91. บ้านเล็กในป่าใหญ่
- เจ้าของ – ออกแบบ : คุณจักษ์ ลัดพลี
บ้านไม้ชั้นเดียวที่สร้างอยู่บนสระน้ำขนาดใหญ่ โดยออกแบบให้แทบจะไม่มีผนังทึบเลย เพราะต้องการให้เห็นแต่ต้นไม้และได้รับลม ซึ่งเจ้าของบ้านต้องการให้รู้สึกเหมือนค่อยๆเดินเข้ามาในป่า ได้บรรยากาศบ้านเล็กในป่าใหญ่ >> อ่านต่อ
92. บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวนแสนร่มรื่น
- เจ้าของ- ออกแบบ : คุณผจงกิติ์ เหล่าเราวิโรจน์
บ้านไม้ชั้นเดียว ที่เลือกใช้โครงสร้างแบบง่ายๆ โดยออกแบบให้เปิดโล่งเปิดรับบรรยากาศสวนแสนร่มรื่น ส่วนการตกแต่งภายในส่วนใหญ่ใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เน้นที่ทำจากไม้และหวาย ซึ่งดูเข้ากับโครงสร้างไม้ของตัวบ้าน >> อ่านต่อ
93. พักผ่อนกายใจในบ้านสวนใต้ถุนสูงริมน้ำนครชัยศรี
- ออกแบบ : Polygram Design Co.,Ltd. โดยคุณอำนาจ คีตพรรณนา
บ้านหลังนี้สามารถเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่า “บ้านสวน” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่สภาพแวดล้อมยังคงความเป็นธรรมชาติของบ้านในภาคกลางที่มักตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลอง ด้านหน้าบ้านมีสนามหญ้ากว้างและมีต้นไม้ใหญ่คอยให้ร่มเงา ตัวบ้านเป็นเรือนไม้ยกพื้นสูงที่มีกลิ่นอายของชนบทในประเทศอังกฤษกลายๆ และมีระเบียงกว้างที่ใช้เป็นส่วนอเนกประสงค์ ท่ามกลางบรรยากาศของสวนแบบไทยๆที่ดูร่มรื่น น่าพักผ่อนที่สุด >> อ่านต่อ
94. บ้านไม้ยกพื้นสูงที่เปรียบดั่งงานศิลป์บนเนินเขา
- เจ้าของ – ออกแบบ : รองศาสตราจารย์เกศ ชวนะลิขิกร
เมื่อศิลปินแนวแอ๊บสแตร็กท์เลือกสร้างบ้านของตัวเองไว้อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขาโล่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ บ้านหลังนี้จึงเป็นเหมือนงานประติมากรรมชิ้นใหญ่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่บนเนินเขาสวย โดยเน้นการเปิดโล่งเพื่อรับลมธรรมชาติได้ทุกทาง ภายในพื้นที่ 300 ตารางเมตรนั้นประกอบขึ้นจากไม้ของยุ้งข้าวเก่า แบ่งเป็นพื้นที่ทำงานศิลปะและห้องนอนขนาดกะทัดรัด มีการแยกส่วนครัวและห้องน้ำไว้ด้านนอกอย่างเป็นสัดส่วน ที่ขาดไม่ได้ก็คืองานศิลปะที่รังสรรค์ขึ้นเองและของผองเพื่อน ซึ่งช่วยเติมเสน่ห์ให้มุมต่างๆ ในบ้านได้สมกับเป็นบ้านของศิลปินอย่างแท้จริง >> อ่านต่อ
95. บ้านไม้สไตล์ปักษ์ใต้ร่วมสมัยแห่งพัทลุง
- เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด
- สถาปนิก : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และคุณอรวี เมธาวี
ด้วยความที่จังหวัดพัทลุงได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่มีฝนตกหนัก สถาปนิกจึงเน้นออกแบบบ้านปูนผสมไม้หลังนี้ให้มีชายคาต่ำกว่าเรือนภาคอื่น พร้อมกับมุงหลังคาทรงปั้นหยาที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้ครบทั้งสี่ด้านมากกว่าหลังคาทรงจั่ว แล้วออกแบบวางเรือนตามเเนวตะวัน ให้บันไดอยู่ทางทิศตะวันตกเพื่อกันเเดดบ่าย วางห้องน้ำไว้ทางทิศตะวันออกเพื่อใช้เป็นพื้นที่รับแดดและกันไม่ให้แดดเข้าสู่ส่วนพักผ่อนโดยตรง เปิดทิศเหนือและทิศใต้ให้โล่งที่สุดเพื่อที่จะเชื่อมบ้านกับสวนเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังดึงเอกลักษณ์พื้นถิ่นอย่างการทำช่องคอสองที่ชั้น 2 ของบ้านเป็นส่วนระบายอากาศและความชื้น หรือช่วงพาดเสาที่เป็นไม้กับบานเฟี้ยมที่เปิดออกได้จนสุด แล้วจึงเติมองค์ประกอบใหม่ๆ อย่างการเปิดพื้นที่แบบ Double Volume เพื่อให้เข้ากับการใช้ชีวิตสมัยใหม่มากขึ้น >> อ่านต่อ
96. บ้านไม้โครงสร้างเหล็ก บ้านสวนในวิถีเกษตรพอเพียง
- ออกแบบ : ช่างเฮ็ดแบบ โดยคุณสุริยา เขาทอง
