สวนเมืองร้อน ของสถาปนิกระดับโลก

บ้านและสวนเดินทางไปประเทศศรีลังกา และมีโอกาสได้เยี่ยมชมบ้าน สวน และสถานที่สวยๆหลายต่อหลายแห่ง ที่หนึ่งที่เราประทับใจคือบ้านในสวนกว้างของสถาปนิกระดับปรมาจารย์ชาวศรีลังกาที่ชื่อ Geoffrey Bawa  หลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อเสียงและเห็นภาพผลงานของเขามาบ้างแล้ว ที่นี่ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวก่อนที่เขาจะกลายเป็นผู้ที่ทำให้สถาปัตยกรรมและการจัดสวนสไตล์บาหลีเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก สวนเมืองร้อน

baligarden สวนบาหลี

สวนเมืองร้อน tropicalgarden
ไม้ที่มีรูปทรงสวยงาม เช่น อากาเว่ และลั่นทมที่มีอายุหลายสิบปี (เกือบร้อยปีก็มี) ปลูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เด่นสง่าในหลายๆจุดของบริเวณอุทยาน 

บาวาเติบโตในครอบครัวเลือดผสมในยุคที่ประเทศศรีลังกายังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ เขาได้รับการเลี้ยงดูแบบผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก ดังนั้นความคิดความอ่านและมุมมองของเขาในเรื่องศิลปะวัฒนธรรมจึงกว้างขวาง แม้จะเรียนจบทางด้านกฎหมายในปี 1942 และเริ่มทำงานเป็นทนายความตามที่บิดาคาดหวังไว้ แต่หลังจากทำงานนี้ได้ไม่นานเขาก็เริ่มเบื่อหน่าย ในที่สุดบาวาก็ลาออกจากงานและไปท่องเที่ยวทวีปยุโรปในปี 1946 การเดินทางครั้งนี้ทำให้เขาหลงใหลในสุนทรียภาพของสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมคลาสสิกของประเทศอิตาลี เขาได้เห็น วิลล่า หรือคฤหาสน์บนเขาที่มีสวนและทิวทัศน์โดยรอบที่เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว เมื่อเดินทางกลับประเทศศรีลังกาในปี 1948 เขาได้ซื้อสวนยางพาราเก่าที่ปล่อยทิ้งร้างบนภูเขาในเมืองเบนโตตา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ และหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะแปลงโฉมที่ดินเสื่อมโทรมผืนนี้ให้กลายเป็นสวนสวยแบบที่เขาเคยเห็นในประเทศอิตาลี สวนยางแห่งนี้มีชื่อว่า ลูนากังก้า (Lunaganga) สวนสไตล์บาหลี

สวนเมืองร้อน tropicalgarden
ขั้นบันไดที่นำทางไปตามสภาพภูมิประเทศ กำแพงสีเหลืองบ่งบอกถึงขอบเขตของพื้นที่ที่อยู่ข้างหน้า และเมื่อเดินไปถึงจะพบม้านั่งคอนกรีตที่เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงและพื้นสวน ช่องเปิดบนกำแพงนำสายตาออกไปยังทิวทัศน์ข้างนอก ทั้งหมดนี้คือการออกแบบบรรยากาศและสร้างเรื่องราวในสวนกว้าง ด้วยการวางเส้นทาง กำหนดขอบเขต และสร้างจุดหมาย (Path, Edge & Destination) ซึ่งเป็นองค์ประกอบขั้นพื้นฐานในการออกแบบสวนและผังเมือง
สวนเมืองร้อน tropicalgarden
ศาลาก็ไม่ใช่ ซุ้มประตูก็ไม่เชิง มุมพักผ่อนกับเสาโรมันดูกลืนไปกับพรรณไม้รอบๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสวน

บาวาพยายามออกแบบบ้านและจัดสวนด้วยตัวเอง แต่ก็ได้พบความจริงว่า เขามีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการออกแบบบ้านและสวนไม่มากพอ ในปี1951 เขาตัดสินใจหางานทำในสำนักงานสถาปนิกเพื่อหาประสบการณ์เพิ่มเติม  และสมัครเข้าเรียนด้านสถาปัตยกรรมที่ Architectural Association สถาบันออกแบบที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ ขณะนั้นเขามีอายุ 34 ปี และกลายเป็นนักศึกษาปีหนึ่งที่มีอายุมากที่สุดในโรงเรียน 

สามสิบปีต่อมาบาวากลายเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของประเทศศรีลังกา ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อวงการออกแบบทั่วโลกในช่วงปลายศริสต์ศตวรรษที่ 20  เขาได้รับการยกย่องให้เป็นนักออกแบบที่ผสมผสานสุนทรียภาพจากระเบียบแบบแผนในงานออกแบบของยุโรปให้เข้ากับศิลปะวัฒนธรรม และเสน่ห์การใช้ชีวิตของชาวเอเชียใต้ได้อย่างกลมกลืน นอกจากงานในประเทศแล้ว เขายังมีงานออกแบบในกลุ่มประเทศเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่ง โดยเฉพาะที่โรงแรมบนเกาะบาหลีซึ่งกลายเป็นต้นแบบของอาคารในประเทศเขตร้อนที่เราเรียกว่า สไตล์บาหลี   ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้หมายถึงงานออกแบบจากเกาะบาหลีสักทีเดียว ในต่างประเทศมีการให้คำจำกัดความสไตล์การออกแบบของเขาว่าเป็น “Romantic Vernacular” หมายถึงงานออกแบบพื้นถิ่น (Vernacular) ของแถบเอเชียใต้ ที่ผนวกเข้ากับวิธีการคิดแบบยุโรป โดยเฉพาะจากอิตาลี (Roman) 

