สร้างบ้านตามเงื่อนไข ทั้งสวยและอยู่สบาย

สร้างบ้านทุกคนต้องให้ความเคารพชุมชนเก่าที่มีอยู่ก่อน แม้แต่การออกแบบรั้วก็ยังต้องพิถีพิถัน ทั้งเพื่อให้ทางการอนุมัติและเพื่อความความกลมกลืนกับภาพรวมของชุมชน

namtuam-baanjj-4สร้างบ้าน บ้านสวยจากสหรัฐอเมริกาหลังนี้ตั้งอยู่ในเมืองตากอากาศเล็กๆชื่อ Stinson Beach อยู่ห่างจากแซนแฟรนซิสโกไปทางทิศเหนือประมาณหนึ่งชั่วโมง แวดล้อมด้วยชุมชนเก่าแก่อันเงียบสงบ และชายหาดสวยงามยาวขนานไปกับหมู่บ้านริมหาด ที่นี่มีความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วม ซึ่งภาครัฐได้ทำสถิติไว้ว่ามีความเสี่ยงอยู่ที่หนึ่งต่อร้อย นับเป็นตัวเลขที่ไม่สูงนัก เนื่องจากเป็นการนับเฉลี่ยเหตุการณ์น้ำท่วมย้อนหลังกลับไปเกือบร้อยปี

namtuam-baan-1

แต่การออกแบบบ้านในย่านนี้ก็ยังจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการรับมืออุทกภัย และคลื่นสินามิเป็นลำดับต้นๆ เพราะทุกคนเข้าใจตรงกันว่าไม่มีใครจะคาดการณ์ภัยธรรมชาติล่วงหน้าได้ Mr. Matthew Peek สถาปนิกผู้ออกแบบ เจ้าของบริษัท Studio Peek Ancona และเป็นอาจารย์สอนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ University of California, Berkeley เล่า ให้ทีมงาน “บ้านและสวน” ฟังว่า ทางการของที่นี่ให้ความสำคัญกับชุมชนเก่ามาก

namtuam-baan-9อาคารที่จะสร้างใหม่ต้องออกแบบให้มีลักษณะสอดคล้องกับรูปแบบบ้านเดิมจึงจะ ผ่านการอนุมัติให้สร้างได้ ซึ่งรูปแบบบ้านในชุมชนนี้จะสร้างเป็นโครงสร้างไม้เล็กๆ ผนังไม้ตีเกล็ดในแนวนอน ยกพื้นเตี้ยๆบนเสาคอนกรีตกลม และนิยมทำหลังคาแบนเพื่อลดแรงปะทะลมทะเล รั้วของบ้านเองก็ยังมีเอกลักษณ์ที่ไม้ด้านบนต้องโปร่งและด้านล่างทึบในสัด ส่วนที่ทุกบ้านเหมือนกันหมด ดังนั้นแม้แต่การออกแบบรั้วก็ยังต้องพิถีพิถัน ทั้งเพื่อให้ทางการอนุมัติและเพื่อความความกลมกลืนกับภาพรวมของชุมชน เมืองนี้เป็นเพียงชุมชนขนาดเล็ก ระบบสาธารณูปการจึงไม่เจริญเหมือนเช่นในเมืองใหญ่

namtuam-baan-8กล่าวคือมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างจำกัด และไม่มีท่อกำจัดของเสียของสาธารณะ ขนาดของบ้านสร้างใหม่จึงจำกัดให้มีพื้นที่เล็กๆ เพื่อควบคุมการใช้พลังงาน และลดปริมาณน้ำเสียที่จะปล่อยออกสู่ธรรมชาติ ทุกบ้านต้องมีบ่อบำบัดและบ่อเกรอะบ่อซึมของตัวเอง ซึ่งกินพื้นที่ขนาดใหญ่พอสมควร สถาปนิกเลือกที่ตั้งบ่อบำบัดของบ้านไว้ที่สวนด้านหน้า โดยเลือกปลูกเฉพาะพรรณไม้พื้นถิ่นขนาดเล็กเพื่อไม่ให้รากของต้นชอนไชลงไปสร้างความเสียหายแก่โครงสร้างถังบำบัดด้าน ล่าง

