“สวนเบญจกิติ” เปลี่ยนโรงงานยาสูบ กลายเป็นสวนสาธารณะใจกลางกรุงเทพฯ

กระทรวงการคลัง กรมธนารักษ์ ร่วมกับกองทัพบก และการยาสูบแห่งประเทศไทยเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและรับผิดชอบในการจัดสร้างสวนสาธารณะ “ สวนเบญจกิติ ” เนื้อที่รวมประมาณ 453 ไร่

สวนเบญจกิติ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สวนน้ำ เนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ ที่แล้วเสร็จและเปิดใช้อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี 2535 และสวนป่าส่วนใหม่ปัจจุบันได้ก่อสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในส่วนงานที่เหลือมีกำหนดแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนเมษายน 2565

สวนเบญจกิติ
เกาะกลางน้ำ
เส้นทางเดินผ่านบึงเพื่อเป็นการได้ออกกำลังกายและศึกษาพรรณไม้น้ำจืดรวมถึงระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีทั้งสัตว์น้ำและนกที่มาอยู่อาศัยในธรรมชาติแบบบึงน้ำจืดเป็นจำนวนมาก
สวนเบญจกิติ
สามารถรองรับน้ำได้ถึง 128,000 ลบ.ม. และนำมาใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูร้อนเพื่อประหยัดน้ำสำหรับใช้ดูแลสวน
บึงน้ำทั้งหมดในสวนสามารถรองรับน้ำได้ถึง 128,000 ลูกบาศก์เมตร และนำมาใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูร้อนเพื่อประหยัดน้ำสำหรับที่ใช้รดและดูแลสวน
บัวหลวงออกดอกสีชมพูสวยงามอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องดูแลมากมายเหมือนบัวที่ปลูกเลี้ยงในอ่างบัว

ความพิเศษของ สวนเบญจกิติ เฟสใหม่ที่พึ่งเสร็จสมบูรณ์ไปไม่ใช่เพียงการปลูกต้นไม้และทำทางเดินสำหรับวิ่งและออกกำลังกายเช่นเดียวกับสวนสาธารณะทั่วไปที่เราเคยรู้จัก สวนแห่งนี้ออกแบบให้มีพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่สำหรับสร้างระบบนิเวศเลียนแบบธรรมชาติที่สมบูรณ์ ซึ่งป่าต้องอาศัยความชุ่มชื้นจากแหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้หล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ในสวน อีกทั้งภูมิประเทศเดิมของกรุงเทพมหานครเองก็เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่ซับซ้อนของพันธุ์พืชและสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่กำลังสูญหายไปจากการขยายตัวของเมืองอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว สวนทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำที่รับเอาน้ำที่ระบายไม่ทันและกำลังท่วมขังมากักเก็บและช่วยบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติ กลายเป็นพื้นที่หน่วงน้ำในกรณีที่มีน้ำมากเกินความจำเป็นและเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะน้ำจากคลองไผ่สิงโตที่อยู่ทางทิศเหนือของสวน

พื้นที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงงานยาสูบ หลังจากทำการรื้อถอน เศษวัสดุที่เกิดจากการรื้อถอนอาคารนำมาใช้ในการก่อสร้างงานฮาร์ดสเคปในสวนด้วย เช่นอิฐโครงสร้างของอาคารนำมาใช้ในการทำระบบทางเดินน้ำในส่วนของคลองระบายน้ำ หรือ เศษคอนกรีตทั่วไปนำมาทุบให้เล็กเพื่อทำหน้าที่เหมือนหินธรรมชาติเพื่อรองรับน้ำไหลบ่าบนผิวดิน (Surface Runoff) ป้องกันการกัดเซาะและทำให้ฐานแน่น ส่วนถนนและโครงสร้างงานฮาร์ดสเคปเดิมยังคงเก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งของสวน ทำให้งบในการก่อสร้างประมานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ตารางเมตรละ 2,000 บาท ซึ่งถือว่าต่ำกว่าโครงการออกแบบภูมิทัศน์ทั่วไปในปัจจุบัน