สวนเมืองร้อน tropicalgarden
ตัวบ้านดูเป็นส่วนหนึ่งของภูมิประเทศ หลังคาลาดเอียงแต่ขนานไปกับพื้นดิน ทางเดินและบันไดต่างๆวางให้ลดหลั่นเป็นส่วนหนึ่งของเนินเขา

สวนเมืองร้อน tropicalgarden

 

สวนเมืองร้อน tropicalgarden
ตัวอย่างบางส่วนของสถาปัตยกรรมสไตล์ Romantic Vernacular ซึ่งมีความเป็นสมมาตรและใช้สัดส่วนต่างๆตามแบบตะวันตก แต่วัสดุ สีสัน และองค์ประกอบต่างๆของตัวอาคารเข้ากันได้ดีกับบริบทของความเป็นเขตร้อน
สวนเมืองร้อน tropicalgarden
การเปลี่ยนวัสดุปูพื้นในบริเวณต่างๆของสวนเพื่อรองรับกิจกรรมที่ต่างกัน ในภาพคือลานหินที่ใช้วัสดุเดียวกันกับพื้นข้างในบ้านพักของบาวา นอกจากจะเหมาะกับการใช้งาน เช่น จัดงานสังสรรค์แล้ว ยังทำให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน แม้จะอยู่ภายนอก
สวนเมืองร้อน tropicalgarden
“Tropical Villa” บรรยากาศบ้านกลางสวนแบบอิตาลีท่ามกลางไม้เมืองร้อนอย่าง ขนุน เฟิน และตีนตุ๊กแก

สวนเมืองร้อน tropicalgarden

มุมมองของสวนยุโรปในบริบทของสวนเมืองร้อน ซึ่งมีทั้งการกำหนดจุดยืนที่เห็นภูมิทัศน์ในมุมกว้างหรือลึก การจัดสวนด้วยพรรณไม้เมืองร้อนที่ดูโปร่งตามากกว่าสวนแบบเขตร้อนทั่วไป ระยะห่างระหว่างต้นไม้ก็คล้ายกับป่าโปร่งมากกว่าป่าร้อนชื้น รวมถึงการวางรูปปั้นโรมันเป็นจุดหยุดสายตาและช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับ ทัศนียภาพ
สวนเมืองร้อน tropicalgarden
บันไดสูงตามไหล่เขาที่ปกคลุมด้วยความเขียวชอุ่มของใบเฟิน ต้นหมากทรงสูงทางด้านขวาให้ร่มเงาแต่ไม่บดบังทิวทัศน์
สวนเมืองร้อน tropicalgarden
บันไดสูงตามไหล่เขาที่ปกคลุมด้วยความเขียวชอุ่มของใบเฟิน ต้นหมากทรงสูงทางด้านขวาให้ร่มเงาแต่ไม่บดบังทิวทัศน์
สวนเมืองร้อน tropicalgarden
ใช้กำแพงหรือแนวต้นไม้แบ่งพื้นที่ให้ได้สวนที่มีขนาดไม่ใหญ่เกินไป ขณะเดียวกันก็ใช้ซุ้มประตูหรือช่องเปิดบนกำแพงเป็นตัวช่วยเปิดมุมมองเพิ่มเติมเพื่อสร้างมิติที่น่าสนใจให้กับสวน
ใช้กำแพงหรือแนวต้นไม้แบ่งพื้นที่ให้ได้สวนที่มีขนาดไม่ใหญ่เกินไป ขณะเดียวกันก็ใช้ซุ้มประตูหรือช่องเปิดบนกำแพงเป็นตัวช่วยเปิดมุมมองเพิ่มเติมเพื่อสร้างมิติที่น่าสนใจให้กับสวน

 

ปลูกพรรณไม้เพื่อลดความแข็งกระด้างของสิ่งก่อสร้างในสวน เช่น ตีนตุ๊กแกที่ขึ้นอยู่ตามระเบียงและบนผนัง หรือมอสที่ขึ้นบนพื้นอิฐ เพราะสีเขียวที่เห็นทำให้ทุกอย่างดูเป็นธรรมชาติมากกว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น C.ขั้นบันไดที่เหมือนโผล่ขึ้นมาจากดินมากว่าที่จะเป็นทางเดินที่คนเอามาวางทับพื้นสวน

ณ สวนแห่งนี้เราได้เห็นถึงสิ่งที่บาวาได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 1948 จนถึงปี 1998 ระยะเวลาที่เขาทุ่มเทให้กับสวนแห่งนี้ยาวนานกว่าชีวิตการทำงานด้านสถาปัตยกรรมของเขาเสียอีก  ที่นี่จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่บ้านตากอากาศ แต่เรียกว่าเป็นชีวิตจิตใจของเขาเลยก็ว่าได้  เพราะที่นี่คือแรงบันดาลให้เขากลายเป็นนักออกแบบ ที่นี่คือผลงานชิ้นเอกของสถาปนิกระดับโลก และที่นี่คือสวนแรกและสวนสุดท้ายของบาวา ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี 1998

 เขาได้วางแผนให้บ้านกลางสวนแห่งนี้เป็นอุทยานพิพิธภัณฑ์ และเปิดให้เช่าสถานที่เพื่อจัดงานต่างๆ หรือเป็นบ้านตากอากาศ ปัจจุบันเงินที่ได้จากการทำธุรกิจจะกลับเข้ากองทุนเพื่อนำไปบำรุงรักษาบ้านและสวน ลูนากังก้า แห่งนี้ต่อไป 

เรื่อง : เจรมัย พิทักษ์วงศ์

ภาพ : ฤทธิรงค์, ปิยะวุฒิ, เจรมัย


สวนธรรมชาติ ทรอปิคัลผสมสไตล์อังกฤษ

สวนทรอปิคัลตามแบบธรรมชาติ