เปลี่ยนคอร์ตรับลมบ้านปูน เป็นบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน

พื้นที่ 100 ตารางวาผืนนี้ มีโจทย์เป็นบ้านสองหลังของพี่และน้อง โดยแบ่งที่ดินออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน แต่ยังมีพื้นที่เชื่อมต่อเพื่อรำลึกถึงบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน ซึ่งทั้งสองเติบโตเป็นคอร์ตรับแสงซ่อนตัวไว้อยู่ภายในบ้านทรงโมเดิร์นภายนอกสองหลังที่หันหน้าเข้าหากันอย่างมีชั้นเชิงในการสร้างสเปซ

บ้านไม้ฝั่งธน
ส่วนคอร์ตกลางบ้านถูกแปลงให้มีบรรยากาศแบบบ้านไม้ มีช่องเปิดที่เชื่อมเห็นกันคนในบ้านก็สามารถทักทายกันได้ตลอดตามแนวคิดบ้านแบบคอมมูนิตี้ ในภาพคุณหนอนอยู่ตรงกลางสะพานทางเชื่อมและพี่ชายโทรศัพท์อยู่บนชั้นสามฝั่งบ้านตัวเอง
บ้านไม้ฝั่งธน
คอร์ตทางเชื่อมตรงกลาง ปลูกต้นชงโคให้เลื้อยพอดีเป็นรื่มเงา และลานตรงนี้ยังใช้เป็นส่วนสังสรรค์ทั้งในหมู่เพื่อนทั้งสองบ้าน
บ้านไม้ฝั่งธน
ระเบียงห้องนอนชั้นสามของห้องนอนพี่ชาย

บ้านไม้ฝั่งธน

 แบ่ง 2 แต่ได้ 3

“ที่ดินคือเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเลย คุณหนอนเจ้าของบ้านตกลงแบ่งที่ดินกับพี่ชาย 50 ตารางวา และลงทุนสร้างกันคนละส่วนด้วยงบประมาณที่ไม่เยอะ เราจึงแบ่งฟอร์มของที่ดินให้เอียงเล็กน้อย แล้วเป็นไอเดียที่บิดทบเข้ามา จับแยกเป็นช่องว่าง จัดให้เยื้องกันเพื่อมองเห็นกันได้แต่ก็มีความเป็นส่วนตัวด้วย” คุณอ๊อด-ภากร มหพันธ์ สถาปนิกแห่ง M Space บอกเล่าถึงที่มาที่ไปของโจทย์ในการออกแบบ บ้านไม้ฝั่งธน หลังนี้

บ้านไม้ฝั่งธน
จากชั้นสามห้องนอนคุณหนอนมองเหลื่อมไปยังห้องนอนพี่ชายซึ่งอยู่อีกด้าน ตรงนี้จะเห็นส่วนหลังคาที่ลาดลงไปเป็นชั้นสองอีกด้านอย่างชัดเจน

บ้านไม้ฝั่งธน

พร้อมกับแนวคิดที่ใช้สร้างพื้นที่ของบ้านสองหลังที่อยู่ด้วยกัน โดยเมื่อแบ่งบ้านและที่ดินออกเป็น 2 ส่วนแล้ว คุณอ๊อดได้คว้านสเปซตรงกลางออก กลายเป็นคอร์ต แล้วจำลองบรรยากาศบ้านเก่าในความทรงจำมาเป็นผนังกรุไม้ พื้นไม้เทียมสีเข้ากัน ช่องเปิดทั้งใหญ่เล็ก และทางเชื่อมของระเบียง เสมือนบ้านหลังที่สามที่ถูกสร้างอื่นด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม กระจายเป็นความอบอุ่นอยู่ภายใน ในด้านการก่อสร้างก็เป็นบ้านคอนกรีตปกติ แต่จะใช้โครงสร้างเหล็กในส่วนทางเชื่อม