namtuam-baan-6-816x1024

นับเป็นการแก้ปัญหาที่ดีและสร้างเอกลักษณ์ให้สวนของบ้านหลังนี้ไปพร้อมกันบนที่ผืนนี้มีบ้านไม้ชั้นเดียวหลังเก่าตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของที่ดิน ซึ่งมีกฏเหล็กจากทางราชการว่าห้ามแตะต้องโครงสร้างอาคารเดิมโดยเด็ดขาด สถาปนิกจึงปรับปรุงเฉพาะเปลือกนอกของอาคาร โดยการลอกสีเก่าออก และเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาใหม่ แล้วจึงออกแบบบ้านใหม่สองชั้น ให้ตัวบ้านชั้นบนมีช่วงคานพื้นที่ยาวพาดคร่อมหลังคาบ้านเก่า เพื่อให้พ้นไปจากส่วนฐานรากของบ้านเดิม

namtuam-baan-10สุดท้ายก็ติดตั้งส่วนผนังระแนงเชื่อมต่อระหว่างสองอาคาร ให้ดูคล้ายกับเป็นบ้านหลังเดียวกันในส่วนด้านล่างของบ้านหลังใหม่นั้นกำหนดเป็นโรงรถ แต่ปัจจุบันใช้เป็นห้องเก็บของ ส่วนนี้มีโครงสร้างพิเศษที่เสาและผนังจะไม่เชื่อมติดกัน เพื่อว่าหากเกิดคลื่นสึนามิ ตัวผนังจะหลุดออกไปตามแรงดันน้ำและไม่ทำให้เสาฉีกขาด ครอบครัวอาจต้องอพยพขึ้นไปอยู่ชั้นบน ก็จะสามารถอาศัยอยู่ในโครงสร้างที่ปลอดภัยและแข็งแรงได้ต่อไป เมื่อถึงเวลาน้ำลดก็กลับมาปรับปรุงซ่อมแซมส่วนผนังให้กลับมาใช้งานได้ดีดัง เดิมอีกครั้งได้ เราสังเกตเห็นว่าแม้บ้านจะตั้งอยู่ใกล้ชายทะเล แต่สถาปนิกกลับเลือกใช้โครงสร้างเหล็กเป็นส่วนประกอบหลักของอาคาร เหตุผลก็เพราะว่าที่ตั้งของบ้านนี้อยู่ไกลจากแหล่งอุตสาหกรรมก่อสร้างพอ สมควร จึงเป็นการง่ายกว่าที่จะสร้างด้วยระบบก่อสร้างแบบสำเร็จ (Prefabricate) เหล็กที่ใช้นั้นเป็นเหล็กแกลแวไนซ์ปลอดสนิม และเคลือบด้วยพาวเดอร์คัลเลอร์ที่มีคุณสมบัติป้องกันการผุกร่อนสูงสุด แต่ถึงอย่างไรก็ยังต้องมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอทุก 5 ปี แต่ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านซึ่งทำอาชีพรับเหมาก่อสร้างยอมรับได้

บ้านนี้เป็นตัวอย่างการตอบโจทย์ของการออกแบบและสร้างบ้านภายใต้เงื่อนไข มากมาย ซึ่งในท้ายสุดก็ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ทั้งในด้านงานสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นบ้านสวยอยู่สบายสำหรับตากอากาศที่ทุกคนในครอบครัวจะรู้สึกปลอดภัยและ อุ่นใจ

“บ้านทาวน์โฮม” เอาโครงสร้างอาคารเก่ามาใช้กับหลังใหม่


กรวรรณ
ฤทธิรงค์, ปิยะวุฒิ และ Matthew Scott