เปิดตัว 73 ศิลปินชั้นนำระดับโลก ที่ร่วมแสดงผลงานในงาน BAB 2022 CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุข

21. เดเมียง ฌาเล และ กิลส์ เดลมาส์ (Damien Jalet and Gilles Delmas)

Damien Jalet
Picture by Rahi Rezvani
Gilles Delmas
Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2519 อัคเคิล เบลเยียม, พ.ศ. 2509 ดีอูเลฟิต ฝรั่งเศส

เดเมียง ฌาเล เป็นนักออกแบบท่าเต้นและนักเต้นจากฝรั่งเศส-เบลเยียม ที่ได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ เขามักจะทำงานข้ามสาขาต่างๆ เช่น ทัศนศิลป์ ดนตรี ภาพยนตร์ ละครเวที และแฟชั่น เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ และสำรวจขอบเขตของการเต้น  ฌาเลดึงแรงบันดาลใจมาจากตำนานและพิธีกรรมต่างๆ จากรอบโลก อีกทั้งผลงานของเขายังสำรวจหลักการจากฟิสิกส์ กายวิภาคศาสตร์ และจักรวาลวิทยา

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เขาได้พัฒนาความร่วมมือครั้งสำคัญกับศิลปินสำคัญหลายท่าน เช่น โคเฮ นาวะ  มารีน่า อบราโมวิช  แอนโทนี กอร์มลีย์  พอล โธมัส แอนเดอร์สัน  มาดอนน่า  ริวอิจิ ซากาโมโตะ  จิม ฮอดเจส  ทอม ยอร์ค  ลูก้า กวาดาญนีโญ่  ซีดิ ลาร์บิ เชอร์คาวอ์  เอมิลิออส อราพอญลู  ฌอง-ปอล เลส์ปานาร์ด  ไอริส แวน เฮอร์เปน  เออร์นา โอมาร์ส์ดอตติร์ เป็นต้น 

นอกจากผลงานที่เขาสร้างสรรค์ขึ้นเองแล้ว เขายังได้รับการคอมมิสชันให้สร้างสรรค์ผลงานโดยบริษัทเต้นชื่อดังระดับโลกบางแห่ง อาทิ บัลเล่ต์ ซี. เดอ ลา บี.  ซาช่า วอลตซ์ และแขกรับเชิญ  ชังกี้ มูฟ  อีสต์แมน NYDC  Hessiches Staatballet  ปารีส โอเปร่า บัลเล่ต์  สกอตติช แดนซ์ เธียเตอร์  NDT1 และ โกเธนเบิร์ก แดนซ์ คอมปานี

ฌาเล ได้รับการแต่งตั้งเป็น Chevalier de l’Ordre des Arts et des Lettres โดยรัฐบาลฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2556

กิลส์ เดลมาส์ เป็นศิลปิน ผู้สร้างภาพยนตร์ และนักออกแบบฉาก เขาสนใจตั้งคำถามเกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นฐาน พิธีกรรม และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ผลงานส่วนใหญ่ของเขามักเป็นสหสาขา และทำงานข้ามสื่อชนิดต่างๆ เช่น การเต้นและการแสดง เขาได้เคยร่วมทำงานกับนักออกแบบท่าเต้นชื่อดังเช่น ซีดิ ลาร์บิ เชอร์คาวอ์ หรือ ซอน-ไม เป็นต้น วิธีการทำงานของเขามักใ้ห้ความสำคัญกับผู้ที่ถูกถ่าย ด้วยวิธีการทำให้ขอบเขตระหว่างความเป็นสารคดีและนิยายพร่าเลือน  และให้ผู้ที่ถูกถ่ายได้เลือกภาษาที่จะสื่อสารหรือแสดงออกในรูปแบบของเขาเอง เพื่อพรรณนาประสบการณ์ที่เกี่ยวกับความเป็นบ้าน การย้ายถิ่นฐาน หรือการอ้างอิงทางวัฒนธรรมในเชิงปัจเจกหรือร่วมกัน

ผลงานของ Gilles Delmas เป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นของเอกชนและของสาธารณะ รวมถึงที่ Paris collection – Fonds National d’art contemporain  พิพิธภัณฑ์ Musée de l’Immigration  มูลนิธิ Antoine de Galbert และ The Bibliotheque National de France (BNF) แห่งปารีส. 

