หลังจากการศึกษาและงานวิจัยจากหลายแหล่ง รวมไปถึงโครงการวิจัยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS พบว่าสารสกัดจากกระชายขาวมีฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรคโควิดในหลอดทดลอง ทำให้หลายคนเริ่มตื่นตัว ออกไปหาซื้อกระชายขาวจนขาดตลาด ทั้งที่การปลูกกระชายขาวนั้นง่ายมาก ถึงมีแค่เหง้าเดียวก็สามารถขยายพันธุ์และปลูกได้อีกหลายสิบต้น
กระชายขาว หรือ กระชายที่เราบริโภคกันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf. มีลักษณะเป็นพืช ที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ซึ่งตามปกติแล้วส่วนของรากหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดินของพืชทั่วไปจะมีหน้าที่หลักในการดูดซึมอาหารเพียงเท่านั้น แต่สําหรับกระชายขาวแล้ว เหง้าของกระชายขาวมีการพองออกเป็นเหมือนนิ้วคน ชื่อภาษาอังกฤษ ของกระชายขาวจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า Fingerroot
พืชสมุนไพรล้มลุก มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจํานวนมาก ลักษณะรากอวบน้ํา ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย รับประทานเป็นเครื่องจิ้มหรือส่วนประกอบของผัดเผ็ดและน้ําพริกแกง เนื่องจากกระชายขาวช่วยดับกลิ่นคาวได้ดี ใช้เหง้าแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ช่วยขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวน รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ช่วยขับลม และเจริญอาหารได้ดี
ความน่าสนใจของเหง้ากระชายขาวก็คือ ความสามารถในการเพิ่มจํานวนของมัน ถ้าหากใครอยากจะขยายพันธุ์ของกระชายโดยง่ายแล้วละก็ สิ่งที่ต้องทําก็คือ หั่นเหง้ากระชายขาว ออกเป็นท่อนๆ แล้วนําไปลงดิน เหง้าแต่ละท่อนจะสามารถเพิ่มงอกเป็นต้นกระชายขาวใหม่ได้
วิธีปลูก
1.คัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุ 7–9 เดือน มีตาสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทําลาย อย่างกระชายขาวที่มีขายในท้องตลาดถือว่าใช้ได้
2.การปลูกให้แบ่งหัวหรือเหง้าโดยหั่นขนาดของเหง้า ควรมีตาอย่างน้อย 3–5 ตาหรือแง่ง
3.ฝังลงดินลึกประมาณ 5–1 0 เซนติเมตร จากนั้นใช้ฟางคลุม
4.ประมาณ 1–2 เดือน จึงหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 8–12 เดือน
ลักษณะดังกล่าวทาง Doctrine of Signature เป็นตัวบ่งบอกอย่างสําคัญว่า กระชายขาวน่าจะเป็นสมุนไพรที่มีส่วนในการบํารุงสมองได้เพราะรากของพืชโดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายกับการแตกแขนงของปลายประสาทสมอง รากหรือเหง้าของพืชหลายๆอย่างที่มีการพองออกเป็นกระเปาะ เช่น โสม จึงมีวิจัยออกมาว่าช่วยบํารุงสมองได้ ยิ่งเหง้ากระชายสามารถแบ่งเพิ่มจํานวนได้มากเช่นนี้ ก็ยิ่งตอบโจทย์ในการกระตุ้นให้เซลล์สมองซ่อมแซมตนเองได้ดียิ่งขึ้น
น่าสนใจว่างานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ออกมายืนยันเช่นนั้นจริงๆ เพราะว่ามีการ ค้นพบว่า สารสกัดของกระชายขาวมีคุณสมบัติที่เข้าไปเป็น Serotonin Receptor Antagonist และมีผลช่วยทําให้คุณภาพการนอนดีขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง หลายๆอย่าง การกินกระชายขาวจึงมีผลทําให้หลายๆคนมีความรู้สึกสมองสดชื่นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้กลิ่นอโรมาของกระชายขาวในทางสมุนไพรแล้วยังมีฤทธิ์ในการขจัดอาการง่วงเหงาเซื่องซึมที่เรียกว่า “โรคลม” ของการแพทย์องค์รวมอีกด้วย ดังนั้นหากใครที่ตื่นมาไม่สดชื่นแล้วละก็ กระชายขาวจึงเป็นตัวเลือกสมุนไพรหนึ่งที่น่าสนใจจะนํามารับประทานกันเป็นประจํา