เปิดตัว 73 ศิลปินชั้นนำในงาน Bangkok Art Biennale 2022 - BAB 2022

เปิดตัว 73 ศิลปินชั้นนำระดับโลก ที่ร่วมแสดงผลงานในงาน BAB 2022 CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุข

51. พินรี สัณฑ์พิทักษ์

พินรี สัณฑ์พิทักษ์
Photo by Tanapol Kaewpring

เกิด พ.ศ. 2504 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

พินรี สัณฑ์พิทักษ์ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นศิลปินร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การทำงานของเธอมักศึกษาร่างและสรีระของมนุษย์ในฐานะที่เป็นสื่อส่งผ่านประสบการณ์ หรือมุมมอง และประสาทสัมผัสของร่างที่มีต่อพื้นที่ และความสามารถที่ร่างสามารถถูกกระตุ้นให้เกิดการรับรู้เชิงสัญลักษณ์และแนวคิดได้ พินรีใช้วิธีการลดทอนรูปทรงเต้านมไปสู่รูปทรงที่เรียบง่ายขึ้นเช่น รูปภาชนะ หรือเนินโค้งมน ซึ่งสำหรับเธอแล้วเชื่อมโยงกับภาพของพระพุทธรูป(เทวสถาน)และบาตรพระ ศิลปินเปรียบเทียบรูปทรงนี้กับรูปร่างปฐมภูมิ หรือรูปร่างศักดิสิทธิ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ประเพณีและวัฒนธรรมไทย สถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา และการปฏิบัติในแนวคิดแบบพุทธด้วย ดังนั้นผลงานของเธอจึงก้าวผ่านการตีความที่จำกัดเฉพาะเพียงเรื่องเพศสภาพ ศาสนา และวัฒนธรรมเพียงอย่างเดียว

การค้นคว้าเรื่องสรีระและประสาทสัมผัสของพินรียังได้ขยายขอบเขตไปสู่เรื่องของวัสดุ โดยในสามทศวรรษที่ผ่านมา ศิลปินได้ผลิตผลงานในสื่อต่าง ๆ มากมาย รวมไปถึง จิตรกรรม คอลลาจ ภาพพิมพ์ ประติมากรรม ศิลปะจัดวาง และศิลปะการแสดง นอกจากนี้ สิ่งที่สนับสนุนการทำงานของเธอได้เป็นอย่างดี คือความสนใจอย่างต่อเนื่องในความเป็นไปได้ของร่างกาย ร่างของเธอเองในฐานะพื้นที่ของการรับรู้ และประสบการณ์ทางร่างกายของผู้หญิง และโดยเฉพาะในระยะหลัง ความสนใจในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย ที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมในพื้นที่และผลงานที่เธอสร้างขึ้นอีกด้วย

พินรี สัณฑ์พิทักษ์ Breast Stupa Topiary, 2013
Stainless Steel
Switzerland Private Property
พินรี สัณฑ์พิทักษ์ Noon-Nom 2016, 2016 
Textile, synthetic fiber Size variable
Installation view: Sugar Spin: You, Me, Art and Everything exhibition, Queensland Art Gallery / Gallery of Modern Art, Brisbane, Australia (2016)
Photo: B. Wagner, Queensland Art Gallery / Gallery of Modern Art

ผลงานของพินรี สัณฑ์พิทักษ์ถูกจัดแสดงในเทศกาลศิลปะนานาชาติมากมาย อาทิ เซโตอุจิ เทรียนนาเล่ (ญี่ปุ่น พ.ศ. 2562) ซิดนีย์ เบียนนาเล่ ครั้งที่ 18 (พ.ศ. 2562) ปูซาน เบียนนาเล่ (พ.ศ. 2551) และเคยแสดงผลงานที่พิพิธภัณฑ์ระดับโลก อาทิ พิพิธภัณฑ์อาร์นไฮม์ (เนเธอร์แลนด์) หอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Singapore Art Museum หอศิลป์ ILHAM Gallery (มาเลเซีย) หอศิลป์ Queensland Art Gallery | Gallery of Modern Art (ออสเตรเลีย) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่โตเกียว (ญี่ปุ่น) พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม (ประเทศไทย) ฯลฯ พินรี สัณฑ์พิทักษ์ได้รับรางวัลศิลปาธร จากกระทรวงวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2550 