ปัจจุบันเขาอาศัยและทำงานในปารีส ประเทศฝรั่งเศส

Damien Jalet and Gilles Delmas
The Ferryman, 2017 Still from video
Image courtesy of the artists

22. ณัฐดนัย จิตบรรจง


ณัฐดนัย จิตบรรจง
Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2534 กรุงเทพมหานคร ไทย

ณัฐดนัย จิตบรรจง เป็นศิลปิน-นักกิจกรรมที่สนใจในแนวคิดและสัญลักษณ์ของโครงสร้างทางอำนาจ และการเมืองภาคสังคม ซึ่งถูกสะท้อนผ่านวัตถุต่างๆ หรือในมิติเชิงประวัติศาสตร์ ผลงานในอดีตของเขาล้วนทำให้เห็นถึงกระบวนการทำงานที่มีฐานอยู่บนการศึกษาค้นคว้าเชิงศิลปะ งานของณัฐดนัยแสดงถึงการสำรวจทางความคิดเข้าไปในพื้นที่ของเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ สังคม และการเมือง ผสมผสานกับมุมมองของเขาเกี่ยวกับโลกในปัจจุบัน

ณัฐดนัย จิตบรรจง Pillars Babel, 2021
Courtesy the artist and Central Embassy

ผลงานล่าสุดของเขานั้นรวมถึงนิทรรศการเดี่ยว เช่น COUP D’ETAT BRANDNEW Art Project 2017 (WTF Gallery and Cafe, ไทย); LOOT (VER Gallery, ไทย, พ.ศ. 2562) และนิทรรศกลุ่ม เช่น BACC EARLY YEARS PROJECT #3 (หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, ไทย, พ.ศ. 2561); KHONKAEN MANIFESTO (GF Building, ไทย, พ.ศ. 2561); BIENNALE JOGJA, (Jalan Ketandan No.17, ยกยาการ์ตา, อินโดนีเซีย, พ.ศ. 2562); THE ROYAL STANDARD (MAIELIE, ขอนแก่น, ไทย, พ.ศ. 2563); ERRATA (MAIIAM, เชียงใหม่, ไทย, พ.ศ. 2563); SAWANGSAWAISIWILAI (CENTRAL EMBASSY, ไทย, พ.ศ. 2564) ณัฐดนัยสำเร็จการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ปัจจุบัน ณัฐดนัยพำนักและทำงานในกรุงเทพฯ ประเทศไทย

23. จันนา คาดีโรวา (Zhanna Kadyrova)

Zhanna Kadyrova
La Biennale di Venezia
Photo Francesco Galli

เกิด พ.ศ. 2524 โบรวารี ยูเครน

จันนา คาดีโรวา เกิดในปี พ.ศ. 2524 ในเมืองโบรวารี เมืองในภูมิภาคเคียฟ ประเทศยูเครน ซึ่งปัจจุบันเธออาศัยและทำงานอยู่ เธอจบการศึกษาจากโรงเรียนศิลปะ Taras Shevchenko State Art และได้รับรางวัล Kazimir Malevich Artist Award, รางวัล Sergey Kuryokhin Modern Art Award สำหรับศิลปะสาธารณะ, และรางวัล Grand Prix ของโครงการ Sculpture Project (ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2555) รวมถึงรางวัลพิเศษ (พ.ศ. 2554) และรางวัลหลัก (พ.ศ. 2556) จาก Pinchuk Art Center ผลงานของเธอได้รับการจัดแสดงอย่างกว้างขวางทั่วโลก ล่าสุดเช่น  M17 Contemporary Art Centre, Kyiv (พ.ศ. 2564), Shanghai International Sculpture Project JISP, Shanghai, the Ukrainian Institute in New York (2563) เธอร่วมแสดงผลงานที่ Venice Biennale ครั้งที่ 58, 56 และ 55 ตามลำดับในปี พ.ศ. 2562, 2558 และ 2556 ผลงานของคาดีโรวาได้รับการจัดแสดงทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงนิทรรศการที่ Centre Pompidou และ Palais de Tokyo, Paris, Bureau for Cultural Translations, Leipzig,the Kunstraum Innsbruck, Austria, the Ludwig Museum, Budapest, the National Art Museum of Ukraine, Museum of Modern Art ในโปแลนด์ และหอศิลป์ Pinchuk Art Centre (พ.ศ. 2555, 2556) ในกรุงเคียฟ ซึ่งจะจัดแสดงผลงานย้อนหลังครั้งใหญ่ของเธอเป็นครั้งแรกในปี 2566กระบวนการของ จันนา คาดีโรวา ซึ่งนอกจากจะต้องจัดการกับการทำงานในสาขาที่แตกต่างกันอย่าง ประติมากรรม ภาพถ่าย วิดีโอ และการแสดง ยังให้ความสำคัญอย่างลึกซึ้งกับสถานที่และพื้นที่จัดแสดงงาน โดยในงานของเธอ ประเด็นเกี่ยวกับบริบทต่างๆ นั้นจะถูกคลี่คลายเพื่อเผยให้เห็นถึงจังหวะของประวัติศาสตร์โลกที่กำลังเคลื่อนที่ไป ในขณะที่หลายชั้นของเรื่องราวเหล่านั้นสูญหายไปเบื้องหลังความเร่งด่วนของมัน บ่อยครั้งที่ผลงานของคาดีโรวานั้นหลุดออกจากความงามตามอุดมคติสังคมนิยมในแบบที่ยังคงเห็นได้ในมรดกวัฒนธรรมของยูเครนร่วมสมัย มุมมองของเธอนั้นถูกสั่งสมจากทั้งคุณค่าทางสัญลักษณ์และความฉาบฉวยของวัสดุก่อสร้างในเมือง วัสดุอย่างเซรามิก แก้ว หิน และคอนกรีต จึงกลายเป็นส่วนสำคัญในผลงานของเธอ

