กันภัยมหิดล พรรณไม้นามพระราชทาน - บ้านและสวน

กันภัยมหิดล พรรณไม้นามพระราชทาน

กันภัยมหิดล พรรณไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ไม้เลื้อยมีดอกสวย และชื่อได้รับพระราชทาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อปี พ.ศ. 2515

กันภัยมหิดล

กันภัยมหิดล พรรณไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Afgekia mahidoliae B.L.Burtt et Chermsir. วงศ์ Leguminosae – Papilionoideae ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดกลาง อายุหลายปี ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ใบย่อย รูปขอบขนาน 4 – 5 คู่ ออกตรงข้าม กว้าง 2 – 3.5 เซนติเมตร ยาว 5 – 6.5 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่ง แหลมสั้น โคนใบมน ขอบใบเรียบแผ่นใบมีขนอ่อน ปกคลุม ดอกออกเป็นช่อกระจะบริเวณปลายกิ่ง และซอกใบ ยาว 12 -30 เซนติเมตร กลีบดอกสีม่วง อมชมพู กลีบดอกคู่ล่างสีนวล ดอกมีขน ทยอย บานจากล่างขึ้นบน ดอกบานเพียงวันเดียว ผลเป็น ฝักยาวรี แห้งแตกออกเป็น 2 ซีก ปลายมีติ่งแหลม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในมี 1-2 เมล็ด สีดำ ฤดูออกดอก เดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน การปลูกเลี้ยง ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด ตลอดวัน ควรรดน้ำสม่ำเสมอ หลังฝักแก่กิ่งจะแห้ง ตาย ควรตัดออกเพื่อให้แตกกิ่งใหม่ในฤดูถัดไป ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

กันภัยมหิดล

กระจายพันธุ์ตามป่าเต็งรัง และเขาหินปูนทางภาคตะวันตก ของไทย พบครั้งแรกโดย อาจารย์เกษม จันทรประสงค์ และ ผศ.จิรายุพิน จันทรประสงค์ (เจิมศิริวัฒน์) บริเวณสถานี รถไฟวังโพ อำเภอไทรโยคน้อย จังหวัดกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2510 ต่อมาได้ร่วมกับ Brian Laurence Burtt ขอพระราชทานนามตั้งคำระบุชนิดว่า mahidoliae เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อปี พ.ศ. 2515


บทความที่เกี่ยวข้อง

แก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคลมีกลิ่นหอมให้ร่มเงา ที่ปลูกได้ทั้งในและนอกตัวบ้าน

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ติดตามไอเดียบ้านและสวนเพิ่มเติมได้ทาง : บ้านและสวน Baanlaesuan.com