แบบบ้านปูนน่าอยู่

รวมฮิต 50 บ้านปูน สร้างง่าย อยู่สบาย ดีไซน์สวย

แบบบ้านปูนน่าอยู่
แบบบ้านปูนน่าอยู่

11. บ้านใจสว่าง

  • เจ้าของ – ออกแบบ : คุณปรีดิ์ จินดาโรจน์

บ้านขาวๆกับวิวเขียวๆก็เป็นความสุขเกินพอแล้วสำหรับเจ้าของบ้านตากอากาศหลังนี้ เมื่อรวมกับการทำช่องเปิดขนาดใหญ่ให้ลมสามารถพัดผ่านเข้าบ้านได้ตลอดเวลา ก็นับเป็นช่วงเวลาล้ำค่าของการกลับมาพักผ่อนเพื่อชาร์ตแบตเตอรีชีวิตให้เต็มอีกครั้ง สมดังชื่อของบ้านที่เจ้าของตั้งว่า “บ้านใจสว่าง” >> อ่านต่อ

บ้านปูนน่าอยู่

 12. รีโนเวตบ้านเก่า 80 ปี มาเป็น “บ้านโนบิตะ” แสนอบอุ่น

  • เจ้าของ: คุณปัญจมา – คุณชัชวาล เลิศบุษยานุกูล
  • สถาปนิก: Jun Sekino A+D โดยคุณจูน เซคิโน
  • ออกแบบสวน: D.garden design โดยคุณเปรมฤดี ชีวโกเศรษฐ

จากบ้านคุณตาคุณยายที่ทรุดโทรม น้ำท่วม แคบ มืดทึบ และเพดานต่ำ กลายร่างมาเป็นบ้านสุดน่ารัก จนมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า “บ้านโนบิตะ” โดยรักษาคาแร็กเตอร์ของบ้านเดิมไว้ เสริมโครงสร้างเดิม เปลี่ยนใหม่บางส่วน เพื่อให้เหมาะกับฟังก์ชันและวัสดุสมัยใหม่ จนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และยังคงสะท้อนภาพบ้านคุณตาคุณยายได้อย่างมีเสน่ห์ >> อ่านต่อ 

บ้านปูนน่าอยู่

13. บ้านปูนเรียบๆ ที่ตกแต่งด้วยงานไม้เก่า 

  • เจ้าของ-ออกแบบ : คุณยุทธการ – คุณพัชรินทร์ กันทยานภัทร

บ้านปูนสีขาวในรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ดูเรียบง่ายหลังนี้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของบ้านออกแบบขึ้นเองบนที่ดินขนาด 2 งาน โดยตั้งใจให้เป็นบ้านที่มีฟังก์ชันง่ายๆ เรียงต่อกันแบบไม่ซับซ้อน และรับกับวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้มาก แต่ที่ให้ความสำคัญคือทิศทางการวางตัวบ้านให้ขวางทางลม และทำช่องเปิดผ่านประตูหน้าต่างรอบๆ บ้านเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศที่ดีตลอดทั้งวันโดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ ดังนั้นดีไซน์ที่เพิ่มเสน่ห์ให้กับบ้านก็คือบรรดาประตูหน้าต่างทั้งหมดซึ่งเป็นงานไม้เก่าทุกช้ินที่ใช้เพียงการเคลือบผิวหน้าไม้ให้สวยและทนทาน >> อ่านต่อ

บ้านปูนน่าอยู่

14. บ้านปูนผสมไม้ อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ

  • เจ้าของ – ตกแต่ง : หม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล
  • ตกแต่งสวน : คุณวีรวัฒน์ ลี้กำจร

บ้านปูนผสมไม้ ขนาด 2 ชั้นที่รื่นรมย์น่าสบายหลังนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่สงบและน่าอยู่ในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ และไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก สร้างขึ้นโดยได้แรงบันดาลใจมาจากบ้านกลางป่าของสถาปนิก Geoffrey Bawa ที่ศรีลังกา จึงเน้นสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ ปลูกไม้ใหญ่อย่างตองตึงให้ร่มเงาแก่บ้านและมุมนั่งเล่นกลางสวน นอกนั้นก็เป็นพวกไม้ใหญ่และไม้พุ่มอื่นๆ ที่ปลูกอย่างเป็นจังหวะเพื่อให้ดูแลง่าย สวนจึงดูนุ่มนวลสดชื่นด้วยสีสันของดอกไม้ใบไม้ เสริมแต่งด้วยไม้ดอกกระถางตามฤดูกาล ส่วนตัวบ้านสร้างเป็นรูปคล้ายตัวแอล (L) ให้ติดแนวรั้วด้านหลังและด้านข้าง อีกทั้งยังมีกระท่อมหลังเล็กในมุมหนึ่งของสวน ซึ่งเดิมชั้นล่างเป็นใต้ถุนโปร่ง ต่อมากั้นแบ่งเป็นมุมต่างๆ และห้องนอน >> อ่านต่อ 