Zhanna Kadyrova
Production PinchukArtCentre and GALLERIA CONTINUA, San Gimignano / Beijing / Les Moulins.
Ukrainian Pavilion, 56th Venice Biennale
Zhanna Kadyrova
Second Hand, 2019. Photo Nestor Kim. Image courtesy of the artist

24. จิติช กัลลัต (Jitish Kallat)

Jitish Kallat Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2517 มุมไบ อินเดีย

จิติช กัลลัต ได้จัดแสดงผลงานอย่างกว้างขวางในพิพิธภัณฑ์และสถาบันต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เทตโมเดิร์น (ลอนดอน)  พิพิธภัณฑ์ Martin-Gropius-Bau (เบอร์ลิน) หอศิลป์ศิลปะสมัยใหม่ (บริสเบน) คุนซ์มิวเซียม (เบิร์น สวิตเซอร์แลนด์)  เซอร์เพนไทน์ แกลเลอรี (ลอนดอน)  พิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ (โตเกียว)  โบซาร์: ศูนย์รวมศิลปกรรม (บรัสเซลส์ เบลเยียม)  มูลนิธิ Pirelli HangarBicocca (มิลาน) พิพิธภัณฑ์ศิลปะปูซาน พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ Astrup Fearnley (ออสโล)  พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย ZKM Karlsruhe (เยอรมนี) ศูนย์รวมศิลปะ Henie Onstad Kunstsenter (ออสโล)  พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ Arken (โคเปนเฮเกน) สถาบันศิลปะสมัยใหม่วาเลนเซีย (สเปน)  หอศิลป์แห่งออนแทรีโอ (โทรอนโต)  พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Tinguely (บาเซิล) และพิพิธภัณฑ์ Gemeente Museum (เดอะ เฮก เนเธอร์แลนด์) และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ผลงานของกัลลัตยังร่วมแสดงอยู่ในเทศกาลระดับโลกรวมถึง เวนิส เบียนนาเล่  ฮาวานา เบียนนาเล่  กวางจู เบียนนาเล่  เอเชียแปซิฟิค เทรียนนาเล่  ฟูกูโอกะ เอเชียน อาร์ต  เทรียนนาเล่  เอเชียน อาร์ต เบียนนาเล่  คูริชิบา เบียนนาเล่  กวางโจว เทรียนนาเล่  และ เคียฟ เบียนนาเล่ และอีกมากมาย 

