีที่เหมาะสม ลิ้นที่มีจุดสีดำมักเป็นที่ต้องการ กรามมีความแข็งแรงทั้งบนและล่าง ฟันมีส่วนที่เป็นฟันเขี้ยวที่มีความแข็งแรง หางมีลักษณะตั้งฉาก โคนหางหนา และโค้งเล็กน้อย
อายุขัย
หมาพันธุ์ไทยหลังอานมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 10-12 ปี
ลักษณะนิสัย
สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน เป็นที่รู้จักในด้านความฉลาด รักอิสระ ซื่อสัตย์ เชื่อมั่นในตัวเอง มีความกระตือรือร้น พร้อมผจญภัยได้ตลอดเวลานอกจากนี้ยังต้องการความเป็นผู้นำจากเจ้าของ เพื่อเขาจะได้เป็นผู้ตามที่ดีได้ ทำให้สุนัขสายพันธุ์นี้สามารถเป็นได้ทั้งเพื่อน และคู่หูผู้ซื่อสัตว์
ส่วนข้อเสียของหลังอานคือ มักไม่ทนต่อการตำหนิอย่างรุนแรง เพราะจะเป็นการเพิ่มพฤติกรรมในด้านลบ จึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกให้เข้าสังคมในตอนที่ยังเด็ก เพื่อป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวในในตอนโต และแม้ว่าหลังอาจมักจะไม่ค่อยเห่า แต่ก็อาจจะทำเสียงเพื่อเป็นการเรียกร้องความสนใจ หรือเรียกร้องความต้องการได้
การเข้ากับเด็ก
สุนัขพันธุ์ไทยหลังอานสามารถเข้ากับผู้สูงอายุได้ดี แต่ด้วยความสุขุม เจ้าระเบียบ และตัวใหญ่ จึงอาจจะไม่เหมาะสำหรับบ้านที่มีเด็กสักเท่าไหร่ เพราะ เด็ก ๆ อาจได้รับอันตรายจากรอยขีดข่วน หรือการกระแทก ชน จากขนาดตัวของเขา
ควรจำไว้เสมอว่าสุนัขหลังอานไม่ค่อยคุ้นชินกับคนแปลกหน้า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าของควรระมัดระวัง และควบคุมดูแลเป็นพิเศษเมื่อเล่นกับเด็ก คนแปลกหน้า ๆ หรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ
การดูแล
การออกกำลังกาย
สุนัขพันธุ์หลังอาน ต้องการกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก เช่น การเดินระยะทางไกล และยังชอบการมีพื้นที่เพื่อวิ่งเล่น สุนัขหลังอานสามารถทนอยู่ได้ในห้องคอนโด หรืออพาร์ทเม้นท์ แต่ควรจะมีสวนสาธารณะใกล้ ๆ เพื่อให้เขาได้ออกมาวิ่งเล่น เพราะ หากรู้สึกเบื่อ หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ หลังอานอาจมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การทำลายข้าวของ
อาหาร
สุนัขพันธุ์ไทยหลังอานเป็นสุนัขที่ใช้พลังงานเยอะ จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เหมาะสม ควรเป็นอาหารที่ช่วยเสริมสมรรถภาพของร่างกาย อาหารเม็ดจึงเป็นอาหารที่สำคัญ นอกจากจะช่วยเรื่องสุขภาพแล้ว ยังช่วยให้ปากและฟันให้แข็งแรง ดีกว่าอาหารเปียกที่อาจก่อปัญหากลิ่นปาก และปัญหาช่องปากอื่น ๆ ตามมา
โรคประจำพันธุ์
- โรคผิวหนัง
- โรคขนคุด (Dermoid Sinus)
- โรคภูมิแพ้ (Alergies)
- โรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคกล้ามเนื้อกล่องเสียงเป็นอัมพาต (Laryngeal Paralysis)
- โรคระบบกระดูกเอ็นและข้อต่อ
- โรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติ (Hip Dysplasia)
- โรคเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด (Cranial Cruciate Ligament Ruoture)
- โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมแบบพองขยาย (Dilated Cardiomyopathy)
- โรคลิ้นหัวใจไมทรัลรั่ว (Mitral Regurgitation)
- โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
- โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (Gastric Dilatation and Volvulus)
- โรคระบบต่อมไร้ท่อ
- ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism)
- โรคอ้วน (Obesity)
- โรคมะเร็ง
- เนื้องอกแมสต์เซลล์ (Mast cell tumor)
เรื่อง : สุรภา ประติภาปกรณ์