บ้านปูนน่าอยู่

15. บ้านปูนสีขาวผสมไม้ ในบรรยากาศริมคลอง

  • เจ้าของ : คุณนที – คุณกนกวรรณ เนตรนิยม
  • ออกแบบ : EKAR โดยคุณเอกภาพ ดวงแก้ว และ Full Scale โดยคุณอรรถสิทธิ์ กองมงคล

เพราะประทับใจวิวต้นไม้เขียวชอุ่ม บวกกับอยากให้ทุกมุมของบ้านนำสายตาผู้อยู่อาศัยไปสู่ลำน้ำซึ่งอยู่ติดกับหลังบ้าน สถาปนิกจึงหวนนึกถึงชุมชนบ้านไทยริมคลอง แล้วนำมาต่อยอดสู่งานออกแบบที่ต้องการเชื่อมโยงธรรมชาติเข้ากับบ้านได้อย่างน่าสนใจ โดยจัดวางอาคารให้ทุกมุมของบ้านหันออกสู่ริมน้ำ และยกเพดานสูงด้านใดด้านหนึ่งเพื่อขยายมุมมอง แบ่งอาคารออกเป็น 2 ก้อนคือบ้านอยู่อาศัยกับร้านกาแฟ วางร้านกาแฟไว้ด้านหน้าติดริมถนนและวางตัวบ้านในลักษณะเป็นตัวแอล (L) ล็อกห้องต้นไม้ที่มีทางเข้าต่อเนื่องจากหน้าบ้านเอาไว้ ก่อนเปิดออกไปสู่ริมน้ำ รูปทรงอาคารยังลดหลั่นกันเพื่อไม่บดบังมุมมองซึ่งกันและกัน ตัวบ้านส่วนที่เป็นอาคารปูนสีขาวสะอาดตาจึงทำหน้าที่เป็นฉากหลังที่ขับเน้นร้านกาแฟซึ่งกรุผิวภายนอกด้วยไม้เนื้อแข็งให้ดูโดดเด่นขณะเดียวกันห้องต้นไม้ก็ทำให้บ้านสีขาวดูอบอุ่นสบายตาขึ้นด้วยเช่นกัน >> อ่านต่อ

บ้านปูนน่าอยู่

16. รีโนเวตบ้านเก่าให้กลับมาสวยเด่นด้วยการโชว์สัจวัสดุ

  • เจ้าของ : คุณธนัส ศิรางกูร
  • ออกแบบ : A.D.G. Co., Ltd. โดยคุณพูนพงศ์ คงชาญศิริ

บ้านรีโนเวตอายุกว่า 30 ปีที่เป็นส่วนผสมอันกลมกลืนระหว่างงานออกแบบกับศิลปะ เก่ากับใหม่ ร่วมสมัยกับย้อนยุค โดยหน้าตาของบ้านเด่นด้วยการโชว์ความงามของผิวสัมผัสวัสดุหลักอย่างปูน ไม้ กระจก และเหล็ก ทำให้บ้านดูสวยงามเหมือนงานศิลปะและกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง >> อ่านต่อ

บ้านปูนน่าอยู่

17. บ้านปูนเปลือยผสมโครงเหล็ก ที่มีกลิ่นอายลอฟต์นิดๆ

  • เจ้าของ : คุณณภัสสร์– คุณเปรมรัตน์ เตลิงคพันธ์
  • สถาปัตยกรรม : คุณกษิต จันทร์แก้ว
  • ออกแบบภายใน : คุณวิวัฒน์ พิทักษ์พงศ์สนิท