พินรี สัณฑ์พิทักษ์ มีผลงานอยู่ในคอลเลคชั่นสะสมระดับโลกรวมถึง พิพิธภัณฑ์ Fukuoka Asian Art Museum (ญี่ปุ่น) หอศิลป์ Queensland Art Gallery | Gallery of Modern Art (ออสเตรเลีย) พิพิธภัณฑ์ Los Angeles County Museum of Art (สหรัฐอเมริกา) พิพิธภัณฑ์ Asian Art Museum San Francisco (สหรัฐอเมริกา) มูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation (สหรัฐอเมริกา) พิพิธภัณฑ์ Nasher Museum of Art (สหรัฐอเมริกา) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่โตเกียว (ญี่ปุ่น) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ประเทศไทย) มูลนิธิ Arter–Vehbi Koç Foundation (ตุรกี) และพิพิธภัณฑ์ M+ (ฮ่องกง).

52. Satu ≠ Padu Collaborative

Satu ≠ Padu Collaborative
Image courtesy of Satu ≠ Padu Collaborative

ก่อตั้ง พ.ศ. 2564 นราธิวาส ประเทศไทย

Satu ≠ Padu Collaborative ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2564 ในครั้งนี้เป็นการร่วมทำงานกันระหว่างศิลปินและนักกิจกรรมหลากหลายกลุ่ม โดยมีปรัชญ์ พิมานแมน และ เดอลาแป อาร์ทสเปซ ประสานงานโครงการโดย คีต์ตา อิสรั่น ที่ทำงานร่วมกับกลุ่มคนในพื้นที่จังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ผลงาน Checkpoint No#2 THE LIVING ARCHIVE ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ [R]Ejecting Mantra # CH 1: The Enmeshed (พ.ศ. 2560/2562) โครงการวิจัยและนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยรูปแบบต่อเนื่อง โดย ร้าย.ดี คอลเลคทีฟ อีกทั้งยังได้ทำงานร่วมกับกลุ่ม Halal Life ที่จะนำไปสู่การสำรวจย่านในพื้นที่เชื่อมโยงระกว่างความเป็นมลายูบางกอก ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่ นำไปสู่การเชื่อมโยงกับภูมิภาคปาตานี (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ที่เล่าเรื่องราวความรุนแรงและความขัดแย้งในหลากหลายมุมมองที่อยู่บนเส้นของการศึกษาประวัติศาสตร์การเชื่อมโยงกันของพื้นที่ ผ่านการติดตั้งในรูปแบบผลงานจัดวาง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และปฏิสัมพันธ์กับชุมชน

Satu ≠ Padu Collaborative
Project for Bangkok Art Biennale 2022
Work in process
Satu ≠ Padu Collaborative
Project for Bangkok Art Biennale 2022
Work in process

53. กันซุก เซดบาซาร์ (Ganzug Sedbazar)

Ganzug Sedbazar Image courtesy of the artist

พ.ศ. 2521 มองโกเลีย

หลังจากการล่มสลายของระบบสังคมนิยมในปี พ.ศ. 2534ในมองโกเลีย  ประชาชนและศิลปินใรรุ่นของ กันซุก เซดบาร์ซา ได้รับอิสระทางศิลปะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เมื่อวัยเด็ก เซดบาซาร์ใช้ชีวิตผ่านช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ที่มองโกเลีย ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศน์ ประสบการณ์นี้มีอิทธิพลและบอกเล่าถึงวิถีการปฏิบัติทางศิลปะของเขาอย่างลึกซึ้ง 

Ganzug Sedbazar Nomadic existence, 2019.
Performance and video installation, Ulaanbaatar public art week, join exhibition, MN17 art gallery, Ulaanbaatar 2019 (Mongolia)

ผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงที่ Ulaanbaatar International Media Art Festival, พิพิธภัณฑ์ Bogd king Palas Ulaanbaatar (พ.ศ. 2562); Bogd Khan Palace Museum, Ulaanbaatar; Teahwa River Eco Art Festival, Ulsan, South Korea, Human Cairns,, การแสดงโดย Ganzug Sedbazar และ Davaajargal Tsaschikher ผลิตโดย Lovely Daze ที่ C-Lab, ไทเป, ไต้หวัน (พ.ศ. 2561); เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 56 (พ.ศ. 2558) เขาได้รับรางวัลพิเศษจากงาน Land Art Biennial ประเทศมองโกเลีย (พ.ศ. 2557)

54. ชิฮารุ ชิโอตะ (Chiharu Shiota)

Chiharu Shiota Berlin 2020, Photo by Sunhi Mang

เกิด พ.ศ. 2515 โอซากะ ญี่ปุ่น

แรงบันดาลใจของ ชิฮารุ ชิโอตะ มักเกิดมาจากประสบการณ์ส่วนตัวหรืออารมณ์ที่เธอพัฒนาไปสู่ความกังวลของมนุษยชน เช่น เรื่องชีวิต การตาย และความสัมพันธ์ เธอได้ให้ความหมายใหม่กับแนวคิดเรื่องความทรงจำและความรู้สึกตัวโดยเธอรวมรวบของธรรมดา ๆ อย่างรองเท้า กุญแจ เตียง เก้าอี้ และชุดกระโปรง และเธอใช้เส้นด้ายคลุมของใช้พวกนั้นรวมเป็นโครงสร้างขนาดมหึมา เธอค้นหาความรู้สึกของ ‘การมีอยู่ ในการไม่มีอยู่’ ในผลงานประเภทศิลปะจัดวางของเธอ  ในขณะที่เธอแสดงความรู้สึกที่ไร้ตัวตนในผลงานประติมากรรม ภาพเขียน วีดิทัศน์การแสดง ภาพถ่าย และงานบนแคนวาส ในปี พ.ศ. 2551 เธอได้รับรางวัล อาร์ต เอนเคอเรจเมนท์ สำหรับศิลปินหน้าใหม่ จากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2558 ชิโอตะได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนแสดงผลงานของประเทศญี่ปุ่นในงานเวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 56

Chiharu Shiota I hope…, 2021
Installation: rope, paper, steel
König Galerie, Berlin, Germany
Photo by Sunhi Mang, ©VG Bild-Kunst, Bonn, 2021 and Chiharu Shiota
Chiharu Shiota Will of the Universe, 2021
Installation: stone, rope, net
Kenji Taki Gallery, Nagoya, Japan
Photo by Tetsuo Ito
©VG Bild-Kunst, Bonn, 2021 and Chiharu Shiota

ผลงานของเธอได้ถูกจัดแสดงในสถาบันนานาชาติทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่เอสปู (พ.ศ. 2564) พิพิธภัณฑ์แห่งนิวซีแลนด์ เทปาป้า ตองกาเรวา (เวลลิงตัน พ.ศ. 2563) พิพิธภัณฑ์โมริ (โตเกียว พ.ศ. 2562) โกรปิอุส-เบา (เบอร์ลิน พ.ศ. 2562) หอศิลป์เซาท์ออสเตรเลีย (พ.ศ. 2561) สวนประติมากรรมยอร์กเชอร์สคัลป์เจอร์พาร์ค (สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2561) เพาวเวอร์สเตชั่นออฟอาร์ต (เซี่ยงไฮ้ พ.ศ. 2560) K21 คุ๊นซ์ นอร์ดไรน์-เวสต์ฟาเลน (ดัสเซลดอร์ฟ พ.ศ. 2558) ห้องแสดงผลงาน อาร์เทอร์ เอ็ม. แซกเลอร์ ณ สถาบันสมิธโซเนียน (วอชิงตัน ดี.ซี. พ.ศ. 2557) พิพิธภัณฑ์ศิลปะ (โคชิ พ.ศ. 2556) และ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ (โอซากะ พ.ศ. 2551) เป็นต้น เธอยังได้ร่วมอยู่ในนิทรรศการนานาชาติอีกมากมาย เช่น เทศกาลศิลปะนานาชาติโอกุ-โนโตะ (พ.ศ. 2560) ซิดนีย์ เบียนนาเล่ (พ.ศ. 2559) เอจิโกะ-สึมาริ อาร์ต เทรียนนาเล่ (พ.ศ. 2552) และ โยโกฮามะ เทรียนนาเล่ (พ.ศ. 2544)