งานแสดงเดี่ยวของเขาในพิพิธภัณฑ์และสถาบัน ยกตัวอย่างเช่น สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก พิพิธภัณฑ์ Dr. Bhau Daji Lad Mumbai City Museum พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Ian Potter Museum of Art (เมลเบิร์น)  พิพิธภัณฑ์ Chhatrapati Shivaji Maharaj Vastu Sangrahalaya มุมไบ  พิพิธภัณฑ์ศิลปะซานโฮเซ  หอศิลป์นอร์ทัลจ์  หอศิลป์นิวเซาท์เวลส์ ซิดนีย์  พิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดเฟีย  ในปี พ.ศ. 2560 พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งชาตินิวเดลี เขาได้จัดแสดงผลงานในช่วงกลางอาชีพ ระหว่างปี พ.ศ. 2535 – 2560 ในนิทรรศการ Here After Here โดยมีแคทเธอรีน เดวิดเป็นภัณฑารักษ์  จิติช กัลลัตรับหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์และผู้อำนวยการศิลป์ของโคจิ-มูซิริส เบียนนาเล่ ในปี พ.ศ. 2557

Jitish Kallat
Sightings D5M6Y2017, D8M1Y2018, D19M4Y2017, D7M6Y2017, D9M1Y2018, 2017
Lenticular 20 prints 45×45 in. / 114×114 cm. (each)
Image courtesy of the artist

25. จิตติ เกษมกิจวัฒนา

จิตติ เกษมกิจวัฒนา Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2512 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ผลงานของ จิตติ เกษมกิจวัฒนา มีแนวคิดหลักในเรื่องความชั่วคราวและความว่างเปล่า ของการมีอยู่/สิ่งที่ขาดหรือหายไป โดยเน้นที่ธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยง หลังจากใช้เวลาทำงานในวงการศิลปะกรุงเทพฯ ตลอดช่วงทศวรรษ 1990 เขาได้ใช้เวลา 8 ปีปลีกวิเวกที่ วัดป่า (พ.ศ. 2545-2553) จากนั้น ในทุกวันนี้ เขาได้เผยแพร่แนวคิดทางศิลปะที่ขยายออกไปสู่หลักปฏิบัติทางสังคม การริเริ่ม การเผชิญหน้า เครือข่าย และพื้นที่อิสระ ที่ซึ่งงานศิลปะ งานภัณฑารักษ์ งานด้านการศึกษา และงานตีพิมพ์ทั้งหมดมีความสำคัญเท่าๆ กัน ในช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษ เขาได้ร่วมงานกับศิลปิน ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช จัดทำ VER Magazine และจัดนิทรรศการให้กับ About Art Foundation (หรือ AARA) ที่ About Studio/About Cafe และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เขาได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มศิลปินต่างๆ ร่วมผลิตโครงการจำนวนมาก รวมถึง Messy ารักษ์ล่าสุดรวมถึง The Immeasurable และ World’s End (JWD Art Space, พ.ศ. 2565)  

จิตติ เกษมกิจวัฒนา
The Tenebrous Spiral Staircase of the, 2021
Installation view
A solo exhibition at Gallery VER, Bangkok
Photo: Preecha Pattara

สำหรับการสร้างสรรค์งานศิลปะของจิตติ เขามักมุ่งเน้นไปที่ช่วงเวลาที่โลกและขอบข่ายต่างๆ กลายเป็น “รูพรุน” ยุคสมัยและสาขาต่างๆ เกี่ยวพันกันในหลากหลายมุมมอง เขายังสนใจด้วยว่าแนวคิดต่างๆ ของอวกาศและห้วงเวลามีอิทธิพลต่อโครงสร้างทางสังคมและชีวิตประจำวันของปัจเจกบุคคลหรือไม่ และวิธีที่สิ่งเหล่านี้แสดงออกเป็นบทสนทนาอย่างไร แม้ในรูปแบบของการปะทะกัน แหล่งที่มาทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมสมัยของงานวิจัยของเขารวมถึงเส้นทางความเป็นโมเดิร์นของไทย ข้อเสนอแนะเชิงวิทยาศาสตร์ และการชี้วัดกาลอวกาศในเชิงกวี ซึ่งนำมาซึ่ง ความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์ปัจจุบันและประวัติศาสตร์ที่แผ่กว้างออกไป นิทรรศการล่าสุดของเขา ได้แก่ The Tenebrous Spiral Staircase of the – (Gallery VER, พ.ศ. 2564) และ Stories We Tell To Scare Ourselves With (MOCA Taipei, พ.ศ. 2562) เขาได้รับทุนจากโครงการ DAAD Artist-in-Berlin พ.ศ. 2557 ปัจจุบันจิตติอาศัยและทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ

26. มาริ คาตายามะ (Mari Katayama)

