BCG คืออะไร หรือคือทางออกเศรษฐกิจไทยในอนาคต

เศรษฐกิจประเทศไทยจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร BCG คืออะไร สำคัญอะไรกับเรามากน้อยแค่ไหน Bioeconomy, Circular Economy และ Green Economy อาจเป็นคำตอบซึ่งใกล้ตัวเรากว่าที่เคย ตั้งแต่หลังคาบ้านไปจนถึงเศษขยะที่(เคย)ไร้ค่า

เศรษฐกิจ BCG คือออะไร เรามาหาคำตอบกัน

พืชผักขายอย่างไรให้ได้ราคา วัคซีนและยาก็จำเป็นที่ต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น โอกาสในการหารายได้ใหม่ๆ เป็นอะไรได้บ้าง ปลุกชีพการท่องเที่ยวทำอย่างไรให้ยั่งยืน ขยะล้นแต่ทรัพยากรหดหาย การแข่งขันที่สูงขึ้น โมเดลเศรษฐกิจ BCG คืออะไร จะเป็นทางที่แก้ปัญหาต่างๆ ที่ทุกส่วนกำลังถูกขับเคลื่อนไปไหม เราควรรับรู้ไปด้วยกันเพื่อจะได้กำหนดแนวทางที่ถูกต้องในอนาคต

ขยายความ BCG คืออะไร

BCG เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต ที่มีการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามายกระดับเพื่อการแข่งขันและสร้างรายได้ให้กับเราได้มากขึ้น โดยย่อมาจากคำว่า Bioeconomy, Circular Economy และ Green Economy ตามลำดับ โดยทำความเข้าใจกันง่ายๆ ดังนี้

Bioeconomy เศรษฐกิจชีวภาพ

ต่อยอดทรัพยากรพืชและสัตว์ สู่ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาผลผลิตทางเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น อาทิ จากชานอ้อยกิโลละบาท ไปสู่สารประกอบที่นำไปผลิตเครื่องสำอางและอาหารกิโลละหลายร้อย เป็นต้น

Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน

การใช้ทรัพยากรต่างใช้เกิดคุ้มค่าามากที่สุด มีการหมุนเวียนใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดของเหลือทิ้ง ไม่เกิดขยะ ทุกกระบวนการ ลดปริมาณของเสียให้เป็นศูนย์ หรือ Zero Waste

Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว

การพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้สนใจแค่รายได้เท่านั้น แต่ยังต้องใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษ และความยั่งยืน อาทิ การไม่ใช้สารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาศตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช พบว่าโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจของไทยเดิมทีมีการพึ่งพาภาคเกษตรเป็นหลัก มีแรงงานในภาคเกษตรถึง 32.3% แต่รายได้กลับน้อยเมื่อเทียบแรงงานด้านอื่น นำไปสู่การขาดแคลนแรงงานในอนาคต

ทางออกของกับดักของการเกษคร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
การท่องเที่ยว ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และอื่นๆ

โดยโมเดลนี้ทางภาครัฐได้ผลักดันใช้ครอบคลุมไปยัง 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึงจะกลายมาเป็นอุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเป็นพระเอกในอนาคต (S-Curves) อันได้แก่

การเกษตรและอาหาร

จาก 5 ปีที่ GDP ทางการเกษตรของเราติดลบ จะมีการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร มีระบบวิเคราะห์ความต้องการผู้บริโภค ก่อให้เกิดความแม่นยำในการผลิต ลดของเหลือทิ้ง ตรวจสอบและติดตามผลผลิตแบบเรียลไทม์ เพื่อการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมิ่งจะมีบทบาทในการจัดการฟาร์มของเรา เป็นความรู้พื้นฐานที่จะช่วยเกษตรให้ทำงานง่ายและแม่นยำขึ้น รวมไปถึงลดค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานที่นับวันจะยิ่งขาดแคลน

นอกจากนี้ยังมุ่งยกระดับสินค้าเกษตรให้เป็นเกษตรปลอดภัย และสร้างความหลากหลายของผลผลิต อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพเฉพาะกลุ่ม อาหารแต่ละช่วงวัย หรือพัฒนาเป็นสารประกอบมูลค่าสูง

