การทำสวนดาดฟ้าและระบบกันซึม
อยากทำสวนดาดฟ้า ต้องทำระบบกันซึมอย่างไร คอลัมน์ Home Expert ชวนมาดูดีเทลจากนักออกแบบสวนชั้นนำ บริษัทกิ่ง ก้าน ใบ จำกัด ในการทำสวนดาดฟ้าสวยๆแห่งนี้ ทั้งการทำพื้นไม้ กระบะต้นไม้ พร้อมวิธีการทำกันซึมดาดฟ้า และแก้ปัญหารอยร้าวกัน แนะนำว่าอย่าปล่อยให้พื้นดาดฟ้ามีน้ำขังหรือรั่วซึมเป็นเวลานาน หากพบปัญหาควรรีบแก้ไข เพื่อป้องกันการลุกลามจนทำให้โครงสร้างบ้านเสียหายได้
Detail A กระบะปลูกและระบบกันซึม
1. ดินปลูกผสมหินภูเขาไฟ กันซึมดาดฟ้า
2. ทรายรองพื้นหนา 5 เซนติเมตร
3. กระบะก่ออิฐ
4. แผ่นจีโอเท็กซ์ไทล์
5. แผ่น Grain Grid
6. วัสดุกันซึม
7. ช่องระบายน้ำขนาด 5 x 20 เซนติเมตร
8. พื้นไฟเบอร์ซีเมนต์ ตีเว้นร่อง
9. โครงเหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์
10.ฐานเหล็กชุบกัลวาไนซ์หุ้
11.พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กผส
12.ตาข่ายพลาสติก
13.โรยกรวด
14.รูระบายน้ำ
Detail B ฐานเหล็กหุ้มคอนกรีต
1. พื้นไฟเบอร์ซีเมนต์ ตีเว้นร่อง
2. โครงเหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์
3. ฐานคอนกรีตป้องกันเหล็กเป็น
4. ฐานโครงเหล็กกล่องชุบกัลวาไ
5. แผ่นเหล็กหนา 6 มิลลิเมตร ยึดกับพื้น
การระบายน้ำดาดฟ้า
ควรตรวจสอบพื้นดาดฟ้าให้มีค
การเตรียมพื้นผิวก่อนทำกันซึม
ก่อนการทำชั้น กันซึมดาดฟ้า ควรตรวจสอบ ซ่อมแซม และเตรียมพื้นผิว ดังนี้
1. ตรวจสอบรอยแตกร้าวบนพื้นดาดฟ้าก่อนทำกันซึม โดยสังเกตรอยแตกว่ายังมีการขยับตัวหรือไม่ หากรอยแตกหยุดขยับตัว
แล้ว สามารถซ่อมรอยแตกร้าวด้วยการสกัดรอยแตกร้าวให้มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร อุดรอยแตกด้วยวัสดุอุดรอยต่อประเภทพอลิยูรีเทน หรืออุดซ่อมด้วยซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้าง ซึ่งสามารถใช้ได้กับรอยแตกกว้าง 3 – 40 มิลลิเมตร
2. หากพื้นผิวดาดฟ้ามีรอยแตกลายงาไม่เกิน 0.5 มิลลิเมตร สามารถทาทับด้วยซีเมนต์กันซึมได้เลย
3. หากรอยแตกร้าวยังมีการขยับตัว ควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาก่อนทำสวนดาดฟ้า การสังเกตรอยแตกร้าวว่ายังมีการขยับตัวหรือไม่ โดยใช้ปากกาทำเครื่องหมายที่ปลายรอยร้าวไว้ วัดความกว้างรอยร้าวแล้วจดไว้พร้อมวันที่ หากมีการขยายความ
ยาวและความกว้างเรื่อยๆ อาจมีสาเหตุจากโครงสร้างเสียหาย
การทาวัสดุกันซึม
ควรเตรียมพื้นผิวและทาวัสดุกันซึมอย่างถูกวิธี เพื่อการป้องกันความชื้นอย่างให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
การเตรียมพื้นผิว
1.ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่น เศษปูน น้ำมัน และซ่อมรอยแตกร้าว
2.พรมน้ำลงบนพื้นผิวเพื่อลดความร้อนจากพื้นผิวก่อนทาวัสดุกันซึม
การทาวัสดุกันซึม
1.ใช้แปรงหรือลูกกลิ้งทาลงบนพื้นผิวแล้วปล่อยให้แห้ง 30-90 นาที
2.เสริมแรงด้วยตาข่ายใยแก้วเสริมแรงในจุดที่แตกร้าว และบริเวณรอยต่อพื้นกับผนัง โดยปูในขณะที่ชั้นแรกยังไม่แห้ง
3.ทารอบที่สองในทิศทางตั้งฉากกับรอบแรก โดยให้เนื้อฟิล์มกลบแผ่นตาข่ายไฟเบอร์ได้สนิท แล้วปกป้องพื้นผิวไม่ให้โดนน้ำ 3 วัน
Note
-การปูกระเบื้องบนพื้นผิวควรทำหลังจากปล่อยให้พื้นผิวแห้งตัวอย่างน้อย 3 วัน
-ในกรณีที่ต้องการให้พื้นแช่น้ำ ควรปล่อยให้พื้นผิวแห้งตัวอย่างน้อย 7-14 วัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ขอบคุณข้อมูล : บริษัทจระเข้ คอร์ปอเรช่ั่น จำากัด โทรศัพท์ 0-2720-1112 www.jorakay.co.th
เรื่อง ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์
ภาพ สิทธิศักดิ์ น้ำคำ
ภาพประกอบ เอกรินทร์ พันธุนิล