Mari Katayama ©MariKatayama

เกิด พ.ศ. 2530 ไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น

มาริ คาตายามะ เกิดปี พ.ศ. 2530 ที่ไซตามะ และเติบโตที่กุนมะ ประเทศญี่ปุ่น เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากภาควิชา Intermedia Art ที่มหาวิทยาลัยศิลปะโตเกียวในปี พ.ศ. 2555 คาตายามะผ่านความทุกข์ทรมานจากโรคกระดูกหน้าแข้งที่มีมาแต่กำเนิด เมื่ออายุเก้าขวบจึงถูกตัดขาทั้งสองข้าง ตั้งแต่นั้นมา เธอได้สร้างภาพเหมือนตนเองจำนวนมาก ควบคู่ไปกับงานศิลปะทอปักและอวัยวะเทียมที่ตกแต่งเอง โดยใช้ร่างกายของเธอเองเป็นประติมากรรมที่มีชีวิต เธอเชื่อว่าค้นหาตัวเองของเธอ เป็นวิธีที่ทำให้เธอได้เชื่อมโยงกับผู้อื่น เช่นเดียวกับการเย็บปะติดปะต่อกันของชิ้นผ้า ของเข็มกับด้าย  และชีวิตประจำวันของเธอก็ยังสามารถเชื่อมโยงกับสังคมในวงกว้างและโลกได้

นอกจากงานศิลปะที่สร้างสรรค์แล้ว เธอยังทำงานเป็นนางแบบแฟชั่น นักร้อง และวิทยากรในงานระดับนานาชาติอีกด้วย เธอยังเป็นผู้นำโครงการ “High Heels Project” ที่ได้เริ่มเข้าสู่ระยะที่สอง หัวใจของโครงการนี้คือการใช้ร่างกายและศิลปะในทุกวิถีทางที่เป็นไปได้เพื่อให้บรรลุ “เสรีภาพในทางเลือก”

Mari Katayama on the way home #003, 2016 
C-print H 1200 x W 1800 mm
credit ©MariKatayama 
Mari Katayama on the way home #005, 2016 
C-print H 1800 x W 1200 mm
credit ©MariKatayama 

นิทรรศการหลักของคาตายามะ อาทิ home again (Maison Européenne de la Photographie ปารีส ฝรั่งเศส พ.ศ. 2564) 58th Venice Biennale 2019 (Giardini and Arsenale เวนิส อิตาลี) broken heart (White Rainbow ลอนดอน พ.ศ. 2562) Photographs of Innocence and of Experience – Contemporary Japanese Photography Vol.14 (Tokyo Photographic Art Museum โตเกียว พ.ศ. 2560) on the way home (The Museum of Modern Art กุนมะ พ.ศ. 2560) Roppongi Crossing – My Body, Your Voice (Mori Art Museum พ.ศ. 2559) Aichi Triennale 2013 (นาบายาชิ ไอชิ) เป็นต้น ผลงานของเธอได้รับคัดเลือกให้อยู่ในคอลเลคชั่นสาธารณะรวมถึง Tate Modern (ลอนดอน) Collection Antoine de Galbert (ปารีส) Mori Art Museum (Tokyo, Japan) Arts Maebashi (กุนมะ) และ Tokyo Photographic Art Museum (โตเกียว) เธอได้รับรางวัล Higashikawa Award ในประเภท The New Photographer ในปี พ.ศ. 2562 และรางวัล Kimura Ihei Award ในปี พ.ศ. 2563 สิ่งพิมพ์เกี่ยวกับงานของเธอเล่มสำคัญ ได้แก่ GIFT (United Vagabonds พ.ศ. 2562) มาริ คาตายามะอาศัยและทำงานในกุนมะ ประเทศญี่ปุ่น

27. จาน คาท (Jan Kath)

