ฤดูร้อนที่แดดแรงขึ้นในทุกๆปี ปัญหาการรดน้ำต้นไม้ หรือสวนเองก็เกิดปัญหาแทบจะทุกปี วันนี้เราขอแนะนำ ระบบรดน้ำอัตโนมัติ พร้อมทั้งขั้นตอนการติดตั้งและตัวอย่างการอ่านค่าแสดงผลต่างๆ
การติดตั้งชุดควบคุม (Timer Controller) ระบบรดน้ำอัตโนมัติ
ชุดควบคุมนี้เรียกกันทั่วไปว่าคอนโทรลเลอร์ (Conitioller) บ้าง ไทเมอร์คอนโทรลเลอร์ (Timer Controller) บ้าง มีหน้าที่สั่งให้โซลินอยด์วาล์วแต่ละโชนเปิดและปิดการจ่ายน้ำในเวลาที่กำหนด และสั่งให้ปั๊มน้ำทำงาตามเวลาที่สอดคล้องพอดีกับการเปิด – ปิดของโชลินอยด์วาล์ว
ขั้นตอนการติดตั้งชุดควบคุม
1. แม้จะเป็นรุ่นที่ระบุว่าใช้กลางแจ้งหรือที่โล่งได้ ก็ควรติดตั้งไว้ในตู้ควบคุมที่มิดชิด ติดตั้งแน่นหนา ในตำแหน่งที่สะดวกกับการใช้งาน
2. ชุดควบคุมนี้จะใช้ไฟฟ้าจากอุปกรณ์แปลงไฟ แต่ต้องใช้ถ่านแบตเตอรี่ร่วมด้วย เพื่อรักษาข้อมูลไว้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ
3. นำสายคอมมอนที่พ่วงต่อกันไว้ทุกตัวมาต่อกับช่อง C และนำสายไฟมาต่อกับช่อง V1 V2 V3 ไปจนครบทุกวาล์ว
4. ในกรณีที่ให้ชุดควบคุมสั่งให้ปั๊มน้ำทำงาน จากชุดควบคุมจะมีสายไฟ (24 VAC) ต่อไปยังรีเลย์ และจากรีเลย์จะต่อสายไปที่แมกเนติก เพื่อให้แมกเนติกจ่ายกระแสไฟให้ปั๊มทำงานตามลำดับ
5. ต่อสายเซ็นเซอร์น้ำฝนในกรณีที่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมนี้ในช่องที่ระบุไว้ ถ้าไม่ใช้ ให้ใช้สายไฟต่อเชื่อมเอาไว้
6. เมื่อต่อสายเชื่อมกับอุปกรณ์ต่างๆ ครบถ้วนแล้ว จะตั้งค่าการทำงานซึ่งโดยทั่วไปแล้วชุดควบคุมแต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์จะผลิตออกมาให้มีลำดับการตั้งค่าทำงานที่คล้ายๆ กัน เช่น
6.1 ตั้งเวลาของชุดควบคุมให้เป็นปัจจุบัน ทั้งวันเดือนปีและเวลาปัจจุบัน
6.2 ตั้งเวลาทำงานของแต่ละโชน
(1) ตั้งค่าโซนทำงาน ตั้งระยะเวลาจ่ายน้ำแต่ละรอบ ตั้งให้ทำงานวันละกี่รอบ และให้เริ่มทำงานในเวลาใดของวัน
(2) ตั้งค่าให้ทำงานวันคู่ วันคี่ วันเว้นสองวัน หรือทุกวัน
6.3 เมื่อตั้งค่าการทำงานครบก็กดปุ่ม AUTO ให้โปรแกรมระบบทำงานอัตโนมัติตามที่ตั้งค่าไว้
6.4 ปุ่ม AUTO ใช้ยืนยันการตั้งค่าหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการตั้งค่าทุกครั้ง และแสดงสถานะ วันเดือนปีและเวลาปัจจุบันบนหน้าจอเสมอ นอกจากนี้ภายในชุดควบคุมยังมีโปรแกรมให้เลือกใช้อีกมากมายขึ้นอยู่กับรุ่นของแต่ละแบรนด์
การใช้งาน Timer Controller
1. วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ จะแสดงสถานะเป็นวันปัจจุบัน
2. ปุ่ม AUTO สำหรับการตั้งค่าการทำงานแบบอัตโนมัติ
3. ปุ่ม OFF หยุดการทำงาน กดเมื่อไม่ต้องการให้ชุดควบคุมทำงาน
