โครงการออกแบบศาลา และหอสังเกตการณ์กลางสวนป่าภายใต้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ตั้งอยู่ใจกลาง สวนป่าเบญจกิติ แวดล้อมด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และระบบนิเวศทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ผลงานการออกแบบของ HAS design and research โดยงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล WOW อัศจรรย์เมืองน่าอยู่ ซึ่งจะจัดขึ้น ณ สวนเบญจกิติ ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา
จากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวขั้นต่ำที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) สวนป่าเบญจกิติ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ จึงเป็นอีกพื้นที่สีเขียว ที่มอบวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีแบบใหม่ให้คนกรุงเทพฯ



ด้วยแรงบันดาลใจจากสวนป่า หอสังเกตการณ์แห่งนี้ จึงดูเหมือนถูกปกคลุมด้วยใบไม้จำนวนมาก ไม่เพียงเหมือนเกาะพื้นที่ชุ่มน้ำที่ลอยอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนป่าฝนเขตร้อนล้ำค่าทางระบบนิเวศธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันสำหรับสัตว์และพืช


ช่วงกลางวัน หอสังเกตการณ์แห่งนี้เป็นเหมือนกิ้งก่าที่แฝงตัวในสวนสาธารณะ สมาร์ตบอร์ดเกือบ 100 แผ่นแผ่นทา 4 เฉดสีเขียวที่แตกต่างกัน โดยเลือกใช้สีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนเพื่อให้เกิดความสมดุลที่สมบูรณ์แบบกับสิ่งแวดล้อม ในตอนกลางคืน แถบไฟด้านหลังแผ่นสมาร์ตบอร์ดให้แสงสว่างในหลากหลายมิติ ซึ่งทำให้อาคารดูกลมกลืนไปในบริบทธรรมชาติ



แผงสมาร์ตบอร์ดที่กรุภายนอกมีรูปทรงเป็นคลื่น ซึ่งจะพาผู้มาเยือนไปยังจุดชมวิวชั้นบน ซึ่งมองเห็นสวนป่าในภาพรวม ส่วนที่พักด้านล่าง มีระบบละอองน้ำเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นพื้นที่กิจกรรมสำหรับประชาชนอย่าง โยคะ การทำสมาธิ และกิจกรรมครอบครัวต่างๆ

ผู้ออกแบบเชื่อว่าหอสังเกตการณ์นี้ไม่ใช่แค่ส่วนให้บริการของสวน มันเป็นเหมือนป่าฝนเขตร้อน ที่ไม่เพียงแต่สร้างให้ร่มเงาแก่ผู้คนเท่านั้น แต่ยังเปิดพื้นที่ส่วนกลางที่เปิดกว้าง บ่มเพาะจิตใจผู้คน และจัดกิจกรรมให้ความรู้เพื่อแสดงว่ากรุงเทพฯ คือมหานครที่ใส่ใจและดูแลสิ่งแวดล้อมในอนาคต



————————
ออกแบบ: HAS design and research (www.hasdesignandresearch.com)
ทีมงานออกแบบ: Jenchieh Hung, Kulthida Songkittipakdee, Tapanee Laddahom, Chiwen Chang
ออกแบบภุทิสถาปัตยกรรม: Arsom Silp Institute of the Arts
ออกแบบแสงสว่าง: Light Is
ที่ปรึกษาด้านโครงสร้าง: Goldstar Metal Co., Ltd.
ที่ปรึกษาด้านออกแบบฟาซาด: AB&W Innovation Co., Ltd.
ก่อสร้าง: Alufence
ออกแบบสถาปัตยกรรม: Arsom Silp Institute of the Arts
–
ภาพ: Rungkit Charoenwat
เรื่อง: HAS design and research
เรียบเรียง: psuw
สวนป่าเบญจกิติ เปลี่ยนโรงงานยาสูบ กลายเป็นสวนสาธารณะใจกลางกรุงเทพฯ