Jan Kath
Photo : Rug Bombs, 2022

เกิด พ.ศ. 2515 เยอรมนี

ผลงานศิลปะของ จาน คาท อ้างอิงถึงบทบาทของพรมในฐานะบทวิจารณ์ทางสังคม Rug Bombs เล่าเรื่องราวของสงครามตามความเป็นจริงในปัจจุบัน และตั้งคำถามถึงที่มาของความรุนแรง คาทมักจะผันเปลี่ยนวิธีการมองแบบเดิมๆ และแสดงความคิดออกมาผ่านพรมทอมือชั้นดีที่แต่ละผืนใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะประดิษฐ์ขึ้นในเนปาลและอินเดีย คาทเป็นผู้ที่เรียนรู้ด้วยตนเอง ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากความเชื่อมโยงทางอารมณ์อย่างลึกซึ้งกับพรม โดยคาทเป็นรุ่นที่สามของตระกูลพ่อค้าพรม การชื่นชมรูปแบบ องค์ประกอบ และสี ได้พัฒนาขึ้นตั้งแต่คาทอายุยังน้อย ในความพยายามที่จะค้นหาเส้นทางของตัวเอง เขาเดินทางทั่วเอเชียและตะวันออกกลางเมื่ออายุยี่สิบปี เมื่อเขาไปเนปาลเขาได้ค้นพบความสัมพันธ์ของเขากับโลกของพรมอีกครั้ง ด้วยแบรนด์การออกแบบพรมที่มีชื่อเดียวกัน จาน คาท และได้ปฏิวัติงวการพรมเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ซึ่งเปลี่ยนทิศทางของการออกแบบพรมร่วมสมัยไปทั่วโลก นับว่าคาทเป็นหนึ่งในนักออกแบบพรมที่สำคัญที่สุดในโลกในปัจจุบัน พรมของเขาได้รับการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นานาชาติหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะประยุกต์แฟรงก์เฟิร์ต และงาน Beijing International Design Triennial ใน Rug Bombs คาทปรับแต่งอัตลักษณ์ของพรมอย่างเชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่สำคัญ ก่อนหน้านี้ Rug Bombs เคยแสดงที่โบสถ์ Alte Brüderkirche ในเมือง Kassel (พ.ศ. 2565) ควบคู่ไปกับงานศิลปะ Documenta Fifteen

จาน คาท อาศัยอยู่ที่เชียงใหม่  และทำงานที่ประเทศไทยและเยอรมนี

Jan Kath Goblin’s Dance
250cm x 208cm
Image courtesy of the artist
Jan Kath Erased Heritage
Bidjar Waterloo Peace
Mother Black-Effect Natural White Silk 240 x 301cm
Image courtesy of the artist

28. คิมซูจา (Kim sooja)

Kim sooja 2016, Portrait at EMST by Giannis Vastardis

เกิด พ.ศ. 2500 แทกู สาธารณรัฐเกาหลี

คิมซูจา พำนักอยู่ที่นิวยอร์ก ปารีส และโซล และเป็นศิลปินคอนเซปชวลระดับนานาชาติ การทำงานของเธอค้นหาความเป็นทั้งหมดของชีวิตและศิลปะ โดยข้ามผ่านความหลากหลายของวัสดุและรูปทรง ผ่านผลงานประเภทจิตรกรรม งานปัก ศิลปะจัดวาง การแสดง และวีดิโอ เพื่อแสวงหาเงื่อนไขของศิลปะและชีวิต  ในช่วงยุค 1980s เธอได้เริ่มทดลองวิธีการแสดงออกในรูปแบบที่ต่างออกไป พร้อมกับการไตร่ตรองความเป็นสองมิติของงานจิตรกรรม นั่นทำให้เธอได้เริ่มทำชุดผลงานประเภทงานปัก ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงแก่นของโลกที่คู่ขนานกัน ของลำดับชั้นของพลังอำนาจในแบบแนวตั้ง หรือแนวราบ เช่นนั้นเองเธอจึงขยายประเด็นของการตั้งคำถามด้วยศิลปวัตถุของเธอ จากการใช้วัสดุสู่การปราศจากวัสดุ คิมซูจาตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะไม่ใช้วัสดุ และปรับใช้การทำงานเป็นวิถี “การไม่ทำ การไม่ลงมือ” ให้เป็นกรอบการทำงานในมุมสุนทรียะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นมาอย่างยาวนานของเธอในการใช้สื่อ และหลักการวิธีคิดที่หลากหลาย ซึ่งผลักดันให้เธอตั้งคำถามถึงศิลปะและความเป็นมนุษย์อยู่เสมอ ในการตามหาแนวคิด ความงามแบบไตร่ตรอง และความเป็นมนุษยนิยม

Kim sooja Archive of Mind, 2017
Participatory site-specific installation consisting of clay balls, 12m elliptical wooden table, and sound performance Unfolding Sphere, for the exhibition INTUITION, Palazzo Fortuni, Venice
Courtesy of Axel Vervoordt Foundation and Kimsooja Studio 

29.เรเชล นีโบน (Rachel Kneebone)