55. ติมูร์ ซี-ฉิน (Timur Si-Qin)

Timur Si-Qin Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2527 เบอร์ลิน เยอรมนี

ติมูร์ ซี-ฉิน สนใจในวิวัฒนาการของวัฒนธรรม พลวัตของความรู้ความเข้าใจ และปรัชญาร่วมสมัย เขาสานมันเข้าด้วยกันเพื่อสร้างศิลปะสิ่งแวดล้อมรูปแบบใหม่ ผ่านการสร้างรูปแบบสื่อที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นศิลปะจัดวางที่ประกอบไปด้วยประติมากรรมจากการพิมพ์ 3 มิติ กล่องไฟ เว็บไซต์ ข้อความ และการจำลองโลกเสมือน งานของซี-ฉินมักจะท้าทายกับแนวความคิดทั่วไปของ อินทรีย์กับสังเคราะห์ ธรรมชาติกับวัฒนธรรม มนุษย์กับาสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ และแนวความคิดคู่ขนานอื่น ๆ ที่เป็นหัวใจของวิธีคิดแบบตะวันตกนิทรรศการเดี่ยวของเขา ได้แก่ Take Me, I Love You (Von Ammon Co. พ.ศ. 2563) New Peace (Spazio Maiocchi พ.ศ. 2561) Forgiving Change (The High Line พ.ศ. 2561) East, South, West, North (Magician Space พ.ศ. 2561) เป็นต้น นิทรรศการกลุ่ม ได้แก่ Diriyah Contemporary Art Biennale ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2564) Riga International Biennial of Contemporary Art ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2565) Ural Industrial Biennale of Contemporary Art ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2560) Berlin Biennale for Contemporary Art ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2559) Taipei Biennale ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2557) เป็นต้น

Timur Si-Qin Juniper, 2019
3D printed material, acrylic 150 x 86 x 122.5 cm
Courtesy the artist and Magician Space
Timur Si-Qin The 8th Gate Sorting Processor, 2015
Plexiglass, metal, resin, paper, LED lights, 285 × 195 × 171cm
Courtesy the artist and Magician Space

56. ไมตรี ศิริบูรณ์

ไมตรี ศิริบูรณ์ Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2526 อุบลราชธานี ประเทศไทย

ไมตรี ศิริบูรณ์ เป็นศิลปินอิสระ หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาก็เริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นช่างภาพ เขาใช้ภาพถ่ายถามคำถามเกี่ยวกับ “ลำดับชนชั้นของวัฒนธรรม” และ “อัตลักษณ์ความเป็นอีสาน” ในผลงานชุดแรกของเขา “อีสานบอยดรีม” (พ.ศ. 2549) เขาได้ชวนเพื่อนจากหลากหลายเชื้อชาติและสีผิวมาเยี่ยมเยียนหมู่บ้านของเขาใกล้จังหวัดอุบลราชธานี ผลงานชุด อีสานบอย ซอย 4 (พ.ศ. 2552) ชวนให้นึกถึงทั้ง ภาคอีสาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาที่ที่พนักงานบริการในกรุงเทพฯ จำนวนมากย้ายถิ่นฐานออกมา และ สีลมซอย 4  ย่านเกย์เก่าแก่ของกรุงเทพฯ ในการทำงานของเขาในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม ศิลปินมักกังวลย้อนคิดกลับมาหาตัวเองในความแตกสลาย ความขัดแย้ง และความเปราะบางไมตรีกลายเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วด้วยผลงานเหล่านี้

