5 แบบวิธี กิจกรรมปิดเทอม สร้างเสริมประสบการณ์ในสวนให้ลูกน้อย

5 แบบวิธี สร้างเสริมประสบการณ์ในสวนให้ลูกน้อย

กิจกรรมปิดเทอม เสริมการเรียนรู้ให้กับลูกๆในช่วงปิดเทอมนี้ด้วยรูปแบบการเล่นที่ได้เรียนรู้เสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต

วิทยาศาสตร์การปลูก

กิจกรรมปิดเทอม ที่เสริมทักษะของนักวิทยาศาสตร์ช่างสังเกตให้เขาได้มีส่วนร่วมในการลงมือทำทุกขั้นตอน อย่างการทำแปลงปลูกผักกินเองที่บ้าน โดยเริ่มจากผักที่ปลูกง่าย เช่น ต้นอ่อนทานตะวัน ต้นหอม ผักชี พริก คะน้า ผักบุ้งจีน กะเพรา โหระพา มะเขือเทศ พร้อมทั้งบอกถึงประโยชน์ของผักแต่ละชนิดให้เขาได้จดจำ เรียนรู้ชื่อและลักษณะของผักแต่ละชนิดด้วยตัวเอง สำหรับคนที่มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย สามารถปลูกผักใส่ภาชนะอย่างขวดน้ำพลาสติก ทำสวนแนวตั้ง ปลูกลงกะละมัง ใส่ตะกร้า หรือกระบะปลูกที่แขวนกับราวระเบียงได้

(4)jun141126_151

(2)tt120317-148

หัตถกรรมจากธรรมชาติ

การเล่นนอกจากจะทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน อารมณ์ดี และเบิกบานแล้ว ของเล่นยังช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการและฝึกทักษะการใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆของเด็กได้เป็นอย่างดี คนสมัยก่อนนำธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นของเล่นให้เด็กๆ เช่น ม้าก้านกล้วย เรือกาบกล้วย ลูกยางโดดร่ม รถลากกาบหมาก เดินกะลา จากภูมิปัญญารุ่นปู่ยาตายายถ่ายทอดบทเรียนอันล้ำค่าให้ลูกหลานที่นับวันค่อยๆเลือนหายไปจากชีวิตคนเมืองอย่างเราทุกที

นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ จากการเล่นของเด็กสมัยก่อน สะท้อนให้เห็นว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง เพราะการละเล่นในยุคนั้นล้วนต้องเล่นกับเพื่อนแทบทั้งสิ้น เปรียบเสมือนห้องเรียนวิชาสังคมว่าด้วยเรื่องของการอยู่ร่วมกัน เด็กจะได้เรียนรู้การปรับตัวเข้าหากันและการอยู่ร่วมกับเพื่อน รู้จักเสียสละ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ส่งผลให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า

(5)IMG_3018

ชั่วโมงเรียนศิลปะ

เด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการและการแสดงออกทางศิลปะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและธรรมชาติที่อยู่รอบตัว เป็นวัยที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจินตนาการ พ่อแม่มีส่วนช่วยส่งเสริมด้วยการชวนลูกออกไปเดินเล่นข้างนอกเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายภายในรั้วบ้าน เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ก้านกล้วย ดอกไม้ เมล็ด และผลไม้ ใช้ทำแม่พิมพ์ หรือที่เรียกกันว่า “Printmaking” โดยนำไปจุ่มสีแล้วกดลงบนกระดาษจนเกิดภาพ ฝึกการเคลื่อนไหว ประกอบกับการใช้สายตา จดจำสี ก่อให้เกิดสมาธิ

การแสดงออกอย่างอิสระเสรีที่เต็มไปด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในสิ่งต่างๆ ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสมองทั้งสองด้าน คือ ด้านอารมณ์และเหตุผล อีกทั้งส่งเสริมให้เด็กได้สังเกต มีไหวพริบ มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักควบคุมตัวเองและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

(6)_MG_3585

(7)DSCF4019

อ่านต่อหน้า2