การออกแบบพรรณไม้ในสวนจะเก็บต้นไม้เดิมไว้ทั้งหมด โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่ 1,733 ต้น และยังเพิ่มต้นไม้ที่ลงใหม่ 7,155 ต้น โดยใช้พรรณไม้ที่เป็นพืชท้องถิ่นเดิมในบริเวณกรุงเทพมหานคร กว่า 300 ชนิด ทั้งหมดจัดออกมาเป็นสวนแบบวนเกษตรที่ประกอบด้วยพรรณไม้พื้นบ้านและพรรณไม้ชายน้ำ กลายเป็นพื้นที่การเรียนรู้เรื่องพรรณไม้ในระบบนิเวศที่แตกต่างกันไป ทั้งพรรณไม้ป่าชายเลน พรรณไม้บึงน้ำจืด พรรณไม้ป่าดิบลุ่มต่ำและพรรณไม้ป่าดิบแล้ง นอกจากเป็นการอนุรักษ์พรรณไม้พื้นถิ่นที่กำลังมีจำนวนลดลงแล้ว ยังช่วยลดภาระจากการดูแลต้นไม้ด้วย เพราะต้นไม้เหล่านี้สามารถเติบโตได้เองในธรรมชาติของพื้นที่กรุงเทพมหานครอยู่แล้ว

การไหลของน้ำผ่านพรรณไม้น้ำและไม้ริมน้ำในบึงช่วยบำบัดนั้นโดยกรองสารแขวนลอย เพิ่มออกซิเจนในน้ำรวมถึงเพิ่มค่า BOD
สวนเบญจกิติ
สวนเบญจกิติ
ศาลาสำหรับนั่งพักผ่อนกลางบึง
สำหรับต้นไม้ที่ปลูกใหม่ส่วนใหญ่จะใช้กล้าไม้มาปลูกเพื่อให้ต้นไม้สามารถเติบโตได้แข็งแรงและระบบรากลึกกว่าต้นไม้ล้อม
Sky walk สำหรับเดินชมสวนได้จากมุมสูงหรือใช้ออกกำลังกายโดยการเดินเร็วหรือวิ่งก็ได้
สวนวนเกษตรเป็นการผสมผสานต้นไม้หลายขนาดทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่มและต้นไม้คลุมดิน โดยยังได้สีสันจากดอกไม้พื้นถิ่นอย่างพยับเมฆที่เบ่งบานสวยงามและใช้เป็นยาสมุนไพรได้
สวนเบญจกิติ
ทางลอยฟ้าที่เชื่อมไปยังสวนลุมพินีได้

เส้นทางสำหรับส่งเสริมกายออกกำลังกาย แบ่งเป็นทางเดินลัดเลาะในธรรมชาติ 5.8 กิโลเมตร เส้นทางวิ่ง 2.8 กิโลเมตร และเส้นทางจักรยาน 3.4 กิโลเมตร โดดเด่นที่ทางเดิน Skywalk ระยะทาง 1.6 กิโลเมตรที่เดินเชื่อมต่อไปถึงสวนลุมพินี อีกหนึ่งสวนสาธารณะขนาดใหญ่ในบริเวณใกล้เคียงได้ ส่วนโกดังเก็บใบยาสูบและโรงงานผลิตยาสูบยังเตรียมรีโนเวตเป็นอาคารกีฬาในร่มและอาคารพิพิธภัณฑ์ที่รองรับผู้ใช้งานได้ถึง 3,000 คน มีแปลงเกษตรสาธิตและอัฒจันทร์รองรับการจัดกิจกรรมได้กว่า 15,000 คน โดยทั้งหมดเป็นการออกแบบซึ่งยังอนุรักษ์คุณค่าของตัวสถาปัตยกรรมเดิมไว้อย่างครบถ้วน

สวนสาธารณะแห่งนี้เปิดทำการทุกวัน เวลา 05.00 – 21.00 น.ตั้งอยู่ระหว่างถนนรัชดาภิเษกและถนนดำรงค์พิทักษ์ (ทางด่วนขั้นที่1 ช่วงถนนเพลินจิต-พระราม4) แต่ปัจจุบันสวนยังไม่ได้เปิดใช้งานเต็มพื้นที่จึงต้องเข้า-ออกผ่านทางถนนรัชดาภิเษก คลิกเพื่อดูแผนที่สำหรับเดินทาง สามารถเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะโดยรถไฟฟ้า BTS ที่สถานีอโศก หรือ MRT สถานีสุขุมวิทและสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หากขับรถยนต์ส่วนตัวมาที่สวนสาธารณะประตูเข้า-ออกสำหรับจอดรถจะเปิดช่วงเช้าเวลา 05.00 – 09.00 น. และช่วงบ่ายเวลา 16.00 – 21.00 น.เท่านั้น

สวนเบญจกิติ
ร่องระบายน้ำแบบเปิดหรือ Bioswale
สวนรอบบึงน้ำขนาด 200×800 เมตรของสวนเบญจกิติที่สร้างเสร็จมานานแล้วยังคงเป็นใช้งานตามปกติ
สวนเบญจกิติ
ทางเดินร่มรื่นด้วยต้นจามจุรีขนาดใหญ่
สวนเบญจกิติ
สวนเบญจกิติ

ภาพ : ฤทธิรงค์ จันทองสุข