Rachel Kneebone
Courtesy of the artist and White Cube

เกิด พ.ศ. 2516 อ็อกซ์ฟอร์ดเชียร์ สหราชอาณาจักร

ผลงานศิลปะของ เรเชล นีโบน ตั้งคำถาม และกล่าวถึงสภาวะความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่องการเกิดใหม่ วงจรชีวิต และร่างกาย นีโบนสร้างสรรค์ผลงานประเภทประติมากรรม โดยเฉพาะ พอร์ซเลน ซึ่งตามธรรมชาติแล้วเป็นสื่อที่คาดเดาผลลัพธ์ได้ยาก เธอสนใจแนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การกลายร่าง การเปลี่ยนแปลง สภาวะความไม่แน่นอน และการที่วัสดุตั้งอยู่ในสถานะทางกายภาพที่ลื่นไหล เธอกล่าวว่าผลงานของเธอ “เกี่ยวกับการมีอยู่ผ่านร่างกาย และความหมายของการมีชีวิตบนโลกใบนี้”

Rachel Kneebone Dance, 2017
Porcelain, Corian and adhesive 16 1/8 x 24 13/16 x 23 5/8 in. (41 x 63 x 60 cm)
© Rachel Kneebone. Photo © Stephen White Courtesy White Cube

Rachel Kneebone Streak, 2017
Porcelain, Corian and adhesive 19 7/8 x 34 1/16 x 27 9/16 in. (50.5 x 86.5 x 70 cm)
© Rachel Kneebone. Photo © Stephen White Courtesy White Cube

เรเชล นีโบนเริ่มทำงานกับเครื่องเคลือบพอร์ซเลนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยเริ่มจากสนใจความขาวแบบโทนสีกระดูก ที่นำพามาซึ่งความรู้สึกของการเริ่มต้นและความรู้สึกเป็นกลาง เธอต้องการผลักดันขอบเขตและประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดินในฐานะวัสดุ และสร้างสิ่งที่เธอเรียกว่า “ร่างของดิน (clay body)” โดยเน้นสร้างความสัมพันธ์ทางชีวภาพ และเพิ่มการตอบสนองอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ แม้จะเป็นกระบวนการที่ศิลปินมีความเสี่ยง ที่จะต้องสูญเสียการควบคุมในวัสดุโดยสิ้นเชิงก็ตาม  การแลกเปลี่ยนอย่างสร้างสรรค์ระหว่างศิลปินและวัสดุที่เกิดขึ้นนี้ กล่าวคือ ระหว่างการตัดสินใจอย่างแม่นยำของศิลปินในระหว่างการปั้นต้นแบบ กับสิ่งที่คาดไม่ถึงที่อาจเกิดขึ้นในเตาเผา ทำให้กับประติมากรรมของนีโบนนั้นให้ความรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวได้ ในรอยแตกหรือรอยแยก ระหว่างการล้มพังที่เกิดขึ้นในบางครั้ง หรือการบันทึกไว้ของช่วงเวลาอย่างเป็นรูปธรรม

ประติมากรรมของนีโบนเสมือนว่าสามารถรับรู้ได้ในพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับจิตใต้สำนึก และเคลื่อนไปมา ระหว่างสภาวะรู้สึกกับไม่รู้สึกตัว ระหว่างความเป็นจริงกับจินตนาการ ระหว่างทุกสิ่งหรือไม่ใช่สิ่งใดเลย รูปทรงที่ซับซ้อนที่ผ่านการสร้างสรรค์อย่างละเมียดละไมผุดขึ้นจากก้อนดินที่ไม่ราบเรียบ แขนขาจากร่างที่นอนเอกเขนกยื่นออกมาสู่ที่ว่าง รูปร่างของดอกไม้ ลูกโลก ริบบิ้น ถักทอเข้าด้วยกัน แสงกระทบผ่านพื้นผิวที่เคลือบใสเป็นมันวาว และสร้างพื้นที่ของเงาสีเข้ม เป็นการเน้นขั้วตรงข้ามระหว่างพื้นที่เชิงบวกกับลบ และการเคลื่อนไหวกับความสงบ

