ไม้ไผ่แต่ละลำไม่ตรง หัวและปลายไม่เสมอกัน มีความโค้งงอ แอ่นตัว ซึ่งเป็นทั้งจุดอ่อนและจุดเด่นในตัวเอง การตัดและ การประกอบไม้ไผ่ จึงต้องมีเทคนิค
การตัดไม้ไผ่
ก่อน การประกอบไม้ไผ่ หากต้องตัดและเจาะ ควรมีระยะห่างจากข้อไม้ไม่เกิน 8 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรง
การประกอบไม้ไผ่
สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้นอต (Nut) และสลักเกลียว (Stud Bolt) โดยใช้สว่านเจาะรูนำก่อนเพื่อป้องกันไม้แตก ทั้งยังใช้ปืนลมในการยึดกับวัสดุต่างๆ ได้ แต่ไม่ควรใช้การตอกตะปูเพราะไม้จะแตก โดยมีตัวอย่างการประกอบไม้ไผ่ดังนี้
การประกบไม้
เนื่องจากลำไม้ไผ่มีโคนใหญ่ปลายเล็กและมีความโค้งงอ จึงมีวิธีการประกบไม้ที่แตกต่างจากไม้จริง
- สลับด้านหัวและปลายไม้เพื่อให้สมดุลกัน
- เลือกไม้ที่โค้งงอในทิศทางตรงข้ามเพื่อดึงรั้งกัน
- มัดและจัดให้ตรง
- ตอกลิ่มไม้ไผ่แนวทแยงทุกระยะ 50-60 เซนติเมตร เมื่ออยู่ดีแล้วสามารถแก้มัดได้
หมายเหตุ : เนื้อไม้ไผ่แข็งแรงน้อยกว่าไม้จริง ความสามารถในการรับแรงอัดน้อยกว่าวัสดุอื่น แต่รับแรงดึงได้มากกว่าเหล็ก การนำไปใช้งานสามารถใช้วิธีการก่อสร้างคล้ายงานไม้จริง แต่ต้องปรับเทคนิคการตัดและ การประกอบไม้ไผ่ ไปตามแต่ละกรณี
ขอขอบคุณ บริษัท ธ.ไก่ชน จำกัด โทรศัพท์ 08-4100-0233
นิตยสารบ้านและสวน ฉบับเมษายน 2562
เรื่อง : ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์
ภาพ: อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม
ภาพประกอบ: เอกรินทร์ พันธุนิล