คุยกับคุณเสวก ริ้วบํารุง คุณพ่อของคุณวิทย์-ศิริวิทย์ ริ้วบํารุง ถือเป็นหนึ่งในกูรูที่น่าเชื่อถือแห่งวงการต้นไม้ ท่านเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสวยงามของต้นไม้นานาชนิดที่ปลูกประดับในอาณาบริเวณของร้าน Little Tree และ Whispering Cafe ทั้งยังเป็นนักสะสมและประกวดต้นไม้ที่มีชื่อในวงการ โดยเฉพาะกลุ่มไม้ใบที่กําลังอยู่ในกระแส ทําให้เนิร์สเซอรี่ของคุณเสวกกลายเป็นแหล่งขายส่งและสะสมไม้ใบที่หลายคนต่างแย่งกันจับจอง
ชีวิตที่อยู่กับต้นไม้มาตั้งแต่แรก
“ผมปลูกต้นไม้และทํา สวนมาตั้งแต่หนุ่มๆ ตอนนั้นบริเวณนี้(อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม) ยังปลูกแต่ส้มโอ จนมาเป็นองุ่น เราปลูกแล้วเน้นที่คุณภาพของผลผลิตเสมอ ดูแลดีจนสมัยนั้นตํา รวจจับ เพราะคิดว่าเราแอบขายผลไม้ที่ลักลอบนํา เข้าจากต่างประเทศ จากนั้นก็มาเริ่มปลูกและขยายพันธุ์เพื่อจําหน่ายต้นไม้จริงๆ คือกลุ่มกล้วยไม้เมื่อราวยี่สิบกว่าปีที่แล้ว ซึ่งผมถือว่าเป็นคนแรกในอํา เภอสามพรานเลยที่เริ่มปลูกกล้วยไม้แบบจริงจัง” คุณเสวกเล่า
คุณเสวกและคุณวิทย์เริ่มเก็บสะสมต้นไม้หลายชนิด ทั้งที่เป็นที่นิยมในขณะนั้นและจากความชื่นชอบส่วนตัว ภายในสวนจะมีมุมหนึ่งให้ทั้งพ่อและลูกได้วางสะสมต้นไม้แปลกๆ ตั้งแต่บอนสี โฮย่า โกสน หน้าวัว เฟิน รวมถึงกลุ่มไม้ใบที่กําลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ด้วย โดยอาศัยความชํานาญในการปลูก ดูแลและขยายพันธุ์ต้นไม้จากการทําอาชีพด้านเกษตรกรรม
“ยังจํา ได้ว่าตอนเด็กเราซื้อพวกเสน่ห์จันทร์ขาวมาปลูก ตอนนั้นก็ราคา 700-800 บาท ซึ่งถือว่าแพงมาก แต่ทั้งหมดเราก็เลี้ยงเล่นๆ ไม่ได้คิดจะขายจริงจัง เราสะสมต้นไม้กันมาเรื่อยๆ พอเลิกเลี้ยงกล้วยไม้ก็เริ่มเข้าสู่วงการไม้ใบในที่สุด ซึ่งบรรยากาศในตอนนั้นก็ไม่เหมือนกับทุกวันนี้” คุณวิทย์เล่า
ตลาดต้นไม้ใบในวันวาน ที่ต่างจากวันนี้
เป็นระยะเวลากว่าสิบปีมาแล้วที่คุณเสวกโลดแล่นอยู่ในวงการไม้ใบ ซึ่งในอดีตจะนิยมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ และไม่ใช้คําว่า “ไม้ใบ” แต่เจาะไปเลยว่ากลุ่ม “เฟิน” “หน้าวัวใบ” “บอนสี” “บีโกเนีย” เป็นต้น ซึ่งเหล่านักสะสมก็จะเป็นกลุ่มเฉพาะที่มีจํานวนไม่มาก ส่วนใหญ่รู้จักกันหมดเพราะคนที่สะสมจริงๆ ก็จะเพาะและขยายพันธุ์เพื่อประกวดตามโอกาสต่างๆ โดยจะเห็นหน้าค่าตากันอยู่เสมอ คนที่ชื่นชอบต้นไม้กลุ่มเดียวกันก็จะแลกเปลี่ยนต้นไม้กันบ้าง ส่วนเรื่องราคานั้นจะขึ้นอยู่กับความแปลกของต้นนั้นๆ ที่มาจากการผสมหรือค้นพบสายพันธุ์ใหม่ รวมไปถึงสีสันหรือรูปทรงที่ผิดแปลกไปจากในธรรมชาติ นักสะสมบางคนที่ชอบผสมสายพันธุ์ใหม่ๆ ก็จะนิยมตั้งชื่อพันธุ์ที่ตนเองเป็น
ผู้ผสมหรือค้นพบด้วยตนเอง