30. อุดมศักดิ์ กฤษนมิตร

อุดมศักดิ์ กฤษนมิตร
Image courtesy of the artist

เกิดพ.ศ. 2509 กรุงเทพฯ ประเทศไทย

อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ
เป็นศิลปินคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งในวงการศิลปะร่วมสมัยไทยตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา เขาเป็นที่รู้จักดีที่สุดจากเทคนิคปะติดอันแตกต่างซึ่งเขาทดลองใช้สิ่งของในชีวิตประจำวันและวัสดุเหลือใช้อย่างหนังสือพิมพ์ กล่อง เส้นบะหมี่ แผนที่และสีทำให้เกิดภาพซึ่งทั้งดูเป็นทางการและมีแนวความคิดแฝงอยู่ ผลงานช่วงแรก ๆ ของเขามีตารางที่ซ้อนทับกันแน่นหลายชั้นและการเล่นกับพื้นผิว แสดงภาพเมือง ภาพดวงดาวหรือแม้แต่ภาพดิจิทัล แต่ผลงานช่วงหลัง ๆ ของเขาแสดงเจตจำนงที่แฝงแนวความคิดและชัดเจน ขยายแนวทางการสร้างสรรค์งานไปใช้สีโทนสว่างสีเดียววาดลวดลายสะดุดตาและใช้วัสดุเหลือใช้ที่ไม่เป็นไปตามขนบตั้งแต่เสื่อไม้ไผ่ไปจนถึงโต๊ะปิงปองมาประกอบในงานศิลปะจัดวางอันเป็นเอกลักษณ์ 

อุดมศักดิ์ กฤษนมิตร The Whole She Bang, 2016, Mixed media on canvas, 243 x 183 cm
Image courtesy of the artist
อุดมศักดิ์ กฤษนมิตร My Black Cat, 2022
Gauche on cardboard paper, 75×45 cm.
Courtesy the artist and Gallery VER

ตัวอย่างนิทรรศการเดี่ยว ได้แก่ นิทรรศการแสดงผลงานที่ผ่านมาทั้งหมด Re-Presentation: Redux (หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, พ.ศ. 2562) นิทรรศการแสดงผลงานที่ผ่านมาทั้งหมดซึ่งฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิชเป็นภัณฑารักษ์ (หอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่, พ.ศ. 2559) Planet Caravan (ลีห์มันน์ โมปัง, ฮ่องกง, พ.ศ. 2557) Udomsak Krisanamis (เกวิน บราวน์เอนเตอร์ไพรส์, นิวยอร์ค, นิวยอร์ค, พ.ศ. 2555) A mindful mission (หอศิลป์กีที นูร์แบคช์, เบอร์ลิน และสมาคมศิลปะฟรายแบร์ก, พ.ศ. 2554) Udomsak Krisanamis (หอศิลป์บาเซิล, พ.ศ. 2547) ผลงานของเขาจัดแสดงในนิทรรศการกลุ่มอาทิ SUNSHOWER: Contemporary Art from Southeast Asia (พิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ, โตเกียว, พ.ศ. 2560) Art and Music-Search for New Synesthesia (พิพิธภัณฑ์แห่งโตเกียว, พ.ศ. 2555) Dereconstruction (หอศิลป์แกลดสโตน, นิวยอร์ค, นิวยอร์ค, พ.ศ. 2549) Bidibidobidiboo ซึ่งมีฟรานเชสโก โบนามีเป็นภัณฑารักษ์ (คอลเลตซิโอเน ซานเดรตโต เร เรเบาเดงโก, ตูริน, พ.ศ. 2548) Greater New York (พีเอส 1, ลองไอแลนด์ซิตี้, นิวยอร์ค, พ.ศ. 2543) Examining Pictures (หอศิลป์ไวท์ชาเพิล, ลอนดอน, พ.ศ. 2542) ซิดนีย์เบียนนาเล่ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2541) และ Project 63 (พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่, นิวยอร์ค, นิวยอร์ค, พ.ศ. 2541) ผลงานของอุดมศักดิ์สะสมอยู่ในคอลเลกชันของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ซานฟรานซิสโก ศูนย์ศิลปะวอลเคอร์ (มินนีแอโพลิส, มินนิโซตา) หอศิลป์ออลไบรท์ น็อกส์ (นิวยอร์ค) มูลนิธิศิลปะคาร์เทียร์ (ปารีส) มูลนิธิซานเดรตโต เร เรเบาเดงโก (ตูริน, อิตาลี) และที่อื่น ๆ  

ปัจจุบันอุดมศักดิ์อาศัยและทำงานอยู่ที่เชียงใหม่ ประเทศไทย