คําว่า “บ้านไทยพื้นถิ่น” เป็นสิ่งที่หลายคนคงจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก แต่ บ้านปูน สไตล์โมเดิร์นหลังนี้ที่จังหวัดอ่างทองสามารถคลี่คลายนิยามของคําว่า “บ้านไทยพื้นถิ่นร่วมสมัย” ได้อย่างลงตัวและสวยงาม เพราะเป็นบ้านที่มีเอกลักษณ์แบบโมเดิร์น แต่ไม่ทิ้งภูมิปัญญาเดิม และมีความเข้าใจสภาพภูมิอากาศของไทย
ชานบ้านเป็นพื้นที่โปรดของครอบครัว ทั้งใช้นั่งเล่น รับแขก วันหยุดก็นั่งอ่านหนังสือชมวิวสวนจากตรงนี้ บ้านหลังนี้ยัง เปิดรับลมรับแดดที่เป็นความสบายแบบชนบทอยู่
เพราะคําว่าพื้นถิ่นไม่จําาเป็นว่าจะต้องกลับไปใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก หลังคาต้องมุงจาก หรือทําาลวดลายแบบไทยดั้งเดิม แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะมีความสําคัญในเชิงวัฒนธรรม แต่สิ่งที่สําคัญกว่าก็คือพื้นฐานของการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติ ซึ่ง บ้านปูน หลังนี้คือตัวอย่างของการทําความเข้าใจในบริบทพื้นถิ่นและวิถีการอยู่อาศัยที่เหมาะสม
“เราชอบของเราแบบนี้ อยากให้บ้านมีเอกลักษณ์ เพราะที่นี่เป็นต่างจังหวัด อยากให้คนขับรถผ่าน แล้วก็รู้ว่านี่ แหละบ้านคุณพยอม” คุณพยอม อัคควุฒิ เจ้าของบ้าน เอ่ยตอบเราอย่างอารมณ์ดีเมื่อถามว่าทํา ไมผู้ใหญ่วัยใกล้เกษียณถึงทํา บ้านปูน ที่ดูทันสมัยได้เช่นนี้
แนวคิด บ้านปูน ผสมความเป็นชนบท
“ผู้ออกแบบมาคุยกับเราและอธิบายส่วนต่างๆ ของบ้าน จริงๆ ก็เป็นบ้านที่เหมือนบ้านชนบทเรานี่แหละ ตรงชานบ้านเป็นพื้นที่โปรดของเราเลย ทั้งใช้นั่งเล่น รับแขก วันหยุดก็นั่งอ่านหนังสือชมวิวสวนจากตรงนี้ ไม่ใช่บ้านโมเดิร์นที่ปิดทึบเปิดแอร์ตลอดเวลา บ้านนี้ยังเปิดรับลมรับแดดที่เป็นความสบายแบบชนบทอยู่”คุณอุ้ม- รักตระกูล ใจเพียร และคุณแมน- ศตวรรษ ด้วงช้าง สถาปนิกจากบริษัทใจ อาร์คิเทคแอนด์อินทีเรีย จํากัด ออกแบบบ้านหลังนี้ โดยประยุกต์พื้นที่แบบ“บ้านไทย” ให้ดูร่วมสมัยและใช้งานได้เป็นอย่างดี
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ บ้านหลังนี้แยกระหว่าง “ชาน” กับ“เรือน” ออกจากกันอย่างชัดเจน โดยส่วนที่เรียกว่าชานจะทํา หน้าที่เป็น Common Space หรือพื้นที่กึ่งสาธารณะที่ทั้งเจ้าของบ้านและแขกที่มาพักสามารถใช้งานได้ขณะที่ตัวเรือนทํา หน้าที่เป็น Private Space ที่มีความเป็นส่วนตัวและแบ่งพื้นที่ของแต่ละคนออกอย่างชัดเจน โดยทั้งสองส่วนนี้จะเชื่อมถึงกันด้วย “Transition Space” ซึ่งก็คือห้องนั่งเล่นและห้องรับประทานอาหาร คุณอุ้มและคุณแมนได้สร้าง“ชาน”ที่มีส่วนผสมของการใช้งานระหว่างพื้นที่ใต้ถุนบ้านโบราณกับชานเรือนที่เป็นพื้นที่อเนกประสงค์
คุณอุ้มบอกกับเราว่า“คุณพยอมต้องการให้บ้านมีความกะทัดรัดอยู่สบาย และเป็นพื้นที่ที่ให้ความผ่อนคลาย เราจึงเริ่มเรียบเรียงพื้นที่ต่างๆ ตามความต้องการ จากนั้นแบ่งแต่ละส่วนให้แยกออกจากกันเพื่อให้มีลมพัดผ่านทุกส่วนของบ้านได้สะดวก แล้วจึงออกแบบส่วนที่เป็นอาคารให้ช่วยบังแดดและยกเพดานสูงเพื่อรับลมพื้นที่ส่วนชานนี้จึงร่มเย็นตลอดทั้งวัน”แม้จะเป็นพื้นที่ภายนอกบ้านซึ่งค่อนข้างเปิดโล่ง แต่ด้วยการวางทิศของตัวบ้านทํา ให้สามารถใช้งานพื้นที่ส่วนนี้ได้ตลอดเวลา โดยในอนาคตหลังจากเกษียณแล้ว คุณพยอมแอบบอกกับเราว่าจะปรับชานตรงนี้เป็นร้านอาหารอีกด้วย
นี่คือตัวอย่างดีๆ ของการที่คํา ว่า “โมเดิร์น”กับ“พื้นถิ่น”สามารถอยู่อย่างกลมกลืนไปด้วยกันได้นับเป็นความพื้นถิ่นที่ดูร่วมสมัยอย่างแท้จริง
เจ้าของ : คุณพยอม – คุณวิเชียร อัคควุฒิ
สถาปนิก : บริษัทใจ อาร์คิเทคแอนด์อินทีเรีย จํากัด โดยคุณรักตระกูล ใจเพียร และคุณศตวรรษ ด้วงช้าง
เรื่อง : วุฒิกร สุทธิอาภา
ภาพ : ศุภกร ศรีสกุล
บ้านปูนชั้นเดียว ตกแต่งแบบธรรมชาติ