บ้านไม้ฝั่งธน

ชุมชนเก่า บ้านไม้ฝั่งธน และคนอาศัย

บ้านที่เชื่อมโยงกันด้วยเรื่องราวนี้ ยังจำลองความเป็นตรอกซอยของบ้านสมัยก่อนที่มักจะอยู่ร่วมกัน มองเห็นกัน ไปมาหาสู่กัน เหมือนชุมชนซึ่งแต่ละคนต่างรู้จักกันไว้ภายใน ซึ่งคุณหนอนเรียกความอยู่ร่วมกันแบบนี้ว่าเป็นบ้านที่เหมือนคอมมูนิตี้ เพราะนอกจากความสัมพันธ์ของพี่น้องเองที่อยู่ร่วมกันภายใน โดยคุณหนอนอยู่ร่วมกับคุณแม่ และครอบครัวของพี่ชายที่มีภรรยาและลูกแล้ว ในยามที่มีปาร์ตี้สังสรรค์กันทั้งเพื่อนของพี่ชาย และเพื่อนของคุณหนอนน้องสาวเอง ต่างก็มาใช้พื้นที่ในส่วนกลางได้อย่างแนบสนิท เหมือนพื้นที่ส่วนกลางของชุมชนบ้านไม้ฝั่งธนอีกด้วย เนื่องจากผู้ชายคุณหนอนเองก็เป็นคนชอบทำอาหารจริงจังเป็นประจำ

พื้นที่ชั้นสองของบ้านพี่ชายคุณหนอน แม้จะออกไปในสไตล์โมเดิร์นแต่ก็มีองค์ประกอบของไม้เข้ามาเป็นพื้นชั้นบนและโชว์เป็นเพดานในส่วนนั่งทานข้าว
บ้านพี่ชายมีครัวขนาดใหญ่เนื่องจากเป็นคนชอบทำอาหารและสังสรรค์
มุมมองจากส่วนปรุงอาหารไปยังพื้นที่นั่งเล่น แปลนห้องเปิดโล่ง โซฟาผนังพิงไม่สูงมากเพื่อให้พื้นที่ไม่ดูแน่นจนเกินไป

ในแง่ของสถาปัตยกรรมส่วนกลางนี้ยังทำหน้าที่เป็นคอร์ตนำแสงเข้ามายังส่วนต่างๆ ภายในบ้านทั้งสองหลัง เป็นพื้นที่สีเขียวสร้างความร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ ขณะที่ชั้นล่างออกแบบให้โปร่งไม่ปิดทึบ เป็นส่วนเซอร์วิสซักล้าง ที่จอดรถ สวน พื้นที่นั่งเล่น และห้องนอนคุณแม่ ทำให้บ้านยกลอยให้ลมไหลผ่าน โปร่งสบาย และคุณแม่ยังแบ่งพื้นที่บางส่วนมาปลูกผัก ปลูกต้นไม้เล็กได้ด้วย

มุมจากห้องนั่งเล่นในบ้านคุณหนอนออกไปยังคอร์ตทางเชื่อม ช่องเปิดต่างขนาดสร้างความรู้สึกเหมือนบ้านในชุมชนเก่าที่มีการไปมาหาสู่กันอย่างเป็นมิตร
มุมห้องนั่งเล่นและแพนทรี่ของคุณหนอนที่มีสีสันสดใสและกั้นพื้นที่ภายในมีขนาดเล็กกว่าของฝั่งพี่ชาย
บ้านไม้ฝั่งธน
เชื่อมบ้านปูนสีขาวกับส่วนกลางที่กรุไม้ด้วยกรอบวงกบไม้และเฟอร์นิเจอร์ไม้ภายในเป็นองค์ประกอบของบ้าน
บ้านไม้ฝั่งธน
ช่องแสงด้านเปิดในห้องทำให้นั่งมีบรรยากาศแบบเอาท์ดอร์ ขณะที่ช่องแสงตรงผนังช่วยให้สมาชิกเชื่อมต่อกันได้ตลอดเวลา
บางส่วนของห้องนั่งเล่นคุณหนอนในชั้นสองเปิดเพดานเป็น Double Space ตามความลาดของหลังคา