สุขภาพและการแพทย์

ที่ผ่านมาการพัฒนาในกลุ่มยา วัคซีน และเวชภัณฑ์ต่างๆ ขาดความจริงจังและต่อเนื่อง ทำให้ต้องเร่งพัฒนาด้านนี้อย่างจริงจัง รวมไปถึงสมุนไพรไทยให้มีคุณภาพมากขึ้น ตั้งแต่กระบวนการปลูกไปจนถึงแปรรูปใช้งานในระดับสูงขึ้นไป

พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

ทั้งขยะในครัวเรือน ขยะอุตสาหกรรม และของของเหลือทิ้งจากการเกษตร สามารถนำกลับมาหมุนเวียนเป็นพลังงานทดแทนได้ จนเป็นโรงไฟฟ้าชุมชนที่ขายไฟกลับเข้าสู่ระบบได้ นอกจากนี้ผลผลิตทางการเกษตรบางส่วนยังต่อยอดไปสู่วัสดุชีวภาพที่มีมูลค่าสูงได้ด้วย อาทิ พลาสติกชีวภาพ เส้นใยธรรมชาติ เภสัชภัณฑ์ หากมีความรู้ก็สามารถแปรรูปสร้างรายได้จากทรัพยากรในไร่นา หรือจะสร้างพื้นที่ปลูกเฉพาะก็ได้ อย่างเช่น เส้นใยจากไผ่หรือกัญชงที่มีลักษณะเฉพาะ

การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

มองไปในวันข้างหน้าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะต้องฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง แต่จะกลับมาพร้อมกับการจัดการแบบใหม่ในแบบดิจิตอล ทั้งการให้ข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูล และการวางแผน เพื่อทั้งสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างสร้างสรรค์ ที่ต่างจากการท่องเที่ยวแบบเดิมและมีความยั่งยืนขึ้นมากขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เกิดเป็นการท่องที่ยวใหม่ๆ กระจายไปสู่เมืองรอง หรือแม้แต่ชุมชนเล็กๆ ที่มีความน่าสนใจ มีเรื่องราวที่อาจจะยังไม่ได้เคยถูกบอกเล่ามาก่อน

การทดลองวัสดุบ้านๆ อย่างเศษแก้ว กะลามะพร้าว กระดองปู ผักตบชวา กากกาแฟ ให้เป็นวัสดุใหม่ในรูปแบบที่น่าสนใจ โดย THINKK Studio
THAIS ECOLEATHERS ผู้ประกอบการไทยรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนเศษหนังเป็นวัสดุในการออกแบบ

แล้วเราจะได้อะไร

มาถึงตรงนี้หลังจากเรารู้แล้วว่า BCG คืออะไร หากเราเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงที่กำลังถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้า การบริหารจัดการเรือกสวนไร่นาของเราก็จะเหมือนมีตัวช่วย มีเพื่อน มีเครือข่าย มีคู่ค้า ที่ส่งต่อผลักดันกันมากขึ้น และลูกค้าที่รออยู่ในอนาคตตรงหน้า หลายคนอาจทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนหลังคาเป็นโซล่าร์เซลเพื่อเป็นพลังงานสะอาดในพื้นที่ การใช้ประโยชน์จากขยะอุตสาหกรรมและการเกษตร การพัฒนาสายพันธุ์พืชผลิตสมุนไพรที่มีคุณภาพ การค้นคว้าและวิจัยทางเทคโลโลยี การใช้ความสำคัญกับเกษตรปลอดภัย หรือการใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบทั้งผลิตภัณฑ์และระบบที่ตรงใจกับแนวโน้ม เพียงแต่ลองจัดการทุกอย่างให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ก็จะช่วยทำให้สิ่งเราทำไปต่อได้ไกลในเชิงเศรษฐกิจ ให้คนตัวเล็กๆ ก็สามารถสะท้อนภาพไปยังภาพที่ใหญ่ขึ้นได้ และเติบโตป็นผู้ประกอบการที่ยั่งยืน จากพื้นฐานแนวคิด BCG


เรื่อง: สมัชชา วิราพร


ฟาร์มผักดาดฟ้า ที่เปลี่ยนขยะเป็นอาหาร

การทำเกษตรแบบคนเมือง การจัดการขยะ และ IoT ที่ฟาร์มลุงรีย์

นิทรรศการเพื่อโลกที่ดีขึ้นโดย room

ปลูกกัญชาในโรงเรือนอัจฉริยะ

ติดตามบ้านและสวน www.facebook.com/baanlaesuanmag