4. ปุ่ม DATE/TIME ตั้งค่าวันเดือนปีและเวลาให้เป็นปัจจุบัน
5. ปุ่ม SEASONAL ADJUST ตั้งค่าชดเชยการจ่ายน้ำให้มากหรือน้อยในแต่ละรอบการจ่ายน้ำ ปกติทุกโซนจะถูกตั้งคำการจ่ายน้ำเต็มปริมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ หากช่วงใดที่อยากลดหรือเพิ่มปริมาณน้ำก็ตั้งค่าจากปูมนี้
6. ปุ่ม MANUAL สั่งให้ชุดควบคุมทำงานทันที โดยไม่เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติที่ตั้งไว้ สามารถสั่งให้ทำงานทุกโซน หรือโซนใดโซนหนึ่งทำงานในเวลาที่กำหนด ปกติใช้สำหรับเปิดทดสอบระบบ
7. ปุ่ม SCHEDULE ตั้งค่าการทำงานในแต่ละโซน
8. หน้าจอแสดงผล ถ้าตั้งค่าอัตโนมัติไว้จะแสดงวันและเวลาเป็นปัจจุบันเสมอ
9. ปุ่มสำหรับเลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังเพื่อแก้ไขหรือการตั้งค่าใด ๆ ปุ่มนี้จะทำงานเมื่อตัวเลขที่ต้องกการตั้งค่ากะพริบ
10. ปุ่ม + / – สำหรับแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวเลขให้เพิ่มหรือลด ปุ่มนี้จะทำงานเมื่อตัวเลขที่ต้องการตั้งค่ากะพริบ
11. ช่องใส่ถ่านขนาด AAA 2 ก้อน
12. ช่องต่อสายไฟกับอุปกรณ์แปลงไฟฟ้า
13. ช่องต่อสายเข้ากับอุปกรณ์เซ็นเซอร์น้ำฝน ถ้าไม่ใช้ ให้ใช้สายไฟต่อพ่วงกันไว้
14. ช่องต่อสายคอมมอน (C) จากโซลินอยด์วาล์วทุกตัว
15. ช่องต่อสายไฟ (Line) ไปยังรีเลย์ในตู้ควบคุม
16. ช่องต่อสายไฟ (Line0) จากโซลินอยด์วาล์วโซนที่ 1, 2, 3…. ไปจนครบทุกโซน และหากจะมีการตั้งค่าใหม่ทั้งหมดก็กดปุ่ม RESET
ตัวอย่างการตั้งค่าคอนโทรลเลอร์เมื่ออยู่ในโหมดปกติ
1. หน้าจอจะแสดงวัน โดยมีรูปสามเหลี่ยมแสดงอยู่ใต้วัน กรณีนี้แสดงเป็นวันพุธ
2. บอกวันที่ 18 เดือนมีนาคม ปี 2020
3. บอกเวลา 14.05 น.
ตัวอย่างการตั้งคำคอนโทรลเลอร์เมื่ออยู่ในโหมดปกติ
1. หน้าจอแสดงวันทำงานทุกวัน (จันทร์ – อาทิตย์)
2. บอกลำดับโซน กรณีนี้คือโซนที่ 1
3. บอกระยะเวลาให้น้ำในโซน คือ 5 นาที
4. บอกช่วงเวลาให้น้ำ คือ ครั้งที่ 1 เริ่มเวลา 8.00 น. ครั้งที่ 2 เริ่มเวลา 16.00 น.
ตัวอย่างการตั้งคำคอนโทรลเลอร์เมื่ออยู่ในโหมด MANAUL
1. หน้าจอจะแสดง ALL หมายถึง กำหนดให้ทำงานทุกโซน
2. บอกระยะเวลาให้น้ำโซนละ 5 นาที
หากจะแก้ไขข้อมูลการทำงาน ให้กด NEXT หรือ BACK เพื่อให้ตำแหน่งที่ต้องการแก้ไขกะพริบ แล้วกดปุ่ม + หรือ – เพื่อแก้ไขข้อมูล จากนั้นกดปุ่ม AUTO
เรื่อง : ขวัญชัย จิตสำรวย
ภาพ : คลังภาพบ้านและสวน
สนใจหนังสือ ระบบให้น้ำในสวน
บทความที่เกี่ยวข้อง
รวม ต้นไม้ริมรั้ว ต้นไม้ทนแดด ตกแต่งสวน ทำกำแพงธรรมชาติ
ต้นไม้ทนแดด ต้นไม้ดูดความร้อน สำหรับให้ร่มเงา
ติดตามไอเดียบ้านและสวนเพิ่มเติมได้ทาง : บ้านและสวน Baanlaesuan.com