บ้านไม้ฝั่งธน

เบี่ยงแกน แปลงเป็นพื้นที่ใช้งาน

การที่ทำให้บ้านเหมือนซอยนั้น คุณอ๊อดได้จัดการเบี่ยงพื้นที่ภายในตัวอาคารออกและสร้างช่องเปิดเป็นบานหน้าต่างไม้เล็กๆ หลายมุม เมื่ออยู่ในห้องก็จะเห็นอีกห้องของบ้านอีกหลังหนึ่งได้ แต่ก็ไม่ปะทะกันโดยตรงเกินไป ขณะที่ตำแหน่งของห้องนอนใหญ่จะอยู่ที่ชั้นสามของบ้าน ซึ่งถูกวางให้อยู่กันคนละฝั่งจะได้ไม่เปิดหน้าต่างมาชนกัน คือด้านที่เป็นชั้นสามของบ้านหลังหนึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับด้านที่มีแค่สองชั้นของบ้านอีกหลัง ทำให้เปิดหน้าต่างออกมารับลมได้สะดวก

ห้องทำกิจกรรมของลูกสาวพี่ชาย ซึ่งเชื่อมโยงผู้อาศัยในบ้านเข้ามาด้วยกันผ่านกิจกรรมของเด็กๆ

ห้องนอนบนชั้นสามขนาดพอดี ช่วยให้ดูกว้างขึ้นด้วยกระจกเข้ามุมที่สูงจรดเพดาน

จากภาพที่เห็นอาคารภายนอกซึ่งดูโมเดิร์นและค่อนข้างปิดเนื่องจากการมีอาคารสูงรอบด้าน ภายในกลับเต็มไปด้วยบรรยากาศการอยู่อาศัยแบบ บ้านไม้ฝั่งธน แสนอบอุ่นสบายๆ เป็นเสมือนคอมมูนิตี้ที่สมาชิกและแขกของบ้านทั้งสองหลังมาสังสรรค์กันได้ด้วยการสร้างพื้นที่เปิดส่วนกลางที่ตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง

คานในส่วนนี้มีการปรับแบบระหว่างก่อสร้าง ที่จริงจะต้องทุบทำใหม่แต่เจ้าของบ้านไม่ซีเรียส ขอให้สถาปนิกเก็บบางส่วนของคานเดิมไว้ด้วย
บ้านไม้ฝั่งธน
มุมจากคอร์ตส่วนกลางเชื่อมต่อเข้าไปยังบ้านของพี่ชาย
บ้านไม้ฝั่งธน
ตัวอาคารจะวางแปลนชั้นบนให้สลับกัน คือด้านที่มีสามชั้นพร้อมดาดฟ้าของอีกหลังสลับกับด้านที่มีสองชั้นของอีกหลัง ขณะที่อีกด้านก็จะสลับกันเช่นนี้ และแปลงที่ดินถูกแบ่งครึ่งอย่างชัดเจน

สถาปนิก: M Space / อินทีเรียร์: เกษณีย์ ชีวศิริพลังกร / ผู้รับเหมา: บุญรัช-พลเทพ ทองอุ่น

เจ้าของ: คุณฤทธี, คุณกมลทิพย์ และคุณฤดีวรรณ มีขนอน

เรื่อง: สมัชชา วิราพร

ภาพ: ศุภกร ศรีสกุล


บ้านไม้ริมคลองบรรยากาศดีที่ดูแล้วต้องหลงรัก

5 บ้านต่างสไตล์ แต่มีต้นไม้เป็นจุดเด่น

บ้านไม้สักชั้นเดียวแบบน็อคดาวน์