ไมตรี ศิริบูรณ์ Dream of Beyond No.9, 2010
Size 90x60cm
Image courtesy of the artist

นอกจากนี้ เขายังได้รับความสนใจจากผลงานภาพปะติดโมเสกขนาดใหญ่ที่สวยงาม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาพโมเสคกระจกหลากสีสันที่ประดับประดาวัดไทย และรวมถึงการจัดวางและการแสดงของเขาด้วย

ผลงานของไมตรีได้แสดงไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ที่อื่น ๆ เช่น ในงาน Guangzhou Triennial ครั้งที่ 4 (สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2556) Photoquai (ปารีส พ.ศ. 2556) Art Stage Singapore (พ.ศ. 2557 และ 2558) Me Love You Long Time (Boston Center for the Arts สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2558) Was ist Heimat (Museum Orth ออสเตรีย พ.ศ. 2560) Isan Contemporary Report (หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2560) Spectrosynthesis II (หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562) จนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ผลงานจากยุคสร้างสรรค์หลายสมัยและผลงานใหม่สำหรับนิทรรศการ Kwai – sometimes I wish I was a Water Buffalo จะแสดงที่ Head High Second Floor พื้นที่ศิลปะ ไม่แสวงหากำไรแห่งใหม่ของเชียงใหม่

งานศิลปะของเขาสามารถพบได้ในคอลเล็กชั่นส่วนตัวที่สำคัญทั่วโลก

ไมตรี ศิริบูรณ์อาศัยและทำงานในอุบลราชธานีและกรุงเทพฯ ประเทศไทย

57. วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร

วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร
Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2517 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร พำนักและทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ผลงานของเธอมักกล่าวถึงประเด็นทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ในมุมมองเชิงวิพากษ์ และตั้งคำถามเกี่ยวกับความหมายของชีวิต ผลงานที่ผ่านมาของเธอมีหลากหลายประเภท รวมถึงวิดีโออาร์ต ประติมากรรม ศิลปะจัดวาง และมักใช้สื่อมีเดียใหม่ ๆ นิทรรศการกลุ่มที่วันทนีย์ร่วมจัดแสดงรวมถึง BIENALSUR, The State of Things คัดสรรโดย เบเนเดตต้า คาสินี่ และ ลีอันโดร มาร์ติเนซ เดปิเอตริ (Museo MACRO, Santiago, Argentina) นิทรรศการ Watch and Chill: Streaming Art to Your Homes ร่วมคัดสรรโดยจีฮอย ลี (พิพิธภัณฑ์ MMCA โซล) โจเซลิน ครูซ (พิพิธภัณฑ์ MCAD มานิลา) กิตตมา จารีประสิทธิ์ (พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่) ซิลเก ชมิคเลอ (M+ เกาลูน และฮ่องกง) (พ.ศ. 2564) นิทรรศการ ERRATA: COLLECTING ENTANGLEMENTS AND EMBODIED HISTORIES คัดสรรโดยกฤติยา กาวีวงศ์ (พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ พ.ศ. 2564)  The Listening Biennial คัดสรรโดย พุทธทิตยะ ชัตโฏปาฏยะ แบรนดอนลาบาลโล อิสราเอล มาร์ติเนซ และหยาง หยึง (พื้นที่ศิลปะ Errant Sound เบอร์ลิน พ.ศ. 2564)  A Life Beyond Boundaries (The Geography of Belonging) คัดสรรโดย โลเรดาน่า ปัซซินี ปารัชชานี่ (JWD Art Space กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564) Displace, Embody คัดสรรโดย ดร. แพทริก ดี ฟลอเรส (UP Vargas Museum มานิลา พ.ศ. 2563) Painting with Light นิทรรศการออนไลน์รวบรวมคอลเลคชั่นหนังสั้น และเรื่องราวเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (หอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์ พ.ศ. 2563) Transocean Express คัดสรรโดย อเล็กซานเดอร์ เมโล (หอศิลป์ Galería Presença ปอร์โต พ.ศ. 2563)  in the era of Asia’s Post-LCC (ร่วมจัดโดย Kyoto Art Center และ Tra-Travel เกียวโต พ.ศ. 2563)  และนิทรรศการเดี่ยว A broken ladder จัดแสดงที่แกลเลอรีเว่อร์ (พ.ศ. 2561) วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร ร่วมกับศิลปิน นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ และจิตติ เกษมกิจวัฒนา ก่อตั้งโครงการพื้นที่ออนไลน์ชื่อ encrypted/decrypted ในอินสตาแกรม เฟซบุ๊ก และสปอติฟาย (พ.ศ. 2563)

วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร Freeze TV 2015
HD video with sound 10:06 mins
Courtesy of the artist

58. อ้อ นพวรรณ สิริเวชกุล

อ้อ นพวรรณ สิริเวชกุล
Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2511 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

อ้อ นพวรรณ สิริเวชกุล เป็นศิลปินไทยในสาขาศิลปะการแสดงสด พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ เธอถือเป็นหนึ่งในศิลปินไทยในสาขาศิลปะการแสดงสดที่ทุ่มเทและกระตือรือร้นที่สุด เธอได้ทำงานร่วม และจัดแสดงผลงานของเธอกับศิลปิน มงคล เปลี่ยนบางช้าง ในชื่อโครงการว่า blurborders International performance art eXchange และเคยทำงานในตำแหน่ง ผู้จัดการโครงการของ ASIATOPIA ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 – 2560

ในปี 2550 เธอได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ให้จัดแสดงผลงานของเธอที่ประเทศโปแลนด์ และในปี พ.ศ. 2556 ได้รับการสนับสนุนจากหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครให้เข้าร่วมงานแสดงศิลปะที่ประเทศอิสราเอล และ 2559 เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน ศิลปินที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยน Bangkok / Quebec ที่เมืองควีเบค ประเทศแคนาดา นอกจากนี้เธอยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมเทศกาลการแสดงต่างๆ ในหลากหลายประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา

การทำงานข้ามแขนงของเธอครอบคลุมสื่อตั้งแต่ภาพถ่ายไปจนการแสดง และมักจะบรรจุเรื่องราวที่ผสมผสานกันระหว่างความงดงามและความแห้งแล้วในชีวิต รวมทั้งวิพากษ์ความรุนแรงของมนุษยชาติ และแรงกระตุ้นที่ทำให้เกิดความแปลกแยก

อ้อ นพวรรณ สิริเวชกุล Red yarn story, 2019
Performancear o Morir, Chihuahua, Mexico
Photo: Sylvia Alonso

59. วสันต์ สิทธิเขตต์

วสันต์ สิทธิเขตต์ Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2500 นครสวรรค์ ประเทศไทย

วสันต์ สิทธิเขตต์ เป็นหนึ่งในศิลปินมีส่วนร่วมทางสังคมที่เป็นที่รู้จักและยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย เขาสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลปในปี พ.ศ. 2524 เขาทำงานกับสื่อทุกชนิดรวมทั้งบทกวีและดนตรี และมีความสนใจในความรับผิดชอบของชุมชนและพลเมืองในฐานะสมาชิกของสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 ประเด็นที่เขาให้ความสำคัญนั้นรวมถึงความขัดแย้งระหว่างเมือง-ชนบท การโค่นล้มศาสนาพุทธเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง การใช้อำนาจในทางที่ผิด การทุจริต การลบล้างประวัติศาสตร์ นิเวศวิทยา และความเป็นชาตินิยมของไทย ผลงานซึ่งดึงดูดสายตาของเขานั้นพูดถึงความชั่วร้ายทั้งหลายกัดกินสังคมไทยร่วมสมัยผ่านการแสดงออกหลายรูปแบบ ตั้งแต่การประชดประชันและภาพการ์ตูนล้อเลียน ไปจนถึงการอุปมาอุปไมยที่แยบลที่สุดผลงานของเขาถูกจัดแสงที่ Asia-Pacific Triennial of Contemporary Art ครั้งที่ 1 ในบริสเบน (พ.ศ. 2536); นิทรรศการ Asian Modernism: Diverse Developments ของ Japan Foundation ที่จัดขึ้นในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย (พ.ศ. 2538-2539); Venice Biennale (พ.ศ. 2546); Gwangju Biennale ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2549); Making History: How Southeast Asian art reconquers the past to conjure the future (Esplanade, สิงคโปร์, พ.ศ. 2553); Negotiating Home, History and Nation: Two decades of contemporary art in Southeast Asia (Singapore Art Museum, พ.ศ. 2554); และ The Roving Eye: contemporary art in Southeast Asia (ARTER/Koc Foundation, Istanbul, พ.ศ. 2557), เป็นต้น ผลงานของเขาอยู่ในคอลเลกชั่นของสถาบันหลายแห่ง เช่น Singapore Art Museum, Queensland Art Gallery และ Fukuoka Asian Art Museum

