บ้านอิฐ

รวมบ้านอิฐแสนน่าอยู่

บ้านอิฐ
บ้านอิฐ

11. บ้านอิฐ เรียบง่ายและอยู่สบาย

  • เจ้าของ : Mr. Tung Do และ Mrs. Lien Dinh
  • สถาปนิก : Tropical Space

บ้านหลังนี้ดูคล้ายก้อนอิฐขนาดมหึมาที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดีโดยพยายามเชื่อมโยงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ผ่านการคํานวณเรื่องแดด ลม และฝน ตัวบ้านจึงหันไปทางทิศเหนือซึ่งสามารถรับแสงได้ตลอดทั้งวันโดยไม่ร้อนจนเกินไป และเน้นใช้อิฐมอญซึ่งเป็นวัสดุธรรมดาที่มีเนื้อพรุนจึงกักเก็บความชื้นและระเหยเป็นไอเย็นได้ มีการเรียงผนังอิฐให้โปร่งในพื้นที่รับแขกชั้นล่าง ส่วนด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีแนวกําแพงที่อยู่ห่างจากบ้านเล็กน้อยเพื่อช่วยกรองแสงอาทิตย์ไม่ให้สัมผัสตัวบ้านโดยตรงแต่ยังได้รับแสงสว่างผ่านการสะท้อนจากแนวผนังอิฐโปร่งกับการเปิดช่องแสงด้านบนซึ่งเข้าถึงทุกส่วนของบ้านได้ นอกจากนี้กําแพงยังเป็นเสมือนช่องให้ลมเข้า – ออกประกอบกับการปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อทําให้บ้านหลังนี้เย็นสบายตลอดทั้งวัน >> อ่านต่อ

บ้านอิฐ
ผนังอิฐ
ผนังอิฐ

12. บ้านอิฐชั้นเดียว ที่มีช่องลมหมุนเวียนช่วยประหยัดพลังงาน

  • สถาปนิก : Anghin Architecture โดยคุณเอกสิทธิ์ แจ้งอ่างหิน

บ้านอิฐที่ออกแบบให้เย็นสบายตลอดปี ในพื้นที่ซึ่งมีอากาศร้อนที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ผู้ออกแบบดึงศักยภาพของที่ตั้งซึ่งอยู่ติดกับป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และแม่น้ำแควใหญ่ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้ไอเดียการออกแบบที่ช่วยลดความร้อน และรักษาความเย็น >> อ่านต่อ

บ้านอิฐ
ห้องนอน

13. บ้านอิฐสไตล์มินิมัล พร้อมเชิญแขกชื่อธรรมชาติเข้าบ้าน

  • ภาพ : Justin Sebastian

บ้านอิฐหน้ากว้างเพียง  4.80 เมตร กับการออกแบบที่นำวัสดุธรรมชาติอย่าง “อิฐ” มาสร้างสรรค์เป็นบ้านทรงกล่องดีไซน์โมเดิร์น โดยเน้นการออกแบบเพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาสร้างบรรยากาศและความสุนทรีย์แห่งการอยู่อาศัย ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอย 117 ตารางเมตร มาพร้อมกับความท้าทายในการออกแบบด้วยการบรรจุการใช้งานพื้นฐานลงไปบนพื้นที่ที่มีความลาดเอียงตามความยาวของไซต์ พร้อม ๆ กับต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยให้บ้านอยู่สบาย เปิดรับธรรมชาติให้เข้ามาเป็นแขกประจำได้อย่างสนิทสนม >> อ่านต่อ

บ้านอิฐ
มุมรับประทานอาหาร
ห้องนอน

14. บ้านอิฐที่เติบโตไปพร้อมกับเรา

  • ออกแบบ: Hinz Studio
  • ภาพ: Quang Tran

บ้านอิฐหลังเล็กดูเป็นมิตรด้วยวัสดุธรรมชาติที่ตอบรับกับสภาพอากาศเเบบร้อนชื้นอย่างคอนกรีตและอิฐมอญ เสริมด้วยการเว้นจังหวะให้เกิดช่องลมเพื่อให้ลมและแสงธรรมชาติเข้ามาในบ้านได้ตลอดทั้งวัน ช่วยลดความชื้นภายในตัวบ้าน และกันความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง >> อ่านต่อ

บ้านอิฐ
แพนทรี่
สวนในอาคาร

15. บ้านที่มองออกไปมุมไหนก็เจอความเขียวชอุ่ม

  • ออกแบบ : Trung Trần Studio
  • ภาพ : Trieu Chien

บ้านที่เกิดขึ้นจากความลงตัวในการใช้วัสดุธรรมชาติอย่าง อิฐ และหิน ท่ามกลางความเขียวชอุ่มใต้ไม้พุ่มสีเขียว จึงถือเป็นบ้านที่รวบรวมลมหายใจที่แผ่วเบาของสีสันแห่งช่วงเวลา การพักผ่อนที่สงบ ผสมผสานกันออกมาได้อย่างลงตัว >> อ่านต่อ