“ผมเป็นคนที่ไหวตัวเร็ว พอราคาเริ่มตกเราก็เลิกขาย หันมาเก็บสะสมทําพันธุ์ไว้อย่างเดียว เพื่อรอเวลาที่ต้นไม้เหล่านี้จะกลับมาฮิตใหม่ เราก็เอาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่เราเก็บไว้กลับมาเพื่อทํา จํา นวน ตอนที่หน้าวัวใบมาแรง ตอนนั้นผมก็ผสมได้ถึง 3 สีในต้นเดียว ขายได้ราคาเป็นแสนก็คิดว่าเยอะแล้วนะ ทั้งที่มีกลุ่มคนเล่นแค่คนไทยกับคนอินโดนีเซียเท่านั้นเอง มาตอนนี้ไม้ใบนั้นเข้าถึงคนทุกเพศทุกวัยทุกสัญชาติซึ่งต่างให้ความสนใจ ก็เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงมีกลุ่มนายทุนเข้ามาจับเหมือนเล่นหุ้นด้วยอีก เป็นอะไรที่ไม่เคยคิดเหมือนกัน” คุณเสวกเล่า
อนาคตของวงการไม้ใบ
“ส่วนตัวเราทํา เท่าที่มี ผมจะไม่เล่นต้นไม้ตามกระแสมาก เพราะเดี๋ยวจะเจ็บตัว อย่างแรกเราชอบอะไรก็ซื้อ หากเราไม่ใช่นักลงทุน เราจะค่อยๆ ทําไปได้ ต้นไหนที่เรามีแล้วขายได้ก็ขยายพันธุ์แล้วขายไป ทําจํานวนไม่ให้เราเจ็บตัวแต่หากต้องการปลูกต้นไม้เพื่อขายก็ต้องประเมิน ต้นไม้บางต้นราคาสูง ถ้ามันขยายพันธุ์ยาก โตช้า ก็ไม่น่าซื้อมาเพื่อขยายพันธุ์ขาย มันจะเจ็บตัวเพราะทุนจม กว่าจะโตแล้วขาย ก็อาจขายไม่ได้หรือได้กํา ไรน้อยกว่าตอนซื้อ ตัวไหนขยายพันธุ์ยากผมจะรีบขายไปเลย ตั้งแต่สมัยที่ผมเล่นกล้วยไม้ มันสอนเราว่าต้องดูตลาดให้เป็น ในช่วงที่ขายได้ต้องรีบขาย อย่าเก็บจนขายไม่ได้ เพราะบางชนิดพอกระแสมันเลิกฮิตก็จบ ขายไม่ได้แล้ว แต่เหนือสิ่งอื่นใด ต้นไม้ของเราที่จําหน่ายให้ลูกค้าต้องสมบูรณ์ สวยงาม และแข็งแรง” คุณเสวกเล่า
สําหรับการขยายพันธุ์ไม้ใบของคุณเสวกจะใช้วิธีตัดยอดหรือข้อเพื่อปักชําโดยไม่ได้ล่อรากหรือเพาะเมล็ด เทคนิคคือการเลือกตัดและปลูกใหม่ในตอนเช้าที่แดดยังไม่แรง โดยนําใส่กระถางพร้อมเครื่องปลูกคือกาบมะพร้าวสับเพียงอย่างเดียว จากนั้นก็นําไปอนุบาลบริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ไม่ให้โดนแดดเต็มที่ประมาณหนึ่งสัปดาห์ จึงนํามาวางในเนิร์สเซอรี่รวมกับต้นอื่นๆ เพื่อปลูกให้ได้ขนาดและรูปทรงต้นที่สมบูรณ์
ในช่วงที่วงการไม้ใบกําลังรุ่งมีคนมากมายก้าวเข้ามา อาจมาด้วยใจรักหรือแสวงหากําไร แต่สําหรับคุณเสวกผู้เฝ้ามองความเป็นไปของวงการนี้มาอย่างยาวนาน ก็ขอเลือกอยู่ตรงกลางระหว่างความรักกับอาชีพ ไม่ว่าในอนาคตวงการไม้ใบจะเติบโตหรือซบเซาลง ก็ยังสามารถอยู่บนเส้นทางของคนรักต้นไม้ได้อยู่เสมอ ทั้งยังคงไว้ซึ่งจรรยาบรรณในอาชีพที่ซื่อตรงและรอบคอบไม่เปลี่ยนแปลง
TIPS กาบมะพร้าวต้องแช่นํ้า 3 วันก่อนใช้งานโดยเปลี่ยนเทนํ้าทิ้งทุกวัน เนื่องจากมีสารลิกนินและสารแทนนินในกาบมะพร้าวที่เห็นเป็นคราบสีนํ้าตาล ซึ่งจะไปเคลือบตัวรากและลําต้นทําให้รากไม่เดิน
เรื่อง : ปัญชัช
ภาพ : ฤทธิรงค์ จันทองสุข