บ้านคอนกรีต สไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล

เมื่อเดินผ่านประตูรั้วด้านหน้า บ้านคอนกรีต เข้าไป เราจะพบทางเดินไม้ลอยอยู่เหนือสระน้ำ ขนาบด้วยกำแพงดินที่มีมอสส์และเฟินแทรกอยู่เป็นระยะ ร่องไม้ที่ชั้นบนเว้นที่ว่างให้แสงสว่างลอดผ่านลงมาสะท้อนกับผืนน้ำ ดูระยิบระยับไปทั่วบริเวณ ปลาคาร์ปตัวเขื่องว่ายน้ำลอดจากมุมหนึ่งไปสู่อีกมุมหนึ่ง

Mr. Andra Matin เจ้าของและผู้ออกแบบบ้าน AM House หลังนี้ ยิ้มต้อนรับและผายมือเชิญเราเข้าสู่ภายในบ้าน เขาพาเราเดินขึ้นไปบนชั้นสองของบ้าน ซึ่งจัดวางโต๊ะยาวขนาด 4-5 เมตร เพื่อใช้รับแขก จากตรงนี้เรามองเห็น บ้านคอนกรีต สมัยใหม่ที่เปิดโล่งและมีพื้นที่อเนกประสงค์คล้ายบ้านใต้ถุนสูง อันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร

บ้านคอนกรีต

tt151118-166

คุณอันดราเป็นเจ้าของสำนักงานออกแบบ Andramatin และถือเป็นสถาปนิกรุ่นบุกเบิกที่เปิดรับงานออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างอิสระในประเทศอินโดนีเซีย สิ่งที่เขาใส่ใจที่สุดก็คืองานออกแบบที่สอดรับกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศนี้ บริษัทของเขาจึงเป็นผู้นำด้านงานออกแบบสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล

ดังจะเห็นได้ว่าบ้านคอนกรีตหลังนี้แทบไม่ใช้เครื่องปรับอากาศเลย มีเพียงสองจุดเท่านั้นคือห้องน้ำที่ชั้นใต้ดินซึ่งต้องใช้เครื่องกำจัดความชื้น และในห้องนอนชั้นบน นอกเหนือจากนั้นล้วนพึ่งพาพลังจากธรรมชาติทั้งสิ้น และอีกเรื่องหนึ่งที่คุณอันดราสนใจก็คือการออกแบบพื้นที่

tt151118-145

คุณอันดราอธิบายหลักการออกแบบพื้นที่ซึ่งใช้กับทุกงานออกแบบของเขา แม้แต่กับบ้านหลังนี้

“ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ (Spatial Relationship) ต้องมองไปถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นมากกว่าการมองแบบเป็นห้องสี่เหลี่ยม เพราะในความเป็นจริงกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะนั่ง นอน เดิน หรือยืน ต่างก็มีพื้นที่ ‘ระหว่างกัน’ ทั้งสิ้น เมื่อคิดได้ดังนี้ รูปทรงก็จะออกมาต่างอย่างที่ควรจะเป็น สามารถออกแบบร่วมกับเรื่องภูมิอากาศและการอยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม”

tt151118-051

tt151118-034

tt151118-082

การเปลี่ยนผ่านแต่ละพื้นที่ของบ้าน AM House เปรียบได้กับการผจญภัยย่อม ๆ ทั้งทางเข้าที่เดินทะลุขึ้นมายังเนินดิน ก่อนเข้าสู่พื้นที่รับแขกที่ลัดขึ้นบันไดเวียนสู่สวนดาดฟ้าได้ หากเดินจากพื้นลาดอีกด้านหนึ่งก็จะแยกออกไปยังเรือนเล็กของคุณอันดรา แล้ววนกลับเข้ามาที่ห้องของลูก ๆ ห้องทำงานชั้นล่างยังมีประตูซ่อนอยู่หลังชั้นหนังสือเพื่อออกไปยังห้องละหมาดและห้องน้ำได้อีกด้วย

การใช้ชีวิตอยู่ในบ้านคอนกรีต หลังนี้จึงคล้ายดินแดนเนเวอร์แลนด์ของปีเตอร์แพนก็ไม่ปาน เป็นเนเวอร์แลนด์ที่มีฉากหลังเป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศอินโดนีเซีย และงานออกแบบของคุณอันดราก็พาเราเข้าไปแนบชิดกับธรรมชาตินั้นได้อย่างแนบเนียนและหฤหรรษ์

tt151118-104

tt151118-112

tt151118-118

ของคุณอันดราจึงเต็มไปด้วยวิธีการใหม่ ๆ ในการใช้วัสดุดั้งเดิม อย่างในบ้านหลังนี้ การเลือกใช้ปูนเปลือยหล่อในที่เพื่อความคงทนถาวร แล้วจึงใช้ไม้ระแนงทำเป็นทางเดิน ไม้ระแนงเว้นร่องยังทำให้ลมพัดจากชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่งได้สะดวก