วสันต์ สิทธิเขตต์ Nobody wanna be refugee, 2017
Portrait, oil on canvas 70×90 cm
Image courtesy of the artist

60. มิร์ทิลล์ ทิแบย์เรงซ์ (Myrtille Tibayrenc)

Myrtille Tibayrenc  © Alex De Blonay

เกิด พ.ศ. 2523 กลามาร์ ฝรั่งเศส

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของตูดยุงอาร์ตเซ็นเตอร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 มิร์ทิลล์ ทิแบย์เรงซ์ เป็นที่รู้จักจากผลงานที่ไม่เป็นไปตามขนบในฐานะภัณฑารักษ์ รวมถึงงานที่พึ่งผ่านมาไม่นานของเธอในฐานะศิลปิน ที่เริ่มต้นจากการเปิดตัวที่รับเสียงตอบรับที่ดีจากการแสดงผลงานที่เซรินเดีย แกลเลอรีในกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2560 ตั้งแต่นั้นมาเธอได้แสดงผลงานอย่างต่อเนื่องทั้งในพื้นที่ทางเลือก และสถาบันศิลปะที่ได้รับการยอมรับทั้งในกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ ด้วยสถานการณ์ที่ทำให้ตูดยุงอาร์ตเซ็นเตอร์ต้องปิดตัวลงท่ามกลางการระบาดใหญ่ เธอจึงได้มุ่งหน้าทำงานจิตรกรรมของเธอมากขึ้น

Myrtille Tibayrenc Burn, 2020
©Alex De Blonay
Myrtille Tibayrenc I Am Love, 2020
Courtesy of the artist

ทิแบย์เรงซ์เป็นประชากรฝรั่งเศสและเติบโตในโบลิเวีย สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เธอจบการศึกษาจากเอกอล เด โบซาร์ในดันเคิร์ก และศึกษาต่อด้านศิลปะที่เอกอล เด โบซาร์ในมาร์เซย์ ก่อนที่เธอจะย้ายถิ่นฐานมาที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2549 ผลงานที่รูปธรรม ได้รับแรงบันดาลใจมาจากทั้งการสังเกต และ ภาพถ่าย และความเชื่อมโยงของรูปภาพกับข้อมูล ซึ่งมีความเป็นจิตรกรรมอย่างเห็นได้ชัดและมีความรุกเร้ายั่วยวน เธอสร้างผลงานเป็นชุดใหญ่ โดยเธอทำสีเป็นก้อน ๆ คล้ายกำแพงอดีตโวโตที่พบตามโบสถ์ ผลงานจิตรกรรมของจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละชิ้นจะทำงานเหมือนเป็นสัญลักษณ์ และอยู่บนไม้หรือผ้าใบ ผลงานของเธอจะถูกจัดวางโดยมีงานชิ้นตรงกลางที่โดดเด่นอยู่พื้นหลังสีเรียบ เทคนิคและประเด็นที่เธอเลือกได้แรงบันดาลใจโดยตรงมาจากศิลปินชั้นนำในยุคเรเนซองส์ ซึ่งผลักดันให้ผลงานของเธอมีความดูเหนือกาลเวลาและดูผิดยุคสมัยในเวลาเดียวกัน