บ้านไม้ผสมเหล็กที่ยังมีกลิ่นอายบ้านพื้นถิ่น พร้อมพิ่มลูกเล่นการใช้วัสดุ ทั้งการเข้าไม้สัก ผสมงานเหล็ก คอนกรีต กระเบื้องผสมผสานกันให้ร่วมสมัย และอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว นอกจากนี้ยังมีการทำแปลงเกษตรวิถีพอเพียง โดยทำบ่อน้ำ 2 บ่อ แล้วเอาดินที่ได้มาถมที่ก่อนปลูกบ้าน และน้ำในบ่อก็นำไปรดต้นไม้ ซึ่งเจ้าของบ้านลงไม้ยืนต้นที่เป็นไม้โบราณหายาก เช่น กันเกรา พะยูง จำปี จิกน้ำ ลำดวน ไม้ดอก เช่น บุหงาสาหรี่ ราชาวดี รวมถึงผลไม้และอื่นๆ กระจายรอบพื้นที่ อีกทั้งมีแปลงไม้ดอกที่ปลูกไว้สร้างรายได้ด้วย >> อ่านต่อ
97. เรือนรับรองความสุข
- เจ้าของ : พันตำรวจเอกเกรียงศักดิ์ กัลยาวัฒนเจริญ
- ออกแบบ : คุณผดุง ปาลี
บ้านรับรองแขกที่ดัดแปลงจากเรือนยุ้งข้าวเก่า โดยอิงงานสถาปัตยกรรมแบบล้านนา แต่ปรับขนาดให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย ในส่วนของงานตกแต่งก็ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เพิ่มความสวยงามด้วยรายละเอียดของงานไม้แกะ เฟอร์นิเจอร์สไตล์ไทยแบบขาสิงห์และขาคู้ เก้าอี้หวาย หรืองานเซรามิกโทนสีบลูแอนด์ไวท์ นอกจากนี้ยังใช้วัสดุธรรมชาติอย่างหินอ่อนและหินธรรมชาติ ซึ่งเก็บความเย็นได้ดี เมื่อรวมกับการออกแบบบ้านให้เปิดโล่งกลมกลืนไปกับธรรมชาติ ก็ช่วยสร้างบรรยากาศที่ทั้งน่าอยู่และเย็นสบายได้ไม่ยาก >> อ่านต่อ
98. บ้านพื้นถิ่นร่วมสมัยที่เกิดจากการ “ตกหลุมรัก” เมืองเหนือและวิถีธรรมชาติ
- เจ้าของ : คุณวริษฐ์ วรรละออ, คุณมุกดา วรรละออ
- ออกแบบ : ยางนา สตูดิโอ
- สถาปนิกควบคุมงาน : คุณเดโชพล รัตนสัจธรรม
บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูนทรงจั่วที่โอบล้อมด้วยป่าเขา หลังบ้านติดลำเหมือง พื้นที่ใช้สอยของบ้าน 188 ตารางเมตร ถูกแบ่งออกเป็นสามหลังหลักๆ ได้แก่ อาคารอยู่อาศัย ศาลาไม้ ซึ่งอยู่ติดกับลำเหมือง และห้องน้ำสำหรับใช้ภายนอก ตัวบ้านมีลักษณะเหมือนบ้านไม้ยกใต้ถุนสูง เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและธรรมชาติแวดล้อม เพียงเเต่เลือกปิดพื้นที่ชั้นใต้ถุนด้วยผนังคอนกรีตทั้งหมด เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายใน โดยออกแบบให้มีหน้าต่างหรือช่องเปิดให้ได้มากที่สุด บ้านจึงดูโปร่งและทำให้ลมธรรมชาติสามารถไหลเวียนผ่านเข้าตัวบ้านได้ วัสดุที่เลือกใช้ส่วนใหญ่จะมาจากวัสดุธรรมชาติที่สามารถหาได้ทั่วไปในท้องถิ่น >> อ่านต่อ
99. บ้านปูนสองชั้นหลังคาจั่ว บ้านขนาดอบอุ่นในอ้อมกอดของผืนป่า
- เจ้าของ : คุณวราพงษ์ มาเตียง
บ้านปูนเปลือยผสมผนังก่ออิฐโชว์แนวบนพื้นที่ 70 ตารางวาหลังนี้แวดล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ เจ้าของบ้านให้โจทย์สถาปนิกว่าอยากได้บ้านโปร่ง เพดานสูง ตัวบ้านยังยกพื้นขึ้นสูง เพราะที่ดินเป็นทางน้ำไหลจึงจำเป็นต้องยกตัวบ้านขึ้นเพื่อหนีน้ำ พร้อมทำช่องหน้าต่างโดยรอบ เพื่อให้แสงและลมเข้าได้ตลอดทั้งวัน ช่วยประหยัดค่าไฟ >> อ่านต่อ
100. WOMR CABIN ก่อบ้านผ่านความรู้สึกของคู่รักนักออกแบบ
- เจ้าของ-ออกแบบตกแต่ง : คุณสุจินดา ตุ้ยเขียว และคุณโสภิดา จิตรจำนอง
บ้านหลังนี้ทำหน้าที่เป็นโฮมสตูดิโอสำหรับใช้ทำงานและพักผ่อนของคู่รักนักออกแบบ ทั้งสองเลือกสร้างเป็นบ้านชั้นเดียวโครงสร้างไม้ พร้อมทดลองทั้งเรื่องของวัสดุ ดีเทลการออกแบบ การได้ลองทำเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงการคุมงานก่อสร้างเองทั้งหมด ซึ่งการออกแบบบ้านของตัวเองในครั้งนี้ ทำให้ได้แลกเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหาหน้างานกับช่างในพื้นที่หลากหลายแง่มุม จนเกิดเป็นดีเทลงานออกแบบใหม่ ๆ บนพื้นที่ทดลองขนาด 97 ตารางเมตร >> อ่านต่อ
เรียบเรียง : Tarnda
ภาพคลังภาพบ้านและสวน สำนักพิมพ์บ้านและสวน นิตยสาร room, my home