จั๋ง เป็นอีกหนึ่ง ต้นไม้ฟอกอากาศ ที่องค์การนาซาให้การรับรอง วันนี้เราจึงรวมพันธุ์จั๋งสำหรับใครที่มองหาต้นไม้ตกแต่งห้อง หรือแต่งสวน ต้นจั๋งก็เป็นอีกหนึ่งต้นที่เป็นพรรณไม้ยอดนิยม
จั๋ง (Broad Lady Palm หรือ Bamboo palm, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Chamaedorea seifrizii) ลักษณะต้นเป็นกอ สูงประมาณ 2-4 เมตร ใบเป็นแฉกคล้ายพัด สีเขียวเข้มเป็นมัน
ซึ่งจากรายงานเรื่อง Interior Landscape Plants for Indoor Air Pollution Abatement เป็นการศึกษาค้นคว้าขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือองค์การนาซา (NASA) ร่วมกับ Associated Landscape Contractors of America (ALCA) ได้ค้นพบว่า ไม้ที่ปลูกในบ้านหรือที่เราใช้ตกแต่งห้องต่างๆ มีประสิทธิภาพในการดูดซับและกำจัดสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ เช่น สารฟอร์มาลดีไฮด์ ไตรคลอโรเอทิลีน เบนซิน และสารมลพิษอื่นๆ หนึ่งในนั้นคือ ต้นจั๋ง ต้นไม้ฟอกอากาศที่ได้รับการยอมรับจากนาซาว่าสามารถฟอกอากาศบริสุทธิ์ได้จริง และเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างทั่วโลก และยังช่วยให้ห้องเราสวยงามขึ้นได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีพืชที่มีคุณสมบัติเหล่านี้อยู่อีกประมาณ 50 ชนิด
จั๋งญี่ปุ่น, ราพิส เอกเซลซา Rhapis excelsa (Thunb.) Henry
ถิ่นกำเนิดจาก จีน ไต้หวัน จั๋งชนิดนี้นิยมปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับในญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1700 โดยคัดสรรต้นที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปมากมายหลายร้อยแบบ จัดเป็นไม้ประดับที่ดีมากเพราะเลี้ยงง่ายใช้แสงน้อย ทนทานเป็นอย่างมาก จึงได้รับความนิยมในหมู่นักเลี้ยงต้นไม้
จั๋งด่าง ‘กินเซไก’, ราพิส เอกเซลซา ‘กินเซไก’ R. excelsa ‘Ginsekai’
จั๋งด่าง ‘ไอซานนิชิกิ’, ราพิส เอกเซลซา ‘ไอซานนิชิกิ’ R. excelsa ‘Eizannishiki’
จั๋งด่าง ‘เทนซานชิโรชิมะ’, ราพิส เอกเซลซา ‘เทนซานซิโรชิมะ’ R. excelsa ‘Tenzanshiroshima’
จั๋งด่าง ‘ฮาคุไซเดน’, ราพิส เอกเซลซา ‘ฮาคุไซเดน’ R. excelsa ‘Hakuseiden’
จั๋งด่าง ‘โคบันโนะสึ’, ราพิส เอกเซลซา ‘โคบันโนะสึ’ R. excelsa ‘Kobannozu’
จั๋งด่าง ‘ฟุจิโนะยูกิ’, ราพิส เอกเซลซา ‘ฟูจิโนะยูกิ’ R. excelsa ‘Fujinoyuki’
จั๋งจีน, ราพิส มัลติฟิดา R. multifida Burret
จั๋งใต้ใบติด, ราพิส ไซอะเมนซิส R. siamensis Hodel (Selected form) ถิ่นกำเนิดประเทศไทย
ราพิส ซับทิลิส, จั๋งแคระ, จั๋งไทย, จั๋งปราจีน R. subtilis Becc. ถิ่นกำเนิด ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม
(ภาพ : ภวพล ศุภนันทนานนท์)
ราพิส ซับทิลลิส ‘ตันสัจจาฮิเมะ’, จั๋งปราจีนด่าง ‘ตันสัจจาฮิเมะ’ R. subtilis ‘Tansachahime’
ราพิส ซับทิลลิส ‘นงนุชโนะชิมะ’, จั๋งปราจีนด่าง ‘นงนุชโนะชิมะ’ R. subtilis ‘Nongnoochnoshima’
จั๋งบอร์เนียว Rhapis sp. ‘Borneo’
จั๋งแคระ Rhapis sp. (Dwarf)
ภาพ : คลังภาพบ้านและสวน, ภวพล ศุภนันทนานนท์
ติดตามพรรณไม้ใบเพิ่มเติมได้ในหนังสือ ไม้ใบ : Foliage Plants
มอนสเตอร่า ที่สุดแห่งไม้ใบที่ปลูกง่ายและเลี้ยงได้ในบ้าน
58 ต้นไม้ลดฝุ่น PM2.5 และได้คาร์บอนเครดิต
ติดตามไอเดียบ้านและสวนเพิ่มเติมได้ทาง : บ้านและสวน Baanlaesuan.com