จังหวะของการเว้นที่ว่างเล็ก ๆ แต่มากความหมายในทุกส่วนของบ้านไม่ว่าจะเพื่อควบคุมมุมมองและปริมาณแสง ยังทำให้มีลมพัดเบา ๆ ตลอดทั้งอาคาร ทั้งหมดล้วนเกิดจากการกลั่นกรองมาอย่างละเอียดลออในทุกตารางนิ้วของ บ้านคอนกรีต หลังนี้เลยทีเดียว

ถ้าจะพูดว่า “สถาปัตยกรรมคือการเดินทาง” อย่างที่คุณอันดราว่าไว้ บ้านหลังนี้ก็เปรียบเสมือนการเดินทางสู่ความคิดคำนึงของผู้ชายที่ชื่อ “อันดรา มาติน” เพื่อทำความเข้าใจงานสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นทรอปิคัลนั่นเอง

Design Details

ด้านตัด

tt151118-063

จากเรือนเล็กของคุณอันดราจะเห็นเรือนใหญ่ทั้งหลังได้อย่างแจ่มชัด เส้นที่คาดกลางบ้านคือการออกแบบช่องแสงในระนาบเดียวกับราวจับของระเบียงทางเดิน เพราะแดดในเขตเส้นศูนย์สูตรนั้นมีค่าความเข้มของแสงสูง การออกแบบที่ดีจึงไม่ควรเปิดรับแสงแดดทั้งหมดโดยตรง การเว้นช่องนี้ คือการปล่อยให้ชายคาคอนกรีตทิ้งลงมาหาราวจับระเบียงในระยะห่างที่พอดิบพอดีนั่นเอง คนภายนอกจะไม่สามารถมองเข้าไปภายในบ้านได้ แต่คนที่อาศัยอยู่ภายในจะมองเห็นภายนอกได้อย่างชัดเจน

มากกว่าการประหยัดพลังงานคือการได้สัมผัสธรรมชาติ

บ้านหลังนี้ออกแบบมาให้ใช้ประโยชน์จากสายลมและแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น สระน้ำที่เมื่อถูกแดดเผาจะก่อให้เกิดไอระเหยของน้ำ เมื่อลมพัดผ่านจะกลายเป็นลมเย็นพัดเข้าสู่ตัวบ้าน ช่องลมรอบบ้านที่สร้างการไหลเวียนของอากาศที่เหมาะสม ช่องแสงจากหลังคาที่นำแสงธรรมชาติเข้าสู่มาห้อง ในขณะที่บนหลังคาก็มีบ่อน้ำเพื่อบรรเทาความร้อนจากแสงแดดที่แผดเผา

ในหลายจุดของบ้านก็เปิดช่องจากภายในห้องสู่ท้องฟ้า เพื่อประโยชน์ในการระบายอากาศและรับแสงแดด ซึ่งมีส่วนช่วยประหยัดพลังงาน แต่ที่ได้มากกว่านั้นคือการเข้าถึงธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพกายและใจที่ดี และหากคนหมู่มากใช้หลักการเดียวกันนี้ สภาพแวดล้อมของเมืองก็จะดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอนtt151118-164tt151118-057

tt151118-130

รู้กำหนดแสง

การออกแบบช่องแสงธรรมชาติที่เหมาะสม นอกจากจะได้ใช้ประโยชน์จากแสงในตอนกลางวันแล้ว ผู้อยู่อาศัยยังได้รับรู้ถึงสภาวะภายนอกอาคาร ไม่ทำให้เกิดความเครียดด้วยความรู้สึกของพื้นที่ที่ถูกปิดกั้น นอกจากนี้คุณอันดรายังได้ออกแบบไฟส่องสว่างที่แนบเนียนไปกับการรูปแบบของอาคารและต่อเนื่องกับการออกแบบช่องแสงธรรมชาติอีกด้วย

tt151118-109tt151118-084

เผยความงามแห่งธรรมชาติของวัสดุ

การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ทั้งราคา การใช้งาน และสามารถหาได้ง่ายในพื้นที่ก่อสร้าง เมื่อผ่านการออกแบบและเลือกใช้อย่างเหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดความงามที่สอดคล้องกับบริบทของงานออกแบบ เช่น ไม้ระแนงที่ดูเป็นวัสดุธรรมดา แต่ปรับใช้ได้หลากหลาย ทั้งยังมีราคาย่อมเยา ไม้Ulin ที่มีความทนทานสูง เมื่อมีเศษเหลือจากการปูพื้นก็นำมาใช้ตกแต่งขอบสระน้ำได้

ส่วนคอนกรีตหล่อในที่ก็ไม่จำเป็นต้องมีการเคลือบผิวแต่อย่างใด ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นวัสดุที่แสดงความงามของตัวเองออกมาจากการใช้งานที่พอเหมาะพอดีทั้งสิ้น

tt151118-138tt151118-171

tt151118-172


เรื่อง: วุฒิกร สุทธิอาภา
ภาพ: ศุภกร ศรีสกุล
เจ้าของ – ออกแบบ: Mr. Andra Matin

 ดูสไตล์บ้านคอนกรีตเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย


เป็นเพื่อนกันเราได้ใน Line@ : https://line.me/R/ti/p/%40slo7204x