บ้านหลังนี้อยู่บนขนาดที่ดินประมาณ 200 ตารางวาซึ่งมีหน้าแคบแต่ยาว จึงวางผังบ้านเป็นรูปตัวยู (U) ให้มีระเบียงไม้เล็กๆ เป็นพื้นที่อเนกประสงค์อยู่ตรงกลาง พื้นผิวภายนอกของอาคารทั้งหมดเป็นสีเทาอ่อนๆ เลียนแบบผิวปูนเปลือย โดยนำเหล็กมาใช้ผสมผสานในเชิงโครงสร้างและการตกแต่ง เพื่อแสดงตัวตนของบ้านออกมาให้มากที่สุด เนื่องจากเจ้าของบ้านชอบอะไรที่ง่ายๆ ตรงไปตรงมา ไม่เน้นการประดับประดา บ้านจึงมีกลิ่นอายความเป็นลอฟต์นิดๆ พื้นที่ส่วนกลางของบ้านออกแบบเป็นกระจกขนาดใหญ่ เชื่อมโยงมุมมองไปยังบ้านของพ่อแม่ที่อยู่ข้างๆ กันเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ ทำให้มองเห็นกันได้ตลอดแม้จะอยู่คนละบ้านก็ตาม >> อ่านต่อ 

บ้านปูนน่าอยู่

18. บ้านปูนดิบเท่ที่ขอมองโลกแบบ 360 องศา

  • เจ้าของ – ไอเดียออกแบบ   :  คุณเนตรนภิส ภิรมย์รื่น คุณชัชวาล ขนขจี  และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรชัย เอกพลากร

บ้านปูนเรียบโล่ง ที่สามารถมองออกไปเห็นวิวโดยรอบได้ 360 องศา ไม่ต้องมีอะไรมาบดบัง พร้อมสร้างเสน่ห์ให้บ้านด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น อาทิ ไม้ กระเบื้องหลังคาลอนคู่ พื้นและผนังซีเมนต์ขัดมัน โดยใช้ช่างฝีมือในท้องถิ่นซึ่งไม่เน้นความ “เนี้ยบ” แต่ยังดูกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ >> อ่านต่อ

บ้านปูนน่าอยู่

19. บ้านปูนเปลือยโมเดิร์นลอฟต์ที่แสนร่มเย็น

  • เจ้าของ – ออกแบบตกแต่ง: คุณมรกต – คุณปิยรัตน์ ยศธำรง

บ้านกล่องโมเดิร์นลอฟต์ที่โชว์สัจจวัสดุของปูนเปลือยเท่ๆ โดยสร้างบ้านล้อมลำไยซึ่งอยู่กลางที่ดินมาแต่เดิม พร้อมทำช่องเปิดเพื่อนำแสงธรรมชาติเข้ามาภายใน ทำให้บ้านหลังนี้ดูมีชีวิตชีวา เพราะได้ต้นไม้มาช่วยนั่นเอง >> อ่านต่อ 

บ้านปูนน่าอยู่

20. บ้านปูนเปลือยสไตล์ลอฟต์ เรียบง่าย แต่จัดเต็มทุกฟังก์ชัน

  • เจ้าของ : คุณเกษรา กิติสุข
  • สถาปนิก : คุณธเนศ แซ่อู

หากมองจากภายนอกบ้านหลังนี้ก็เหมือนบ้านสไตล์โมเดิร์นลอฟต์ ด้วยเพราะผนังส่วนใหญ่เป็นปูนเปลือย แต่พอเงยหน้ากลับเจอหลังคาทรงจั่วแบบไทยที่ปรับให้ดูทันสมัยขึ้น โดยเลือกใช้เมทัลชีท ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าหลังคาทั่วไปและช่วยประหยัดเรื่องโครงสร้างไปได้ แล้วพ่นฉนวนกระดาษไว้ด้านใน เพื่อป้องกันความร้อนและดูดซับเสียงรบกวนจากภายนอก ทั้งยังใช้โปรแกรมการคำนวณองศาของหลังคาให้เลี่ยงการซัดสาดของฝน เพิ่มชายคาที่กั้นแนวแสงแดดไม่ให้เข้ามาในบ้าน แถมหลังคายังช่วยดักลมให้พัดผ่านเพิ่มความเย็นสบายตามธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็ยกพื้นบ้านให้สูงจากพื้นเพื่อให้เกิดช่องอากาศถ่ายเท คลายความอับทึบและเป็นช่องทางสำหรับการดูแลซ่อมแซมระบบที่ซ่อนอยู่ใต้บ้านไปด้วย เมื่อมองเข้าไปภายในก็ยังดูเป็นบ้านที่แสนเรียบโล่งแบบมินิมัล แต่ฟังก์ชันทุกพื้นที่ในบ้านตอบรับการใช้งานได้ดีที่สุด >> อ่านต่อ