บ้านอิฐ
ผนังอิฐ

16. บ้านอิฐหลากแพตเทิร์น ดีไซน์เรียบง่าย

  • ภาพ : Umang Shah

บ้านที่คำนึงถึงทิศทางของแสงแดดและสภาพอากาศของสถานที่ตั้ง โดยส่วนของหน้าบ้านที่หันไปทางทิศใต้ซึ่งมีแสงจ้า เพื่อขจัดปัญหานี้ ผนังด้านดังกล่าวจึงถูกสร้างเกราะกำบังขึ้นด้วยเปลือกอาคารอิฐที่มีแพตเทิร์นสวยงามยาวต่อเนื่องเกือบตลอดตัวอาคาร ทำหน้าที่เป็นผนังชั้นนอกช่วยกรองแสง และพรางสายตาจากผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ขณะที่ผนังอาคารอีกด้านที่ไม่กระทบกับแดดโดยตรงนั้น เลือกกรุเปลือกอาคารด้วยอิฐลายดอกไม้ มีระเบียงเล็ก ๆ เป็นกันชนอยู่ระหว่างพื้นที่พักอาศัยชั้นใน เพื่อไม่ให้แสงแดดและความร้อนปะทะเข้ามาตรง ๆ แต่ลมยังคงพัดผ่านเข้ามาได้ ช่วยให้อากาศภายในบ้านหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก >> อ่านต่อ

บ้านอิฐ
ชิงช้า
ห้องนอนสไตล์อินเดีย

17. บ้านอิฐสีแดง กับลูกเล่นช่วยเพิ่มแสงและลมให้บ้านเย็น

  • ภาพ : Minq Bui

เปลี่ยนโกดังขนาดเล็ก ให้กลายเป็นบ้านที่น่ารักสำหรับครอบครัวสี่คน  เพื่อให้การอยู่อาศัยรู้สึกถึงความสบายทั้งอากาศและบรรยากาศ สิ่งที่น่าสนใจคือส่วนหน้าของอาคารที่ประกอบขึ้นจากอิฐดินเผาสีแดง วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ก่อนนำมาเรียงต่อกันเป็นแพตเทิร์นอย่างระมัดระวัง นอกจากเพิ่มความสวยงามให้แก่เปลือกอาคารด้านหน้าแล้ว ช่องว่างของอิฐยังทำหน้าที่ระบายอากาศ และยอมให้แสงลอดผ่านเข้ามาได้เพิ่มเติมจากสกายไลต์ >> อ่านต่อ

บ้านอิฐ
ผนังอิฐ

18. บ้านอิฐกลางป่าสนที่ออกแบบเพื่อหลบเลี่ยงต้นไม้เดิม

ออกแบบ: LANZA Atelier

ภาพ: Dane Alonso

บ้านที่ตั้งใจออกแบบให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวไปกับผืนป่า สังเกตได้จากกำแพงเส้นสายออร์แกนิกแบบฟรีฟอร์มที่หลบหลีกและเคารพต้นไม้เดิม ซึ่งบางครั้งกำแพงนี้ก็ทำหน้าที่เป็นทางเดิน บางครั้งเป็นแนวขอบเขตกำหนดพื้นที่ธรรมชาติ วัสดุที่นำมาใช้เป็นวัสดุหลักคืออิฐจากช่างท้องถิ่น ส่วนของฝ้าใช้โครงการคอนกรีตหล่อในที่แบบโค้งที่เว้นช่องว่างให้แสงอรุณได้ลอดเข้ามาสู่พื้นที่ภายใน ส่วนองค์ประกอบที่เหลือออกแบบให้ยึดโยงกับธรรมชาติให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเว้นช่องให้ต้นไม้บริเวณชาน หน้าต่าง และประตู >> อ่านต่อ

บ้านอิฐ
ผนังดิฐ

19. บ้านอิฐดินเผาที่เย็นสบายด้วยวัสดุและแนวคิดแบบยั่งยืน

ออกแบบ : T H I A architecture

ภาพ : Quang Tran

บ้านอิฐดินเผาที่สร้างความท้าทายให้แก่สถาปนิกไม่น้อย เนื่องจากทำเลที่ตั้งมีความกว้างแค่เพียง 4.30 x 15 เมตร แถมยังถูกขนาบข้างด้วยอาคารเพื่อนบ้านและโรงงานเก่าทั้งสองด้าน ทำให้มีช่องเปิดมีอยู่แค่เฉพาะพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น การออกแบบจึงต้องเน้นย้ำเรื่องความปลอดโปร่งและแสงสว่างเป็นสำคัญ ผู้ออกแบบได้จัดการแก้ปัญหาทางกายภาพของที่ตั้ง ไปพร้อมกับการเน้นใช้วัสดุที่มีความยั่งยืน โดยส่วนใหญ่เป็นวัสดุทำมาจากธรรมชาติไร้การปรุงแต่ง เช่น อิฐ ไม้ และคอนกรีต ซึ่งสัมพันธ์กับธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ ช่วยให้บ้านมีทั้งความสวยงามและอยู่สบาย >> อ่านต่อ

บ้านอิฐ
ผนังอิฐ

20. บ้านอิฐเปลือยผิว

  • ออกแบบ : Escobedo Soliz
  • ภาพ : Ariadna Polo, Sandra Pereznieto

บ้านอิฐเปลือยผิวที่เปิดเผยวัสดุอย่างโดดเด่นแห่งนี้ เป็นบ้านขนาด 100 ตารางเมตรที่ตั้งอยู่ ณ ชานเมืองเม็กซิโกซิตี การเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่เเล้วในพื้นที่อย่าง “อิฐมอญ” มาใช้ในการสร้างบ้าน ไม่เพียงช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถประหยัดงบประมาณการก่อสร้างได้ แต่ยังง่ายต่อการทำงานกับช่างในท้องถิ่นอีกด้วย และด้วยภูมิอากาศที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย บ้านหลังนี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของบ้านที่พยายามทำความเข้าใจภูมิอากาศ และวิธีการก่อสร้างท้องถิ่นอย่างน่าสนใจ >> อ่านต่อ

บ้านอิฐ
ผนังอิฐเปลือย